อิสราเอล" สวรรค์แรงงานไทย อาจกล่าวได้ไม่ผิดเพี้ยน เพราะปีหนึ่งมีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานผ่านกรมการจัดหางานกว่า 20,000 คน ยังไม่รวมเดินทางไปเอง บริษัทจัดส่งไปทำงาน หรือกลับเข้าไปทำงานใหม่อีกครั้ง
สาเหตุอาจมาจากอิสราเอล เป็นประเทศเกษตรกรรม และคนไทยเองก็มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตร โดยกว่า 90% ที่แรงงานไทยจะไปทำงานในอุตสาหกรรมเกษตร
ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รายงานว่ามีแรงงานไทยในอิสราเอลที่ไปทำงานใน 12 เมืองของอิสราเอล เมืองที่นิยมไปทำ คือ ทางตอนใต้ของอิสราเอล 12,665 คน ทางตอนกลาง 5,894 คนเขตเหนือ 3,865 คนเขตไฮฟา 1,397 คน เขตเทลอาวีฟ 710 คน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางครึ่งแสน
สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานรัฐอิสราเอล เป็นจำนวนเงินประมาณ 65,250 บาท โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ค่าใช้จ่ายก่อนเดินทาง เช่น ค่าธรรม เนียมการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมค่าธรรมเนียมการขอรับหนังสือเดินทาง ค่าตรวจสุขภาพ ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินเที่ยวเดียวจากประเทศไทยไปยังอิสราเอล ค่าสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด 2.ค่าใช้จ่ายหลังจากเดินทางไปถึงตามกฎหมายแห่งรัฐอิสราเอล 37,000 บาท
"อุดรธานี" ครองแชมป์ไปทำงานสูงสุด
โดยอาชีพที่แรงงานไทยนิยมไปทำ ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกว่า 20,000 คน และแรงงานส่วนใหญ่มาจาก จ.อุดรธานี รองลงมาเป็นเชียงราย นครราชสีมา นครพนม หนองบัวลำภู สกลนคร บุรีรัมย์ ขอนแก่น หนองคาย และน่าน
อ่านข่าว เปิดรายได้แรงงานไทยในอิสราเอล 55,000 บาท/เดือน
รายได้ดี เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 บาท
สำหรับรายได้ที่แรงงานไทยได้รับ เฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท (หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ) ถือว่ามากหาเทียบกับการทำงานที่ประเทศไทย ข้อมูลจากธนาคารแห่งประแห่งประเทศไทย รายงานว่า 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.2566)
แรงงานไทยในต่างแดนจาก 126 ประเทศ มีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแบงก์ชาติ มูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท
ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่าอิสราเอล ถือเป็นประเทศที่แรงงานไทย นิยมเดินทางไปทำงานเป็นอันดับ 2 รองจากไต้หวันเท่านั้น
10ประเทศแรงงานไทยไปทำงานสูงสุด
เปิด 10 ประเทศแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน รวบรวมสถิติ ประเทศที่มีแรงงานไทยไปทำงานสูงสุด 10 อันดับแรกซึ่งสูงสุดคือ ไต้หวัน ส่วน อิสราเอลครองอันดับ 2 ตามด้วย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟินแลนด์ สวีเดน ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ชี้กระทบเศรษฐกิจไทย 0.2-.03 %
รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า ความขัดแย้งดังกล่าวมีมาต่อเนื่อง ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยยังไม่มากนัก ไทยมีการค้ากับอิสราเอล เพียง 2% การส่งออกมีมูลค่า 40,000 ล้านบาท และนำเข้ามีมูลค่า 10,000 ล้านบาทมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยเพียง 200,000 คน
ประเมินผลกระทบจากภาวะความรุนแรงในอิสราเอล หากจะหายก็หายไปเพียง 10,000-20,000 คนเท่านั้น และจะกระทบกับจีดีพีเพียง 0.2-0.3 %
อ่านข่าว