#Auckland ติดคำค้นในแอปพลิเคชัน X โดยชาวโซเชียลต่างพากันอวดภาพแสงเหนือหรือออโรรา (Aurora) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์การเกิดแนวแสงสว่างสีต่าง ๆ บนท้องฟ้ายามค่ำคืน
เพจเฟซบุ๊ก World Forum ข่าวสารต่างประเทศ ระบุว่า แสงเหนือผู้คนในสหราชอาณาจักร และยุโรป มองเห็นแสงเหนือ ที่พบเห็นได้ยาก เนื่องจากเกิดพายุสนามแม่เหล็กขนาด G4 ในรอบ 20 ปีแสงชัดขึ้น มีมากขึ้น กว้างขึ้น พื้นที่สหราชอาณาจักร ยุโรป สหรัฐ ตอนใต้สหรัฐฯ กำลังแชร์ภาพแสงเหนือ พร้อมทั้งหากท่านมีภาพ หรืออยู่ในเหตุการณ์ (ภาพจาก : ANIKET)
อ่านข่าว เตือน"พายุสุริยะ" ระดับ G5 รุนแรงสุดรอบ 20 ปีไม่กระทบไทย
ขณะที่ผู้ใช้ X ได้โพสต์ภาพแสงเหนือที่มีสีชมพูอมแดง ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์หายาก เช่น ในประเทศนิวซีแลนด์ แคนาดา สกอตแลนด์ ออสเตรเลีย
Bethells Beach, Auckland! pic.twitter.com/S2L3343OxT
— NIWA Weather (@NiwaWeather) May 11, 2024
สำนักข่าว AFP รายงานว่า ช่างภาพต่างเฝ้ารอแสงใต้ เรืองแสงบนขอบฟ้าเหนือผืนน้ำของทะเลสาบเอลส์เมียร์ ชานเมืองไครสต์เชิร์ช หลังพายุสุริยะที่มีกำลังแรงที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษโจมตีโลก ทำให้เกิดการแสดงแสงสีบนท้องฟ้าอันตระการตาตั้งแต่แทสเมเนียไปจนถึงอังกฤษ และคุกคามการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นกับดาวเทียม และโครงข่ายไฟฟ้าในขณะที่ยังคงมีอยู่จนถึงสุดสัปดาห์
รู้จักแสงเหนือ-แสงใต้
ข้อมูลจากเว็บไซต์ คลังความรู้ scimath อธิบายแสงเหนือ แสงใต้ว่า แสงเหนือ-แสงใต้ (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ที่ปรากฏเป็นแนวแสงสว่างสีต่างๆ บนท้องฟ้ายามค่ำคืน รูปร่างคล้ายกับม่าน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างรวดเร็ว แสงเหนือ-แสงใต้ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ละติจูดสูง เช่น บริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ที่เรียกว่า แสงเหนือ (Aurora borealis) และบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ ที่เรียกว่า แสงใต้ (Aurora australis) และอยู่ในระดับความสูงตั้งแต่ 80-1,000 กิโลเมตร เหนือพื้นดิน
แสงเหนือ-แสงใต้ เกิดจากอนุภาคในอวกาศที่มีประจุผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลก แล้วทำให้ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ เกิดการแตกตัวและปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสง ซึ่งจะให้แสงสีที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่เกิดการแตกตัว โดยที่ออกซิเจนจะให้แสงสีเขียวหรือสีแดง ไนโตรเจนให้สีน้ำเงินหรือสีแดง ฮีเลียมให้สีฟ้าและสีชมพู ดังนั้นแสงสีต่างๆ ที่มองเห็นได้ จึงเกิดจากสีเหล่านี้หรือเกิดการผสมจนเป็นสีที่แปลกไป
การปรากฏของแสงเหนือ-แสงใต้ นี้ มีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์หรือกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ เช่น การปะทุที่ผิวดวงอาทิตย์ วัฏจักรของดวงอาทิตย์ การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กเนื่องจากลมสุริยะ (Solar wind) การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งจะมีโอกาสเกิดแสงเหนือ-แสงใต้ เพิ่มขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์มีกิจกรรมมากขึ้น