ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เบาหวานไทยพุ่ง "เด็ก-วัยรุ่น" ป่วยอื้อ

สังคม
14 พ.ย. 66
13:32
2,469
Logo Thai PBS
เบาหวานไทยพุ่ง "เด็ก-วัยรุ่น" ป่วยอื้อ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติคาดปี 2583 ไทยมีผู้ป่วยเบาหวานสูง 5.3 ล้านคน ส่วนปี 2566 คนไทยมีผู้ป่วยเบาหวานแล้ว 4.8 ล้านคน เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ชี้น้ำตาลก่อโรค NCDs แนะปรับพฤติกรรมการกิน

วันนี้ (14 พ.ย 2566) เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ในฐานะองค์กรที่ขับเคลื่อนรณรงค์ลดพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลในเด็กไทยมาอย่างต่อเนื่อง ระบุว่า วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก ในปี 2566 สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF: International Diabetes Federation: IDF) ให้ความสำคัญของการรู้ถึงความเสี่ยงของโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อน ในหัวข้อ “Know your risk, Know your response”

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า เบาหวาน คือ จุดเริ่มต้นของสารพัดโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) ซึ่งสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และ IDF คาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน ขณะที่ปีนี้ 2566 ไทยมีผู้ป่วยเบาหวาน 4.8 ล้านคน และส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยกลางคน

สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้ ตัวเลขช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น เริ่มพบว่า เป็นเบาหวานกันแล้ว ขณะที่ประชากรไทยอัตราการเกิดน้อยลง เราจึงห่วงสถานการณ์ที่พลเมืองกับการมีภาวะเป็นโรคใดโรคหนึ่ง โดย เฉพาะกลุ่มโรค NCDs เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการเครือข่ายเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน

ทพญ.ปิยะดา กล่าวว่า สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลิน (Insulin) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรายงานมานานแล้วว่า เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดกับกลุ่มเด็กอายุแค่ 10 -11 ปีแล้ว จึงเห็นได้ว่าน้ำตาล เป็นรากของปัญหาทั้งหมด หากรู้ว่า ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานคือ น้ำตาลควรต้องสังเกตตัวเองมีภาวะผิดปกติหรือไม่ หากรู้ว่ามีภาวะเสี่ยง หรืออ้วน ต้องหยุดบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง การมีพุงหมายความว่า ร่างกายสะสมไขมันสะสมมากเกินไป และที่สำคัญคนไทยควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี

ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวอีกว่า หากใครทราบว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล และองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม แต่ที่ไทย เครื่องดื่มบางชนิด พบว่า แค่ 1 แก้ว สามารถรับน้ำตาลเข้าร่างกายได้ในครั้งเดียวถึง 10 -15 ช้อนชา

ทพญ.ปิยะดา กล่าวว่า แม้น้ำตาลจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน แต่ไม่ใช่มีแค่เครื่องดื่มและอาหารเท่านั้นที่มีน้ำตาลทราย ยังมีอาหารประเภทอื่นที่มีการปรุง เติมรสชาติเข้าไปอีก ดังนั้นสุขภาพที่ดีสามารถเริ่มต้นจากการลดปริมาณ เช่น เคยดื่มเครื่องดื่มรสหวาน 2 แก้ว ลดเหลือ 1 แก้ว หรือจากเคยเติมน้ำตาลเต็มช้อน ก็ลดสักครึ่งหนึ่ง ช่วงแรกๆ อาจไม่อร่อยเลย แต่นานไปๆ ลิ้นก็จะชินกับการรับประทานอาหารที่ไม่ต้องปรุงแต่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

พบเบาหวานทั่วโลก 537 ล้านคน ปี 2566 ไทยป่วยเพิ่ม 3 แสนคน

วันเบาหวานโลก รู้จัก "เบาหวานขณะตั้งครรภ์" 1 โรคอันตรายของ 2 ชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง