เช็ดเท้าให้แห้ง! ระวัง "น้ำกัดเท้า" โรคจากการแช่น้ำเวลานาน

ไลฟ์สไตล์
13 พ.ค. 67
19:26
295
Logo Thai PBS
เช็ดเท้าให้แห้ง! ระวัง "น้ำกัดเท้า" โรคจากการแช่น้ำเวลานาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"น้ำกัดเท้า" เป็นภาวะที่ผิวหนังเท้าเปื่อยลอก แดง แสบและคัน เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำบ่อยๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าเกิดแผลได้ง่าย และอาจติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียได้

ฝนที่ตกกระหน่ำทั่วประเทศช่วงนี้ อีก 1 ปัญหาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือการเดินลุยน้ำที่รอการระบาย ซึ่งอาจนำมาด้วย "โรคน้ำกัดเท้า" ซึ่งถือเป็นโรคที่ประชาชนไม่ควรละเลย และควรมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ ที่จะตามมาได้ ข้อมูลจาก รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า น้ำกัดเท้า หมายถึงภาวะที่ผิวหนังบริเวณเท้าเปื่อยลอก มักเกิดจากการแช่ในน้ำเป็นเวลานาน

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อาการของโรคน้ำกัดเท้าแยก

  • ระยะที่ 1 ช่วง 1- 3 วันแรก ผิวหนังเปื่อยเมื่อแช่น้ำ ผิวหนังแดงคัน แสบ ผิวหนังระคายเคือง และลอกบาง ๆ
  • ระยะที่ 2 ช่วง 3 – 10 วัน อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา ผิวหนังจะเปื่อยมีรอยฉีกขาด มีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ มีหนอง หรือน้ำเหลืองซึม เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่มากกว่าเชื้อรา
  • ระยะที่ 3 ช่วง 10 – 20 วัน ถ้าแช่น้ำต่อเนื่อง ผิวหนังแดง คันมีขุยขาว เปียก เหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาว เป็นขุยหรือลอกบางเป็นสีแดง ผื่นเปียกเหม็น เป็นการติดเชื้อรา
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

การป้องกันตัวเองจากโรคน้ำกัดเท้า

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำบ่อยๆ หากจำเป็นต้องแช่น้ำเป็นเวลานานหรือเดินย่ำน้ำ ควรสวมรองเท้าที่กันน้ำได้
  • รีบเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังเท้าเปียก โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า และหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่อากาศระบายยาก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • รักษาความสะอาดของเท้าอยู่เสมอ โดยการล้างเท้าและฟอกสบู่ และทาครีมให้ความชุ่มชื้นทุกครั้ง ควรตัดเล็บให้สั้น
  • ในกรณีที่มีเหงื่อออกมากบริเวณฝ่าเท้า อาจใช้แป้งโรยเล็กน้อยหรือยาทาลดเหงื่อ เพื่อให้ช่วยดูดซับเหงื่อส่วนเกิน
  • หากเกิดบาดแผล ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสของแผลกับน้ำขังและรีบรักษาให้หายโดยเร็ว
  • ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติของผิวหนังบริเวณเท้า
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

  • ถ้ามีผื่นแดงเล็กน้อย คัน ควรทายากลุ่มสเตียรอยด์
  • ถ้ามีผื่น และมีรอยเปื่อยฉีกขาดของผิว มีอาการบวมแดง ปวดเจ็บ หรือมีหนองเป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์
  • ถ้าเท้าแช่น้ำนานหลายสัปดาห์ต่อเนื่องหรือนิ้วเท้าเกย หรือชิดกันมากทำให้อาจติดเชื้อราที่ง่ามนิ้วเท้าเกิดเป็นผื่นขุยเปียกขาว ควรใช้ยาทารักษาเชื้อรา
  • ถ้ามีบาดแผลควรทำแผลและทายาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน
  • ระวังการตัดเล็บเท้าเพราะอาจเกิดบาดแผลเป็นทางเข้าของเชื้อโรค
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

นอกจากนั้น พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้าอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม ระวังน้ำปนเปื้อนสารเคมี ระวังไฟฟ้าดูด รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด ระวังแมลงกัด และระวังโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก

อ่านข่าวเพิ่ม :

สภาพอากาศวันนี้ อีสาน-ตะวันออกฝนตกหนัก กทม.เจอฝน 40%

อ่วม! ฝนถล่มกทม.น้ำท่วม ต้นไม้หักคาถนนวิทยุทับรถยนต์ 2 คัน

ที่มา : รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, สสส. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง