เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2567 เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ สอน. เปิดเผยว่า ติดตามสถานการณ์ผลผลิตอ้อยเข้าหีบและเฝ้าระวังการเผาอ้อย ฤดูการผลิตปี 66/67 นับตั้งแต่วันเปิดหีบ 10 ธ.ค.2566 - 22 ก.พ.2567 เป็นระยะเวลา 75 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 70.23 ล้านตัน แบ่งเป็นปริมาณอ้อยสด 50.08 ล้านตัน ปริมาณอ้อยถูกลักลอบเผา 20.14 ล้านตัน และมีจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ปลูกอ้อย 47 จังหวัด จำนวน 1934 จุด หรือคิดเป็นร้อยละ 5.98 จากจุดความร้อนสะสมที่พบในประเทศ 37,464 จุด จะเห็นได้ว่ามีจุดความร้อน สะสมนอกพื้นที่ปลูกอ้อยสูงถึง หรือคิดเป็น ร้อยละ 94.12 จากจุดความร้อนสะสมที่พบในประเทศ
พื้นที่พบอ้อยถูกลักลอบเผาสูงสุด ได้แก่ จ.นครราชสีมา 2.4 ล้านตัน เพชรบูรณ์ 1.8 ล้านตัน อุดรธานี 1.7 ล้านตัน กาฬสินธุ์ 1.6 ล้านตัน และ ขอนแก่น 1.5 ล้านตัน
ขณะที่โรงงานน้ำตาลที่รับอ้อยไหม้ไฟสูงสุด ได้แก่ 1.บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด 2. บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด 3.บมจ.เกษตรไทยอินเตอร์ 4.บริษัท น้ำตาลไทยอุดรธานี จำกัด 5 บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
ภาพประกอบข่าว : รถขนอ้อย
นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการ สอน. กล่าวว่า จากตัวเลขที่สะท้อนดังกล่าวแสดงว่ามาตรจูงใจยังไม่เป็นผล จำเป็นต้องเพิ่มมาตรการในฤดูกาลผลิตหน้า เพื่อให้ส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยสดอยู่ที่ 90-110 บาท/ตัน ยังมีมาตรการที่ต้องทำควบคู่กับการจูงใจคือ การปรับแปลงสภาพไร่อ้อยให้มีสอดคล้องกับเครื่องจักร โดยรถตัดอ้อยในปัจจุบันมีถึง 4,500 คัน ถือว่าเพียงพอต่อพื้นที่เพาะปลูก แต่ต้องปรับสภาพพื้นที่ให้รถเข้าได้
นอกจากนี้จะสนับสนุนให้กลุ่มรับซื้อใบอ้อยเข้าไปยังพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อลดการเผาซากของเกษตรกร และขายใบอ้อยแทน ซึ่งทำให้เกษตรกรได้เงินเพิ่มถึง 150-200 บาท/ตัน
อ่านข่าวเพิ่ม :
ครู - นักเรียน จ.ลพบุรี วิ่งหนีอลหม่าน ควันไฟเผาไร่อ้อย ปกคลุมทั่วพื้นที่