เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2566 ทางการเกาหลีใต้ซ้อมแผนเตรียมการรับมือเหตุไม่คาดฝัน ที่นับว่าเป็นบทเรียนราคาแพงของประเทศ โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อป้องกันสภาวะเบียดเสียดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
ภาพการจำลองฝูงชนที่อัดแน่นกันในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยมีอาสาสมัคร 150 คน ทดลองเบียดเสียดกันในพื้นที่เพียง 30 ตร.ม. ท่ามกลางการจับตามองของเจ้าหน้าที่จากศูนย์ควบคุม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกซ้อมแผนรับมือและป้องกันเหตุโศกนาฏกรรม
การจำลองฝูงชนที่อัดแน่นกันในพื้นที่ขนาดเล็ก
อ่าน : เทียบพื้นที่ "อิแทวอน-ข้าวสาร" รองรับนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาล
จากปกติที่เจ้าหน้าที่จะต้องสังเกตด้วยตาเปล่า ว่าพื้นที่ไหนเกิดการเบียดเสียดจนอาจเสี่ยงอันตราย ตอนนี้เกาหลีใต้นำกล้องวงจรปิดพร้อมระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาติดตั้ง เป็นระบบตรวจจับการเบียดเสียด เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ และลดความผิดพลาดจากการประเมินโดยมนุษย์ได้
ผลแสดงกล้องวงจรปิดพร้อมระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI
ระบบนี้ประกอบด้วยกล้องวงจรปิด 909 ตัว ในจุดสำคัญๆ ของเมืองถึง 71 แห่ง ที่จะวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของฝูงชน รวมถึงความหนาแน่น และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่หากพบสัญญาณเสี่ยงเกิดอันตราย โดยจะเริ่มใช้งานในวันที่ 31 ต.ค.นี้
อ่าน : ไขคำตอบ! "โศกนาฏกรรมอิแทวอน" เสียชีวิตจากภาวะขาดอากาศหายใจ
เหตุเหยียบกันเสียชีวิตในตรอกที่ย่านสถานบันเทิงยามค่ำคืนอิแทวอนในกรุงโซล เมื่อวันที่ 29 ต.ค. ปีที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 159 คน และบาดเจ็บอีก 195 คน ส่วนมากอายุ 20-30 ปี ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ถึงความบกพร่องของตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรับมือเหตุ ที่มีการส่งเจ้าหน้าที่เพียง 137 นายเข้าดูแลพื้นที่ซึ่งมีการประมาณการไว้ว่าจะมีนักเที่ยวมารวมตัวกันได้มากถึงหลักแสนคน
ประชาชนวางดอกไม้รำลึกเหตุการณ์เมื่อ 29 ต.ค.2565
อ่าน : โศกนาฏกรรมอิแทวอน เสียชีวิต 59 บาดเจ็บ 150 คน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ฮาโลวีน 2023” กับเทศกาลผีนานาชาติ “พูด ผี-ปีศาจ”
31 ต.ค. กับ 31 เรื่องน่ารู้ของ "วันฮาโลวีน"