ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ประวัติ "พระนิรันตราย" พระพุทธรูปโบราณคู่วัดราชประดิษฐฯ

สังคม
15 มี.ค. 67
12:45
5,760
Logo Thai PBS
ประวัติ "พระนิรันตราย" พระพุทธรูปโบราณคู่วัดราชประดิษฐฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

นานกว่า 6 ปีที่ "พระนิรันตราย" หายไปจาก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แม้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ สน.พระราชวังจะพยายามสืบค้นตามแหล่งต่าง ๆ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไร้วี่แวว แม้ล่าสุดหน่วยงานด้านความมั่นคงพยายามระดมสรรพกำลัง ในการติดตามองค์พระกลับคืน เพื่อให้อยู่คู่วัดดังเดิม

อ่าน : มือดีฉก "พระนิรันตราย" วัดราชประดิษฐฯ ป.ป.ท.-ปปป.เร่งขยายผล

พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปโบราณสององค์ซ้อนกัน องค์ใน ในตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2399 ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น (ข้อมูลบางส่วนจากวิกิพีเดีย) 

พระนิรันตราย ที่หายไปจาก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระนิรันตราย ที่หายไปจาก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระนิรันตราย ที่หายไปจาก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ปัจจุบันคือโบราณสถานหมายเลข 3 ซึ่งเรียกว่า เนินภูเขาทองในเขตโบราณสถานศรีมโหสถ ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนักเจ็ดตำลึงสิบเอ็ดสลึง พุทธศิลปะแบบทวารวดี จึงให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามา ณ กรุงเทพฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์

แต่ในร่างสารตราเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้น เมื่อปี 2399 กล่าวว่า นายปัน กับ นายอิน สองพ่อลูก ไปขุดร่อนทองที่ดงศรีมหาโพธิ์แล้วเจอพระทองคำ และได้นำไปให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์จึงบอกกรมการและพระยาวิเศษฤๅไชยเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา กรมการเมืองฉะเชิงเทราทั้งหลายจึงพร้อมใจกันทูลเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นพระองค์ก็ได้สอบถามที่ไปที่มาและได้พระราชทานเงินตรากับกรมการเมือง และพ่อลูกไปแบ่งกัน จึงสันนิฐานน่าจะเป็นตามที่ร่างสารตราเมืองฉะเชิงเทรากล่าวไว้มากกว่า

ภายหลัง โปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานที่หอเสถียรธรรมปริต หลังจากนั้นได้มีขโมยมาขโมยของ ซึ่งขโมยหยิบพระกริ่งทองคำไป แต่พระทองคำองค์นี้ ขโมยไม่หยิบไปด้วย เรื่องทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "พระนิรันตราย" และโปรดเกล้าฯ ให้ หล่อองค์ใหม่ครอบองค์เดิมมาจนถึงทุกวันนี้

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

พระนิรันตราย ถือเป็นพระพุทธรูปโบราณอีกองค์หนึ่งของไทยเป็นพระพุทธรูปสององค์ซ้อนกัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

"พระนิรันตราย" 18 องค์ 

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระนิรันตราย" อีก 18 องค์ สำหรับพระราชทานถวายพระอารามแห่งธรรมยุติกนิกาย 18 พระอาราม คือ

1.วัดบวรนิเวศวิหาร 2.วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม (ได้รับพระราชทานเมื่อ พ.ศ.2413 มีหมายเลข 14 จารึกกำกับไว้) 3.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 4.วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา 5.วัดนิเวศธรรมประวัติฯ จ.พระนครศรีอยุธยา 6.วัดบรมนิวาส 7.วัดมกุฏกษัตริยาราม

8.วัดเทพศริรินทราวาส 9.วัดโสมนัสวิหาร 10.วัดราชาธิวาส 11.วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี 12.วัดปทุมวนาราม 13.วัดราชผาติการาม 14.วัดสัมพันธวงศาราม 15.วัดเครือวัลย์ 16.วัดบุปผาราม 17.วัดบุรณศิริมาตยาราม 18.วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี

เท่าจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน การนี้สำเร็จตามพระราชประสงค์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะพิเศษของพระนิรันตรายสำรับนี้ คือ มีส่วนที่เพิ่มเติมจากพระนิรันตรายองค์เดิม ได้แก่ ซุ้มเรือนแก้ว ทำเป็นพุ่มพระศรีมหาโพธิ์ประกอบ

ยอดซุ้มประดับลายพระมหามงกุฎ และจารึกบท "อิติปิโส ภควา" 9 วรรค เป็นอักษรขอมประดับตามซุ้ม ส่วนฐานประดับรูปโค เจาะรูบริเวณปากโค น้ำสรงพระนิรันตรายจะไหลออกทางปากโค

วัดในกรุงเทพฯที่สามารถพบพระนิรันตรายในพระอุโบสถหน้าพระประธาน เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

องค์นอก พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรต้องตามพุทธลักษณะหน้าตักห้านิ้วกึ่ง หล่อด้วยทองคำ สวมครอบพระพุทธรูปนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่งไม่มีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์อยู่เบื้องหลัง

ตู้เหล็กเก็บ พระนิรันตราย ก่อนหายไปจากวัดราชประดิษฐ

ตู้เหล็กเก็บ พระนิรันตราย ก่อนหายไปจากวัดราชประดิษฐ

ตู้เหล็กเก็บ พระนิรันตราย ก่อนหายไปจากวัดราชประดิษฐ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญพระนิรันตรายทองคำประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ( ทำบุญตรุษ ) พระราชพิธีสงกรานต์ ปัจจุบัน เจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณีโดยอัญเชิญพระนิรันตรายไปตั้งในพระราชพิธีสำคัญ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น

สำหรับพระนิรันตราย ที่หายไปจากวัดราชประดิษฐฯ เป็น 1 ใน 18 องค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้าง และประดิษฐานอยู่ที่ราชประดิษฐฯ

ทางวัดฯนำองค์พระนิรันตรายฯออกมาครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2557 เพื่อนำมาเป็นต้นแบบจำลอง ในโอกาสวาระครบ 150 ปี แห่งการสถาปนาวัดราชประดิษฐฯ เมื่อ 26 พ.ย.2557

ลักษณะของพระนิรันตราย

พระนิรันตราย มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย"

พระนิรันตราย ที่หายไปจาก วัดราชประดิษฐ

พระนิรันตราย ที่หายไปจาก วัดราชประดิษฐ

พระนิรันตราย ที่หายไปจาก วัดราชประดิษฐ

ลักษณะของพระนิรันตราย ที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 4 นิ้วครึ่ง ห่มจีวรริ้วปราศจากอุษณีษะ ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับด้วยฐานสิงห์คร่อมซ้อนลงบนฐานบัวแปดเหลี่ยมแบบโรมันสำหรับรองรับน้ำสรง

มีท่อระบายน้ำเป็นรูปศีรษะโค แสดงเครื่องหมายพระสกุล "โคตมะ" ขารองฐานเป็นรูปลูกแก้วทั้ง 9 ขา มีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มพระศรีมหาโพธิมีอักษรขอมจำหลักในวงกลีบบัวทั้ง 9 กลีบ

จารึกพระคุณนามของพระพุทธองค์ด้วยคาถานวหรคุณทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ยอดเรือนแก้ว เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 4

อ่านข่าวอื่น ๆ

"บิ๊กก้อง" ไม่ตกใจ กรณี "บิ๊กโจ๊ก" ฟ้อง "บิ๊กเต่า" หมิ่นประมาทปมพนันออนไลน์

“โรม” ยกคณะ กมธ.ฯ ถกทัพเรือ ลั่นยังไม่วิจารณ์ ทร.ขาดมาตรฐาน

เศรษฐาระดมสมอง 6 เดือน ประกาศปีหน้าดัน "การท่องเที่ยวไทย"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง