ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

น้ำมันขยับสูง ทำเงินเฟ้อไทยเพิ่ม 0.19% สินค้าเกษตรจ่อปรับราคา

เศรษฐกิจ
3 พ.ค. 67
15:05
727
Logo Thai PBS
น้ำมันขยับสูง ทำเงินเฟ้อไทยเพิ่ม 0.19% สินค้าเกษตรจ่อปรับราคา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
น้ำมันขยับสูง ส่งผลสินค้าเกษตร ผักสด ผลไม้สด ขึ้นราคา เหตุอากาศร้อนทำผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ดันเงินเฟ้อเดือน เม.ย. พลิกกลับบวก 0.19% ในรอบ 7 เดือน

วันนี้ (3 พ.ค.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนเม.ย. 2567 เท่ากับ 108.16 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.19 % เป็นการกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

สาเหตุมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้น ตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก สินค้าเกษตรหลายรายการโดยเฉพาะผักสด และผลไม้สด ออกสู่ตลาดลดลงและราคาสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ

ผอ.สนค.กล่าวเพิ่มเติมว่า เงินเฟ้อสูงขึ้นมาจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 0.28% ใน กลุ่มอาหารสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักชี ผักคะน้า ผักกาดขาว ต้นหอม ผลไม้สด ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว

เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ทำการเกษตร ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง อาหารบริโภคในบ้าน กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว อาหารว่าง ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร ปลาทู น้ำมันพืช และกระเทียม เป็นต้น

ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.12% จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สโซฮอล์ 95 91 และ E20 น้ำมันเบนซิน 95 0kdสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ค่าของใช้ส่วนบุคคล แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน กระดาษชำระ

เนื่องจากสิ้นสุดโปรโมชัน ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันดีเซล ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี เป็นต้น

เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้น0.37% ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนหน้าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเม.ย. 2567 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2567 สูงขึ้น 0.85% ตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.19% ปรับสูงขึ้นตามราคาผักสด

ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 4 เดือน (ม.ค. – เม.ย.) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ลดลง0.55% (AoA)แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพ.ค. 2567 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น สาเหตุจาก ฐานราคาค่ากระแสไฟฟ้าเดือนพ.ค. 2566 อยู่ในระดับต่ำ ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้น ทั้งไข่ไก่ เนื้อสุกร ผัก และผลไม้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับมีการปรับลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น และ ผู้ประกอบการมีแรงกดดันจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง ทั้งอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ยังมีปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการบางชนิดยังคงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ เศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำ และ การแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ รวมทั้งการเติบโตของการค้าอีคอมเมิร์ซ ทำให้มีการแข่งขันและใช้นโยบายส่งเสริมการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะการปรับลดราคาอย่างต่อเนื่อง

กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่าง 0.0 – 1.0% ( ค่ากลาง 0.5% ) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนเม.ย. 2567 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.9 จากระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 (ตั้งแต่เดือนธ.ค. 2565) เป็นการปรับลดลง ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต

เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แม้ว่าจะได้รับปัจจัยหนุนมาจากเทศกาลสงกรานต์ และ ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาเนื่องจากใกล้เปิดภาคเรียน

ผอ.สนค.กล่าวอีกว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนมีนาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลง 0.47% ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 5 จาก 137 เขตเศรษฐกิจ ที่ประกาศตัวเลข และอยู่ในระดับต่ำอันดับ 2 ในอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน)

 อ่านข่าวอื่นๆ:

ราคาทองเช้านี้ ยังร่วงแรง 150 บาท ตลาดชี้ั "พักฐานช่วงขาลง"

จ่อเปิด 2 โกดัง "จำนำข้าว" ภูมิธรรม ดันขายข้าวเก่า 10 ปี ยังกินได้

คนทำงานบ้านเฮ! ได้สิทธิลาคลอด 98 วัน มีผลบังคับใช้แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง