วันนี้ (25 ม.ค.2567) นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง 10 อาชีพเด่น อาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ และสถานภาพปี 2567 พบว่า อันดับหนึ่งที่เด็ก Gen Z ให้ความสนใจมากที่สุดคือ อาชีพ วิศวกรความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Network Security) หรือเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคความปลอดภัย เพราะเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีแรงงานในตลาดน้อยมาก
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ดังนั้นจึงมีความต้องการในตลาดแรงงานสูง รองลงมาเป็น อาชีพ แพทย์ ด้านศัลยกรรม ด้านผิวหนัง เนื่องจากมีความมั่นคงในอาชีพสูงและมีความสำคัญต่อสังคม มีรายได้มั่นคง
นอกจากนี้ยังมีอาชีพ นักกายภาพบำบัด, นักจิตวิทยา และ ทันตแพทย์ , นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) Data Analyst) หรือนักออกแบบข้อมูล , ยูทูบเบอร์, ติ๊กต็อกเกอร์, อินฟลูเอนเซอร์, สตรีมเมอร์ และพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ,ดารา นักแสดง นักร้อง, นักการตลาดออนไลน์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิเคราะห์การเงิน ที่ปรึกษาการเงิน และนักวางแผนทางการเงิน , ผู้ประกอบการ (ธุรกิจส่วนตัว), ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ กฎหมาย , ติวเตอร์ และ หมอดู
นายวชิร กล่าวว่า วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นอาชีพในฝันอันดับหนึ่งของเจน Z เพราะปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เกิดปัญหาโจมตีของแฮกเกอร์บ่อย ทำให้ตลาดมีต้องการอาชีพดังกล่าวมาก และยังมีผลตอบแทนที่สูง
ส่วนอาชีพยอดนิยม อันดับรองลงมา คือ แพทย์ และนักจิตวิทยา 2 คือ แพทย์ นักจิตวิทยา เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยมีการแข่งขันมาก ทำให้คนไทยเป็นโรคเครียด โรคซึมเศร้า และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ในขณะที่อาชีพหมอดูที่ติด 1 ใน 10 อาชีพในฝัน เพราะความปัจจุบันความต้องการดูหมอมีมากขึ้นในยุค มูเตลู เป็นโอกาสในการหารายได้ง่าย และ มีอัตราผลตอบแทนสูง ยิ่งได้รับความนิยมบางครั้งค่าดูต่อชั่วโมงอยู่ที่หลักพันถึงหลักหมื่นบาท ซึ่งสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อวันมาก
สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุน เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้เพียงพอกับความต้องการของนักศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยที่มากับเทคโนโลยี สนับสนุนให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนของเงินฝาก เพื่อส่งเสริมการออม สนับสนุนอุปกรณ์ และ wifi ฟรี สำหรับนักเรียนนักศึกษาและต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ทั้งนี้พฤติกรรมการใช้จ่ายในปัจจุบันของเด็ก GenZ พบว่า มัธยมปลาย อายุ 15-17 ปีมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ร้อยละ 38.2 และระดับปริญญาตรี อายุ18-23 ปี มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ร้อยละ 21.6 โดยรายได้ต่อเดือนของกลุ่มมัธยมปลายเฉลี่ย 5,980 บาท แต่มีรายจ่าย 6,194 บาท และระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 10,733บาท มีรายจ่ายเฉลี่ย 11,328 บาท
ทั้งนี้จากกลุ่มตัวอย่าง 802 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 7 เป็นกลุ่มที่เป็นหนี้ โดยแหล่งเงินกู้มาจาก พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ร้อยละ 38.8 จากเพื่อนร้อยละ 30.4 ,ธนาคาร/กยศ. ร้อยละ 17.7 ,นายทุน/แหล่งเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 8.6 ,สถานบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ร้อยละ 4.5 และมีหนี้นอกระบบ ร้อยละ 47.1 โดยยอดหนี้ต่ำกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 87.5 ส่วนยอดหนี้หนี้ในระบบตั้งแต่ 30,000 บาทสูงถึงร้อยละ51.9
อ่านข่าวอื่นๆ:
"การวางจุดยืนของไทยสำคัญที่สุด" เปิดใจ "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" เจ้ากระทรวงบัวแก้ว