ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็ก 22 พื้นที่ร้อนสุดปีนี้ พบบางจังหวัดทุบสถิติอดีตในรอบ 41 ปี

สังคม
29 เม.ย. 67
12:13
5,128
Logo Thai PBS
เช็ก 22 พื้นที่ร้อนสุดปีนี้ พบบางจังหวัดทุบสถิติอดีตในรอบ 41 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เช็ก 22 พื้นที่ร้อนอุณหภูมิร้อนสุดปี 2567 ทำลายสถิติอดีตในรอบ 41 ปี เช่น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 40 องศาฯ สถิติเดิม 39.5 องศาฯ เมื่อ 14 เม.ย.2526 กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุหน้าฝนล่า 2 สัปดาห์ เสี่ยงอากาศแปรปรวน จับตาอีก 3 วันหากร้อนไม่ลดอาจทุบสถิติ 44.6 องศา

สภาพอากาศที่ร้อนจัดในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้อุณหภูมิแตะ 43-44 องศาเซลเซียสต่อเนื่อง 

วันนี้ (29 เม.ย.2567) กรมอุตุนิยมวิทยา เผยพื้นที่ 22 แห่งที่ทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดของตัวเองเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ยังไม่ทุบร้อนสุดในรอบ 72 ปีที่กรมอุตุนิยมวิทยา เคยบันทึกไว้ยังคงที่ตัวเลข 44.6 องศาเซลเซียส เมื่อปี 2559 อ.เมืองแม่ฮ่องสอน เมื่อ 28 เม.ย.2559 และอ.เมืองตาก เมื่อ 15 เม.ย.2566 

สำหรับ 22 พื้นที่ที่กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสถิติอากาศร้อนของปี 2567 โดยทำลายสถิติเดิมฤดูร้อน (ก.พ.-พ.ค.) มีดังนี้

  • อ.เมืองเพชรบูรณ์ 44.1 องศาฯ สถิติเดิม 43.5 องศาฯ เมื่อ 15 เม.ย.2566
  • อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ 42.5 องศาฯ สถิติเดิม 42.1 องศาฯ เมื่อ 24 เม.ย.2550
  • นครพนม 42.2 องศาฯ สถิติเดิม 42.1 องศาฯ เมื่อ 20 เม.ย.2558
  • สกลนคร 42.6 องศาฯ สถิติเดิม 42.3 องศาฯ เมื่อ 6 พ.ค.2566
  • มุกดาหาร 43.2 องศาฯ สถิติเดิม 42.5 องศาฯ เมื่อ 14 เม.ย.2541/24 เม.ย.2550
  • อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 42.9 องศาฯ สถิติเดิม 42.3 องศาฯ เมื่อ 9 พ.ค.2553
  • ร้อยเอ็ด 43.1 องศาฯ สถิติเดิม 42.3 องศาฯ เมื่อ 11 เม.ย.2559
  • กกษ.ร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด 42 องศาฯ สถิติเดิม 41.2 องศาฯ เมื่อ 6 เม.ย. เม.ย.2556/15,17 เม.ย.2559
  • อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 43.6 องศาฯ สถิติเดิม 43.3 องศาฯ เมื่อ 20 เม.ย.2553
  • อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 40 องศาฯ สถิติเดิม 39.5 องศาฯ เมื่อ 14 เม.ย.2526
  • อ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น 43.2 องศาฯ สถิติเดิม 42.7 องศาฯ เมื่อ 11,18 เม.ย.2559
  • อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 43.1 องศาฯ สถิติเดิม 41.9 องศาฯ เมื่อ 17 เม.ย.2559
  • อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา 43.1 องศาฯ สถิติเดิม 42.5 องศาฯ เมื่อ 11 เม.ย.2559 
  • อ.เมืองกาญจนบุรี 44 องศาฯ สถิติเดิม 43.5 องศาฯ เมื่อ 11 เม.ย.2559 
  • อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 41.4 องศาฯ สถิติเดิม 41.2 องศาฯ เมื่อ 20 เม.ย.2559 
  • กทม 40.3 องศาฯ สถิติเดิม 40 องศาฯ เมื่อ 7 พ.ค.2566 
  • อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี 40.4 องศาฯ สถิติเดิม 40 องศาฯ เมื่อ 7 พ.ค.2566 เมื่อ 13,15 เม.ย.2541
  • อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี 40.4 องศาฯ สถิติเดิม 40 องศาฯ เมื่อ 7 พ.ค.2566 เมื่อ 13,15 เม.ย.2541
  • อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 41.1. องศาฯ สถิติเดิม 41 องศาฯ เมื่อ 15 เม.ย.2541 และ 16 เม.ย.2559
  • ภูเก็ต 39.4 องศาฯ สถิติเดิม 39.2 องศาฯ เมื่อ 20 เม.ย.2562
  • กระบี่ 39.9 องศาฯ สถิติเดิม 39.6 องศาฯ เมื่อ 31 มี.ค.2566

อ่านข่าวอื่น เปิดขั้นตอนขนย้าย "แคดเมียม" กลับตาก 29 เม.ย.

ชี้ปีนี้ร้อนส่งสัญญาณ-ปีหน้าเผาจริง

นายสมควร ต้นจาน ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ตัวเลขอุณหภูมิของเดือน เม.ย.นี้ จนถึงปลาย เม.ย.นี้ อากาศร้อนอบอ้าวอย่างเห็นได้ชัด คนส่วนใหญ่สัมผัสกับอากาศที่ร้อนจัดอบอ้าวยังไม่แผ่ว หลายจังหวัดรวมทั้ง กทม.แตะ 40 องศาฯ บางจังหวัด เช่น ลำปาง แตะ 44.2 องศาฯ  รวมทั้งบางจังหวัดของภาคใต้พีคมาก 40 องศาฯ ผิดปกติจะร้อนอย่างมากไม่เกิน 39 องศาฯ 

เมื่อถามว่าเราเจอคลื่นความร้อนหรือไม่ นายสมควร กล่าวว่า ขณะนี้ยังยืนยันว่าความร้อนที่ไทยเผชิญตอนนี้ ยังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือหย่อมความร้อนปกคลุมในช่วงฤดูร้อน ซึ่งหากนำเกณฑ์คลื่นความร้อนต้องมีอุณหภูมิพุ่งพรวด 5-8 องศาฯ ภายใน 24 ชม.แต่ตอนนี้ยังอยู่ที่ 5 องศาฯ แต่การที่คนสัมผัสได้เพราะกาศร้อนตั้งแต่เช้ายันค่ำ 

อ่านข่าว : สำนักจุฬาราชมนตรีชวนพี่น้องมุสลิม "ละหมาดขอฝน"

ประกาศเข้าหน้าฝนช้า 2 สัปดาห์-เตือนอากาศแปรปรวน

ส่วนที่ว่าจะมีโอกาสทุบสถิติร้อนสุดของไทยที่เคยบันทึกไว้ที่ 44.6 องศาฯ เมื่อ 28 เม.ย.2559 ที่ จ.แม่ฮ่องสอน และ อ.เมืองตาก เมื่อ 15 เม.ย.2566 หรือไม่ ต้องจับตาอุณหภูมิ 3 วันนับจากนี้ คือ 29-30 เม.ย. และวันที่ 1 พ.ค.นี้ ถ้ายังแตะ 44.2 ก็อาจยังไม่ทุบสถิติ 

ปีนี้เป็นแค่สัญญาณที่อุณหภูมิเฉลี่ยของไทยสูงขึ้น 1.-1.5 องศาฯ ปีต่อไปยังเจออุณภูมิที่ร้อน ร้อนจัดมากๆ แบบนี้ อากาศที่ร้อนต้องปรับตัวทั้งชีวิตประจำวัน แม้แต่ตัวเองเป็นปีแรกๆ ที่อยู่บ้านไม่ได้ จนปวดหัว และคนที่มีโรคประจำตัวต้องระวัง

ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กล่าวอีกว่า ส่วนฤดูฝนปีนี้ เนื่องจากปีนี้ร้อนจัด ร้อนลากยาว คาดว่ากรมอุตุนิยมวิทยา อาจจะประกาศเข้าสู่ช่วงฤดูฝนล่าช้าไปเป็นปลายสัปดาห์ที่ 3 ของพ.ค.และฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 1% ดังนั้นกว่าจะมีฝนหนักมาเติมน้ำในเขื่อนใหญ่ก็น่าจะเป็นช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ ขณะที่อากาศที่แปรปรวนร้อนจัด และยังมีลานีญากำลังอ่อน คาดว่าทำให้สภาพอากาศบ้านเราเสี่ยงมีความแปรปรวนสูงมาก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง