ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดาหน้า ค้าน เปิดสถานบันเทิงตี 4

สังคม
7 ธ.ค. 66
17:00
642
Logo Thai PBS
ดาหน้า ค้าน เปิดสถานบันเทิงตี 4
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผลวิจัย-ผลสำรวจความคิดเห็น "เปิดผับถึงตี 4" กระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคประชาชน นักวิชาการค้านกันเสียงขรม เรียกร้องนักการเมืองรับผิดชอบ หากมีคนเจ็บ ตาย พิการ ยันขยายเวลาเปิดไม่ช่วยให้คนกินมากขึ้น ราคามีผลกับการดื่ม ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวต่างชาติดื่มไวตั้งแต่ค่ำ

วันนี้ (8 ธ.ค .2566 ) มูลนิธิเพื่อสุขภาวะ (มสส.) และขบวนการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน (ขสช.) จัดเสวนาและแถลงผลเปิดวิจัย "นโยบายเปิดสถานบริการผับบาร์ตี 4" โดย ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยผลการศึกษา "การประเมินผลทางเศรษฐกิจ สุขภาพและสังคม หากมีการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับนักท่องเที่ยวยามค่ำคืน ด้วยการขยายเวลาเปิดผับบาร์ สถานบันเทิง" ว่า การศึกษาวิจัยเริ่มในเมษายน ปี 2566 คือช่วงปลายรัฐบาลที่แล้ว ภายใต้กรอบ 3 แนวคิดหลัก คือ การเปิดเสรีการผลิต การเปลี่ยนแปลงเวลาขาย ยกเลิกห้ามขายแอลกอฮอล์ 14.00 - 17.00 น. และการมีพื้นที่เฉพาะ (โซนนิ่ง) ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ถึง 04.00 น. ใน 4 พื้นที่ ได้ ข้าวสาร กทม. พัทยา จ.ชลบุรี หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต และ หาดเฉวง เกาะสมุย จ. สุราษฎร์ธานี เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภค และประเมินผลทางเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และดร.สุริยัน บุญแท้ ผู้จัดการศูนย์เพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB)

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และดร.สุริยัน บุญแท้ ผู้จัดการศูนย์เพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB)

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และดร.สุริยัน บุญแท้ ผู้จัดการศูนย์เพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB)

นักท่องเที่ยวไทย-เทศ ดื่มแอลกอฮอล์ตอนหัวค่ำ

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ กล่าวว่า โดยแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย902 คน และต่างชาติ 274 คน และแบ่งช่วงระยะเวลาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการดื่มนอกบ้านประมาณ ร้อยละ 60 ไปร้านอาหาร ร้อยละ 70 ส่วนใหญ่จะดื่มช่วงเย็น 17.00 - 20.00 น. และ 20.00 - 23.00 น. ส่วนไปผับบาร์อยู่ที่ 68% ส่วนใหญ่ดื่มตอน 20.00 - 23.00 น. และ 23.00 - 02.00 น.
ขณะที่ นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เร็วกว่านักท่องเที่ยวไทย เริ่มตั้งแต่ เวลา 14.00 -17.00 น. ร้อยละ 20 ช่วงเย็น 17.00 - 20.00 น. ร้อยละ 50 และ 23.00 - 02.00 น. ร้อยละ 30 เมื่อถามถึงกรณีนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กระทบต่อการการเที่ยวมากน้อยแค่ไหน พบว่า ร้อยละ 32 ระบุว่า มาเที่ยวพื้นที่พิเศษเพราะการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์ แต่การขยายเวลาไปยาวนานขึ้นร้อยละ 84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวประเทศไทย

รายได้มาก มีผลต่อชั่วโมง นั่งดื่ม นานขึ้น

ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์กล่าวว่า ส่วนพฤติกรรมถ้าเปิดสถานบันเทิงถึง 04.00 น. การบริโภคจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ถ้าคนไทยพบว่า ผู้ชายมีแนวโน้มบริโภคเพิ่มมากขึ้นกว่าผู้หญิง กลุ่มอายุเป็น 25-44 ปี พร้อมระบุว่าการดื่มมีความสัมพันธ์กับเรื่องของรายได้ ยิ่งรายได้สูงมีแนวโน้มบริโภคต่อชั่วโมงเพิ่มมากกว่า ขณะที่นักเที่ยวต่างชาติ เพศชายดื่มมากกว่าเพศหญิง และ ไม่ได้มีความแตกต่างของพฤติกรรม ส่วนปริมาณการดื่มเพิ่มมากขึ้นอย่างไรหากเปิดช่วงเที่ยงคืนถึงตี 4 พบว่า กรณีราคา 70 บาท คนไทยบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วง 4 ชั่วโมง อยู่ที่ 1.79 หน่วยดื่มมาตรฐาน ส่วนต่างชาติจะสูงกว่าอยู่ที่ 2.248 หน่วยดื่มมาตรฐาน แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณที่จะบริโภคเพิ่มขึ้นลดลง อย่างราคา 160 บาท ดื่มเพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 หน่วยดื่มมาตรฐาน ต่างชาติอยู่ที่ 1 หน่วย

หากคำนวณปริมาณการดื่มทั้งปีของนักเที่ยวใน 4 พื้นที่สำรวจ คนไทยจะดื่มประมาณ 9 ล้านหน่วยมาตรฐาน ต่างชาติ 43 ล้านหน่วยมาตรฐาน เมื่อคูณกับต้นทุนด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคม โดยอิงจากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ต้นทุนที่จะเกิดแก่สังคมอยู่ที่ 258 ล้านบาท มูลค่าที่ขายเพิ่มขึ้นกรณีราคา 70 บาท อยู่ที่ 3,698 ล้านบาท

สรุปคือ การขยายเวลาขายพื้นที่พิเศษโซนนิ่ง ปริมาณบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มสูงขึ้น มาตรการช่วยลดการบริโภค คือ การเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นเรื่องอุบัติเหตุ และประเด็นด้านสุขภาพอื่น ๆ นอกจากนี้ ใน 4 พื้นที่นี้ ร้อยละ90 นักท่องเที่ยวต่างประเทศ ใช้การเดินทางสาธารณะ แต่บริการในพื้นที่ต่างจังหวัดค่อนข้างลำบาก ภาษีที่เก็บได้ หากนำมาปรับปรุงการเดินทางสาธารณะให้ดีขึ้น อาจช่วยลดอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาลที่จะเพิ่มขึ้น

3 ใน 4 ไม่เห็นประโยชน์ขยายเปิดสถานบันเทิง

ดร.สุริยัน บุญแท้ ผู้จัดการศูนย์เพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นต่อการขยายเวลาปิดสถานบันเทิง กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 12 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 3,083 ตัวอย่าง พบว่า สถานบันเทิงเขตโซนนิ่งทำผิดกฎหมาย ขายให้เด็ก ถูกสั่งปิดถาวร เห็นด้วย ร้อยละ 83.4 คงมาตรการห้ามขายเหล้าวันพระใหญ่ เห็นด้วย ร้อยละ 81 สถานบันเทิงนอกโซนนิ่งทำผิดกฎหมายขายให้เด็ก ถูกปิด 5 ปี เห็นด้วย ร้อยละ 78 ร้านค้าปลีกเปิดขายตลอดเวลา เห็นด้วย ร้อยละ 37.4 เมื่อสอบถามถึงการขยายเปิดสถานบันเทิงเห็นประโยชน์หรือไม่ พบว่า 3 ใน 4 หรือ ร้อยละ 74.1 ไม่เห็นประโยชน์ใด ส่วนที่เห็นประโยชน์ ร้อยละ 25.9 พบว่า เห็นประโยชน์เรื่องมีเวลาดื่มกินมากขึ้น เที่ยวกลางคืนเต็มที่มากขึ้น ร้อยละ14.2 ค้าขายบริการดีขึ้นจากการกระตุ้นท่องเที่ยว ร้อยละ 11.7 และรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจสถานบันเทิงหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องร้อยละ 10.1 ส่วนความกังวลต่อผลกระทบที่จะเปิดถึงตี 4 คือ อุบัติเหตุทางถนน เมาแล้วขับสูงขึ้น ร้อยละ 75.4 เกิดผลกระทบทางสังคมจากการดื่มมากขึ้น ร้อยละ 64.8 ผลกระทบทางสุขภาพ ร้อยละ 35.7 สูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าได้ประโยชน์ร้อยละ 23.2

การอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิงถึงตี 4 พบว่า เห็นด้วยร้อยละ 33.4 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 51.8 ถือว่าไม่เห็นด้วยมากกว่า แต่เมื่อโฟกัสเฉพาะเขตท่องเที่ยวพิเศษ เช่น ข้าวสาร เชียงใหม่ คนเห็นด้วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 ส่วนการขยายเวลาเปิดปิดสถานบันเทิงและอนุญาตร้านค้าปลีกให้ขายตลอดเวลา ส่งผลต่อการอยากไปเที่ยวหรือไม่ พบว่า ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ร้อยละ 57.6 มีผลต่อการตัดสินใจ ร้อยละ 11.1

12 ธ.ค. บุกค้านที่ทำเนียบ นักการเมืองต้องรับผิดชอบ

นายชูวิทย์ จันทรส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์

นายชูวิทย์ จันทรส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์

นายชูวิทย์ จันทรส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์

นายชูวิทย์ จันทรส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ทางเครือข่ายเตรียมขับเคลื่อนคัดค้านนโยบายขยายเวลาเปิดสถานบริการ ผับ บาร์ ตี 4 ที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากนโยบายนี้ ไม่ได้รับฟังความเห็นจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง และเกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชน มีทั้งเจ็บ ตาย พิการ ไม่เหมือนกับดิจิทัลวอลเล็ต จะมาขับเคลื่อนนโยบายไปแก้ปัญหาไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม แม้รู้ว่าไม่อาจคัดค้านได้ แต่ก็จะไม่นิ่งเฉย ทั้งนี้ จะมอนิเตอร์ทุกพื้นที่ที่เปิดโซนนิ่งขยายเวลาเปิดสถานบันเทิง กทม. ชลบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ และเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี หากมีคนเจ็บตายขึ้นมารัฐบาลต้องรับผิดชอบ

มีแต่นักการเมืองพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ แต่ไม่มีคนเอ่ยปากรับผิดชอบ สำหรับเรื่องนี้ โดยคนที่ต้องรับผิดชอบ คือ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หากมีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต พิการ จากเมาแล้วขับ ทั้งนี้ในการนำเสนอของกระทรวงท่องเที่ยวฯเอง ก็พบ ข้อมูลสวนทาง

เมาครองสติไม่ได้ เป็นนิยามไม่ชัดเจน ผู้ประกอบการยากปฏิบัติ

นายชูวิทย์กล่าวว่า เรื่องมาตรการรองรับหากจัดรถรับส่งสาธารณะให้คนเมาได้ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่จะทำจริงได้หรือไม่ มองว่ากระทรวงสาธารณสุขควรออกมาตรการให้ชัด อย่างเรื่องห้ามขายให้คนเมาครองสติไม่ได้ ก็มีมานานแล้ว แต่ไม่เคยมีการออกเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้ร้านค้า สถานบันเทิง ไม่รู้ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร ซึ่งในต่างประเทศ ทางร้านขาย ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากลูกค้าไปเมาแล้วขับเกิดอุบัติเหตุ ผู้ประกอบร้านค้านั้นก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

ร้านเหล้า ย่านโซนิ่ง ในกทม ขานรับเปิดถึงตี 4

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลมีนโยบายขยายเวลาเปิดสถานบันเทิงออกไป กรุงเทพมหานคร ได้สำรวจสถานบริการที่อยู่ในข่ายของการเปิดถึงตี 4 ได้จำนวน 207 แห่ง โดยอยู่ในโซนนิ่งย่าน สีลม, RCA, รัชดาภิเษกจำนวน 73 แห่ง และอยู่นอกโซนนิ่ง 134 แห่งโดยกลุ่มที่อยู่นอกโซนนิ่งเป็นกลุ่มที่ได้ใบอนุญาตมาก่อนแล้วที่จะมีการประกาศโซนนิ่ง ส่วนกลุ่มประเภทที่อยู่ในโรงแรมมี 32 แห่ง แบ่งเป็นอยู่ในโซนนิ่ง 8 แห่ง และอยู่นอกโซนนิ่ง 24แห่งทั้งนี้ ที่ผ่านมา จากการที่เขตรายงานพบว่า อย่างโซน ดินแดง, ห้วยขวาง มีสถานบริการทั้งหมด 40 แห่ง แบ่งเป็นสถานบันเทิง 5 แห่ง ที่เหลือเป็นสถานอาบอบนวด ซึ่งเท่าที่เจ้หน้าที่สอบถามผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตอบว่า อยากให้ขยายเวลาเปิดบริการถึง ตี 4 เกือบทั้งหมด

ขอสัญญาใจจากร้านเหล้า ออกมาตรการดูแล ช่วยลดอุบัติเหตุ

นายชัชชาติ กล่าวว่า ทั้งนี้ยังให้ผู้อำนวยการเขตสอบถาม สถานประกอบการว่า จะมีมาตรดูแลนักท่องเที่ยวอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในข้อเป็นห่วงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น กรณีเมาแล้วขับ สถานบันเทิงได้จัดเตรียม อุปกรณ์วัดปริมาณระดับแอลกอฮอล์ไว้แล้วหรือไม่ เพื่อความสบายใจ เนื่องจากลำพังแค่กฎหมายอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องมพันธะสัญญาต่อกัน ถ้าร้านค้าจะเปิดตี 4 จะมีมาตรการใดหรือไม่ที่จะไม่สร้างภาระให้กับสังคมโดยเฉพาะ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง