ตามรายงานขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมนี้ผลิตคาร์บอนได้มากกว่า 830 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งเป็นจำนวนมากเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหิน 283 แห่ง ที่ผลิตการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ใน 1 ปี อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือจึงเผชิญกับแรงกดดันจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักลงทุนให้เร่งลดการปล่อยคาร์บอน ทำให้ผู้ขนส่งสินค้ารายใหญ่ศึกษาหาวิธีเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด จนพบว่าพลังงานลมหมุนเวียนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการศึกษา
เทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยแรงลมจะถูกติดตั้งบนเรือขนส่งแร่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีขนาด 400,000 ตัน โดยจะมีการติดตั้งเรือใบ Rotor Sail จำนวน 5 ลำ โดยมีเป้าหมายเพื่อการศึกษาความสามารถในการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเรือบรรทุกสินค้าของพลังงานลม
เรือพลังงานลมรูปทรงกระบอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร และสูง 35 เมตร โดยจะจับพลังงานลมเพื่อเพิ่มแรงขับไปข้างหน้า และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งเส้นทางทะเลลึกส่วนใหญ่ที่เรือขนส่งพลังงานลมเดินทางผ่านจะอยู่ระหว่างบราซิล จีน และตะวันออกกลาง เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสำหรับการใช้พลังงานลม
เรือขนส่งแร่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานลมมีกำหนดสรุปในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 และคาดว่าจะให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 3,000 ตันต่อปี และลดการใช้เชื้อเพลิงได้ประมาณ 6%
ที่มาข้อมูล: interestingengineering, marineinsight, carboncredits
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech