ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ต่อหัวเสือ" วายร้ายตัวจิ๋ว ยังสยบโลกร้อน วงจรชีวิตเปลี่ยน

สิ่งแวดล้อม
24 พ.ย. 66
13:50
10,363
Logo Thai PBS
"ต่อหัวเสือ" วายร้ายตัวจิ๋ว ยังสยบโลกร้อน วงจรชีวิตเปลี่ยน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พร้อมชวนมารู้จัก "ตัวต่อ" และหลากเรื่องน่ารู้ ทำไมถึงมักถูกมองเป็นตัวร้าย แต่ในธรรมชาติกลับมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เป็นอย่างมาก

องค์การสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ระดับการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจก Emissions Gap Report 2023 ซึ่งประเมินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศที่ให้คำมั่นสัญญาและตั้งเป้าหมายร่วมกันแก้ไขปัญหาโลกร้อน

ข้อมูลล่าสุด ชี้ว่า "โลกกำลังมุ่งหน้าไปสู่การมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียสภายในช่วงศตวรรษนี้ และโลกกำลังมุ่งสู่สภาวะราวกับนรก"

หากโลกร้อนขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์คาดว่าโลกจะผ่านจุดวิกฤตที่ไม่สามารถแก้ไขได้อีก ไม่ว่าจะเป็นธารน้ำแข็งละลาย ป่าแอมะซอนแห้งแล้ง และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น

การคาดการณ์อุณหภูมิโลกที่จะร้อนขึ้นดังกล่าว นำมาซึ่งสิ่งที่น่ากังวลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเล็ก ๆ จำพวก "แมลง" ด้วย 

อ่านข่าว : นักกีฏวิทยา ชี้ ปัจจัยโลกร้อน "ยุงเพิ่มจำนวน-โตไว-ผสมพันธุ์เร็วขึ้น"

ต่อหัวเสือ

ต่อหัวเสือ

ต่อหัวเสือ

โลกร้อน สภาพอากาศ แมลงผสมเกสร ลดปริมาณลง

ไทยพีบีเอสออนไลน์ พูดคุยกับ ดร.แก้วภวิกา รัตนจันทร์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านกีฎวิทยาป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ต่อแมลงในหลาย ๆ ชนิด ในที่นี่จะยกตัวอย่าง "ต่อหัวเสือ" แมลงมีพิษ ซึ่งอยู่ในสกุลต่อ (Genus Vespa Linnaeus, 1758) วงศ์ต่อแตน (Family Vespidae) อันดับผึ้ง ต่อ แตน มด (Order Hymenoptera)  

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ต่อกลุ่มแมลงมาก ในหลายแง่มุม เช่น แมลงบางชนิดจะมีวงจรชีวิตที่เร็วขึ้น เช่น ยุง หรือ แมลงวัน

เนื่องจากการเติบโตของ แมลงโดยส่วนใหญ่ต้องใช้ความร้อน ในการเจริญเติบโต แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น แมลงวัน จากใช้เวลา 3 วันที่จะเป็นตัวเต็มวัย กลับใช้เวลา 2 วัน

ดร.แก้วภวิกา อธิบายอีกว่า วงจรชีวิตเร็วขึ้นส่งผลเสียจากแมลงที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคน แมลงนำโรค เพราะหากวงจรชีวิตเร็วขึ้นทำให้แมลงเพิ่มเยอะขึ้น ส่วนแมลงบางกลุ่ม ที่เซนซิทีฟกับอุณหภูมิ ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน นั้นคืออาจไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ยุง หรือ แมลงวัน ได้รับผลกระทบจากสภาะวะโลกร้อน ขณะที่แมลงในกลุ่ม ผึ้ง ต่อ แตน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งแมลงในกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการ "ผสมเกสร"  

จากการตรวจเอกสารทางวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า โลกกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ทำให้แมลงผสมเกสรลดปริมาณลงชัดเจน และหากโลกร้อนขึ้น แมลงกลุ่มผสมเกสร จะลดจำนวนลง ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อการผสมเกสร พืช ที่อาจเป็นอาหารของมนุษย์

ตอนนี้เห็นได้ชัด และทั่วโลกกำลังตระหนัก ถึงการลดลงและการหายไปของแมลงผสมเกสร ซึ่งหากแมลงผสมเกสรลดลง สิ่งที่ส่งผลกระทบชัดเจนคือ อาหารของมนุษย์จะลดลงด้วยตอนนี้เลยเป็นประเด็นที่นักวิชาการให้ความสนใจ กรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อแมลงผสมเกสร

"ต่อ" ถูกยกมาพูดถึงแมลงที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ดร.แก้วภวิกา จะพาได้รู้จักแมลงชนิดนี้ให้ดีขึ้น แมลงที่มักถูกมองเป็นตัวร้าย แต่ในธรรมชาติ "ต่อหัวเสือ" กลับมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เป็นอย่างมาก

อ่านข่าว : เปิด 3 กลไก แปลงร่างจาก ”ยุง” เป็น ”ซูเปอร์ยุง”

มาทำความรู้จัก "ต่อ" ให้มากขึ้น

วันนี้จะพาไปทำความรู้จักหน้าตา ทำความเข้าใจวงจรชีวิต รวมถึงพฤติกรรมของ "ต่อหัวเสือ" ให้มากขึ้น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก นั้นเพื่อหากหลีกเลี่ยงได้จะได้หลีก และเมื่อถึงคราวคับขัน ต้องเผชิญหน้ากับแมลงชนิดนี้จะได้หลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ โดนต่อยขึ้นมาจะได้ปฎิบัติตัวถูก

"ต่อหัวเสือ" ยังจัดเป็นแมลง "ตัวห้ำ" (Predator) กินแมลงและสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร หรือบางชนิดกินซากสัตว์ เช่น หนู กบ แมลง หนอนผีเสือ มีประโยชน์ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชไม่ให้แพร่ระบาดจนกระทบต่อระบบนิเวศ

บทบาทในธรรมชาติ นอกจากจะเป็ตตัวห้ำในการกำจัดศัตรูพืชแล้ว ด้วยพฤติกรรมเมื่อออกไปหาอาหาร บางครั้งตัวต่อช่วยผสม เกสรดอกไม้ด้วย

อ่านข่าว : เปิด 13 เรื่อง น่ารู้เกี่ยวกับ "ยุง" วายร้ายตัวจิ๋ว

"ผึ้ง - ต่อ - แตน" ต่างกันอย่างไร

ดร.แก้วภวิกา อธิบายว่าหากสังเกตจะสามารถแยกได้ไม่ยาก โดย "ผึ้ง" เราอาจคุ้นเคยที่สุด มีลักษณะโดยทั่วไปคือ ลำตัวมีสีเหลืองน้ำตาล ขาหลังมีอวัยวะสำหรับเก็บเกสร ส่วนปลายท้องมีเหล็กในยื่นออกมาเห็นได้ชัด

ส่วน "ต่อ" กับ "แตน" แตกต่างกัน คือ "ตัวต่อ" มีขนาดใหญ่ประมาณ 2-3 ซม. ลำตัวมีสีดำแต้มด้วยสีเหลือง หรืออาจมีสีน้ำตาล ท้องมีแถบสีส้มปนเหลือง มีปีกสีน้ำตาลบางใส 2 คู่ ที่ปากมีเขี้ยว ขนาดใหญ่ ส่วน "แตน" มีขนาดเล็กกว่าต่อ ลำตัวผอมเรียวกว่า โดยต่อสร้างรังรูปทรงกลม ในขณะที่แตนมีการสร้างรังได้หลายแบบทั้งคล้ายฝักบัว เป็นแผ่น หรือ เป็นสายยาว

ต่อหัวเสือมีเขตแพร่กระจายในทวีปเอเชีย บางชนิดกระจายในยุโรปและอเมริกา ทั่วโลกพบต่อหัวเสือ 23 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานการพบ 15 ชนิด แต่ก็จะมีบางชนิดที่ค่อนข้างอันตราย หรือว่าดุ รวมถึงต่อหัวเสือด้วย โดยพบได้ในทั่วทุกภาค และพบได้ทั่วไป โดยบ่อยครั้งจะเข้ามาทำรังอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยของคน

จริง ๆ แล้วต่อหัวเสือ จะชอบทำรังในพื้นที่แบบไหนกัน และภายในรังประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เผื่อเราจะได้สังเกตเพื่อความปลอดภัยของเรานั่นเอง

สังเกต รังต่อ รังผึ้ง รังแตน

ดร.แก้วภวิกา กล่าวว่า รังผึ้ง สังเกตง่ายอยู่แล้ว คือมีลักษณะแบน ๆ ส่วนรังต่อ มันจะสร้างรังขนาดใหญ่ทรงกลม และมีบางกลุ่มที่ทำรังอยู่ในดิน จะสังเกตยากว่าเป็นรังต่อ หากเข้าไปเที่ยวป่า หลายครั้งเข้าไปใกล้บริเวณรังโดยที่เขาไม่ทันได้สังเกต ฉะนั้น ยากให้ศึกษาพวกลักษณะ ของแมลงหรือสัว์มีพิษเอาไว้เป็นความรู้เบื้องต้น จะได้ระวังตัว

หากเราเห็นรังไม่ควรเข้าไปใกล้ ไม่ว่าจะเห็นตัวต่อบินอยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ก็ตาม บางคนอาจชะล่าใจว่ามันไม่อยู่รัง แต่อย่าลืมว่าภายในรังยังมี ต่องานที่ทำงานอยู่ภายในรัง

ตัวต่อชอบสร้างรังในพื้นที่เงียบสงบ มีขนาดใหญ่ทรงกลม

ตัวต่อชอบสร้างรังในพื้นที่เงียบสงบ มีขนาดใหญ่ทรงกลม

ตัวต่อชอบสร้างรังในพื้นที่เงียบสงบ มีขนาดใหญ่ทรงกลม

ต่อหัวเสือ แมลงสังคม

ดร.แก้วภวิกา กล่าวว่า ด้วยแมลงกลุ่มนี้เป็นแมลงสังคม อาศัยอยู่รวมกันภายในรังเดียวกัน ในหนึ่งรัง ประกอบด้วย ราชินี ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลประชากรทั้งรัง "ต่อสืบพันธุ์" ทำหน้าที่ออกไข่ และ "ต่องาน" มีจำนวนมากสุดในรัง ซึ่งมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของต่อและอายุของรัง โดยต่องานนี้มีหน้าที่หาอาหาร ป้องกันรัง ดูแลราชินี และตัวอ่อนภายในรัง

เมื่อรังถูกรบกวนหรือรู้สึกว่ารังจะได้รับอันตราย ต่องานจะทำหน้าที่ป้องกันรัง โดยการใช้เหล็กในต่อยคนหรือสัตว์ที่อยู่ใกล้ และจะส่งสัญญานเรียกต่องานตัวอื่นให้มาช่วยกันรุมต่อยเหยื่อด้วย

การเจริญเติบโตของ "ต่อหัวเสือ" แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

ช่วงเวลาในการออกหากิน

ตัวต่อออกหากินในช่วงเวลากลางวันไม่ว่าจะเป็นในป่าหรือตามบ้านเรือน โดยส่วนใหญ่ตัวต่อจะออกหากินในบริเวณใกล้ ๆ รัง แต่หากบริเวณรังไม่มีอาหาร ตัวต่ออาจจะบินออกไปหากินได้ในระยะ 1-2 กิโลเมตร ตัวต่อจะมีบางกลุ่มที่ทำรังบนต้นไม้ หรือ ตามหลังคาบ้านเรือนของคน

ตัวต่อชอบสร้างรังในพื้นที่ที่เงียบสงบ ไม่มีการรบกวน และมีอาหารอยู่บริเวณใกล้รัง
ตัวอ่อน ต่อหัวเสือ

ตัวอ่อน ต่อหัวเสือ

ตัวอ่อน ต่อหัวเสือ

เราควรมัน สังเกตหากมีรังต่อที่มาทำรังใกล้ ๆ บ้าน ตั้งแต่เริ่ม ให้รีบทำลายใน 1-2 วันแรกเลยที่มาทำรัง เพราะว่าช่วงนั้นยังไม่มีต่อมาอาศัยเป็นแค่ รังเปล่า เพราะจะง่ายต่อการกำจัด และหากเราเพิ่งเห็นตอนที่มันเป็นรังแล้ว อยู่ใกล้บ้าน ไม่แนะนำให้ทำรังเองให้แจ้ง บริษัทจำกัด หรือ หน่วยงานที่เขาจะสามารถจัดการจะปลอดภัยกว่า

โดยธรรมชาติต่อหัวเสือ ต่องานจะมีพฤติกรรมป้องกันรัง วิธีที่จะป้องกันอันตรายจากต่อหัวเสือคือ พยายาอย่าเข้าใกล้รัง หรือทำให้ต่องานรู้สึกว่ารังถูกจู่โจมหรือกำลังจะถูกทำร้าย และหลังจากถูกต่อยแล้วให้สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที

ต่อหัวเสือกินแมลงและสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร

ต่อหัวเสือกินแมลงและสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร

ต่อหัวเสือกินแมลงและสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร

"เหล็กใน" อาวุธร้าย "ต่อหัวเสือ"

มาถีงตรงนี้หลายคนรู้แล้วอวัยวะ ที่เป็นอาวุธสำคัญของ "ตัวต่อ" นั้นคือเหล็กใน ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายเข็มฉีดยา โดยจะฉีดพิษเข้าร่างกายของผู้ที่ถูกต่อยทางเหล็กใน โดยที่เหล็กในไม่หลุดออกจากลำตัวหลังจากต่อยแล้ว

ดังนั้น เมื่อต่อยครั้งหนึ่งแล้วต่อหัวเสือจะถอนเหล็กในออกอย่างรวดเร็วและต่อยซ้ำ ๆ ติดต่อกันได้อีกหลายครั้ง แตกต่างจาก "ผึ้ง" ที่ต่อยได้เพียงครั้งเดียว

พิษของต่อหัวเสือจัดว่าอันตรายมาก ความรุนแรงของพิษขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่ถูกต่อย และปริมาณพิษที่ได้รับ รวมถึงสภาวะภูมิแพ้หรือร่างกายของผู้ที่ถูกต่อย

ฉะนั้นความรุนแรงของอาการของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ดร.แก้วภวิกา กล่าวว่า บางคนจะมีอาการเจ็บปวดและบวมบริเวณที่ถูกต่อยเพียงเล็กน้อย บางคนมีอาการปานกลาง ในคนที่รุนแรงหรือมีสภาวะภูมิแพ้พิษต่อหัวเสือจะมีอาการปวดมาก คัน มีลมพิษทั่วตัว ผู้ป่วยหายใจลำบาก หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำจนช็อก เกิดภาวะการไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ไตวาย และเสียชีวิตได้

จากการตรวจเอกสารทางวิชาการ พบว่าโรคภูมิแพ้พิษตัวต่อจัดเป็นภาวะภูมิไวเกินชนิดที่ 1 ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้จากต่อมพิษเข้าไปกระตุ้นร่างกายของผู้ที่ถูกต่อยให้เกิดสภาวะภูมิแพ้ ซึ่งปัจจุบันพิษของ "ต่อหัวเสือ" สามารถทำการทดสอบทางผิวหนังเพื่อดูสภาวะภูมิแพ้ได้

ดร.แก้วภวิกา กล่าวว่า ในคนที่มีสภาวะแพ้พิษต่อหัวเสือรุนแรงสามารถรักษาโดยใช้วัคซีนที่สกัดจากต่อหัวเสือ เพื่อป้องกันการแพ้เมื่อถูกต่อยในอนาคต แต่ปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง และบางครั้งวัคซีนที่มีอยู่นั้นสกัดมาจากต่อต่างสายพันธุ์กับตัวที่ต่อยผู้ป่วย

เข้าไปในพื้นที่ที่เราไม่คุ้นเคย จึงต้องสังเกตให้มาก และมีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับแมลงหรือสัตว์มีพิษ จะต้องระวังจากตรงไหน แล้วเราถูกแมลงหรืออะไรทำร้าย กรณีที่เลี่ยงไม่ได้ หากถูกต่อย หากเราหนีได้ให้รีบหนีออกมาจากบริเวณนั้น โดยเร็ว เพราะเลี่ยงที่จะถูกต่อตัวเดิมหรือ ตัวอื่นจู่โจม นอกจากนี้ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ปกปิดสวนที่บอบบ้าง ศรีษะตา หน้า คอ

มาถึงจุดนี้เราพอจะเข้าใจลักษณะ วงจรชีวิตของ "ต่อหัวเสือ" มากขึ้นแล้ว ดังนั้นเราจึงควรสังเกตบริเวณรอบ ๆ บ้าน ว่ามีต่อหัวเสือมาทำรังหรือไม่ หากเข้าป่าก็ไม่ควรพาตัวเองไปในพื้นที่เสี่ยงที่เป็นแหล่งที่อยู่ของต่อหัวเสือ

อ่านข่าวอื่นๆ :

"วัยรุ่น-วัยเรียน" ตั้งท้องลดลง ลอยกระทงเสี่ยงต้องป้องกันตัวมากขึ้น

ใจสู้! คู่แฝดอินเดียวิ่งออกกำลังกายท่ามกลางหมอกควันพิษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง