ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พิษเอลนีโญ! ห้วยขาแข้งแล้ง "ช้าง-สัตว์ป่า" ขยับหากินริมขอบป่า

Logo Thai PBS
พิษเอลนีโญ! ห้วยขาแข้งแล้ง "ช้าง-สัตว์ป่า" ขยับหากินริมขอบป่า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เอลนีโญ! ลามป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี พบปัญหาช้างออกมาหากินนอกเขตป่า และทำร้ายคนเสียชีวิต บางส่วนติดใจพืชผลเกษตร ขณะที่การทำรัวป้องกันแล้วเสร็จ 12 กม.หลังเจอช้างบุกเข้ามาคอกสัตว์เสียหาย ป้

วันนี้ (3 ก.ย.2566) นายตรศักดิ์ นิภานันท์ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กล่าวว่า ผลกระทบจากเอลนีโญ ทำให้แหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ได้อย่างลำบาก ขาดแคลนเป็นบางช่วงตามฝาย ปริมาณน้ำลดลงอย่างมากหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในหลายๆ ปีที่ผ่านมา

การบริหารจัดการน้ำโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาทับเสลา จึงได้ให้ความช่วยเหลือจัดสร้างแก้มลิง  3 แห่ง 17 ไร่ 7 ไร่ และ 3 ไร่ ทำให้สามารถพอกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้  ส่วนอาหาร สำหรับเลี้ยงสัตว์ภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีเพียงพอต่อสัตว์ภายในสถานีฯ ส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากเอกชนที่นำ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ มาบริจาค


นายตรศักดิ์ กล่าวว่า ในขณะที่ยังพบช้างป่า ลงมาพื้นที่ถี่มากขึ้น เกิดจากภัยแล้งที่รุนแรงมาก ตั้งแต่ปีก่อนภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จากการขาดแคลนน้ำและแหล่งอาหาร แต่มีบางส่วนเมื่อลงมาอยู่ในพื้นที่แล้ว ก็ติดใจในแหล่งอาหารที่เป็นพืชเกษตร จึงใช้พื้นที่บริเวณนี้และเข้าพื้นที่เกษตรของชาวบ้านเป็นแหล่งอาหาร

โดยเมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ยังพบปัญหาช้างป่าออกมาหากินนอกพื้นที่กระทืบคนตายบริเวณพื้นที่เตรียมการขยายพื้นที่ของเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

อ่านข่าว "ธนากร" เสือโคร่งเจ้าของฉายาสายเปย์-ทะนงตนตายแล้ว

รั้วกันช้าง-สกัดสัตว์หากินนอกพื้นที่ 

หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กล่าวอีกว่า ทางสถานีฯ ได้รับงบประมาณจากจากกรมอุทยานฯ ปี 2563 มาก่อสร้างโดยใช้เวลาในการก่อสร้างพอสมควร มีปัญหาอุปสรรคบ้าง

ปัจจุบันก่อสร้างได้ครบ และตรวจรับงานเรียบร้อย โดยมีระยะทางทั้งหมด 12 กิโลเมตร รอบสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งกันเฉพาะส่วนของสถานี แต่เดิมที่ยังไม่มีรั้วกันช้าง ช้างจากธรรมชาติจะเดินเข้ามายังสถานี บางทีเข้ามาทำกรงคอกสัตว์เสียหาย เช่นรั้วคอกกวาง ละมั่ง อย่างไรก็ตาม หลังมีรั้วทำให้สาน


ปัจจุบันมีสัตว์ในความดูแลของสถานีประมาณ 400 ตัว ส่วนใหญ่จะเป็นละมั่ง เนื้อทราย เพราะมีโครงการที่จะเพาะพันธุ์เพื่อปล่อยสู่ธรรมชาติ สนับสนุนโครงการการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในเขตห้ามล่าสัตว์ห้วยทับเสลา-หัวยทับระบำ ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ลูกได้ประมาณ 70-80 ตัว

นอกจากนี้ยังมีสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น เสือโคร่ง เสือดาว แบ่งเป็นเสือโคร่งอยู่ 11 ตัว เสือดาว 7 ตัวโดยบางส่วนเป็นของกลางที่ตรวจยึดมาได้ เช่น อลิน-อลัน อั่งเป่า ส่วนเสือโคร่งแรกเริ่มจะเป็น แตงไทย-แตงกว่า ซึ่งเป็นเสือโคร่งของกลางที่ดูแลตั้งแต่เริ่ม ตอนนี้อายุได้ 9 ปี อีกส่วนหนึ่ง เป็นเสือที่ช่วยเหลือมาจากในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งคือ คลองค้อ กับนภา

อ่านข่าว อัปเดตชีวิต "อลิน-อลัน-อั่งเปา" เสือดาวของกลาง

ส่องเสือเซเล็บแห่งห้วยขาแข้ง

ปัจจุบันพอเสือโคร่งมีอายุมากขึ้น ก็จะไม่ได้ออกมาโชว์ตัวมากเท่าไหร่ เพราะเมื่อเสืออายุมากขึ้นจะไม่ค่อยมีกิจกรรม บางทีก็จะไปหลบนอนเป็นประจำ จะได้ภาพออกมาประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เฉพาะตอนคนดูแลให้อาหาร ซึ่งจะให้เฉพาะช่วงเย็น โดยเสือ 1 ตัวจะให้อาหารประมาณ 5 กิโลกรัมต่อวัน ส่วนเรื่องการดูแลเสือมีอายุ ต้องดูเรื่องอาหารเป็นหลัก

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ยังคงเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและสัตว์ป่า ปกติทุกวันในเวลาราชการ แต่มีการปรับเวลาโดยเวลาเปิด-ปิดอยู่ที่ 8.30-16.30 น. เพราะปัจจุบันมีช้างป่าเดินลงมาพื้นที่ ระหว่างเส้นทางที่เข้ามาสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เกรงจะเกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยว

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

1 ก.ย. "วันสืบ นาคะเสถียร" ร่วมรำลึกการเสียสละชีวิตเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

“พญาแร้ง" ฮันนีมูนกลางป่าห้วยขาแข้ง รอลุ้นลูกตัวแรก

 ปรับเมนูใหม่ให้ "เสือ-ลิง-หมี" สถานีเพาะเลี้ยง ถูกหั่นงบฯ 60%

อุทยานฯ แจงรั้วกันช้าง 3 เขตป่าอนุรักษ์คืบหน้า 80%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง