ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดให้ผู้เสียหาย "คอลเซนเตอร์" ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิรับเงินคืน

อาชญากรรม
5 ก.ค. 67
13:02
23,400
Logo Thai PBS
เปิดให้ผู้เสียหาย "คอลเซนเตอร์" ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิรับเงินคืน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
​“คารม” เผย ปปง.เปิดให้ผู้เสียหายแก๊งคอลเซนเตอร์ ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเพื่อรับเงินคืนผ่าน 3 ช่องทาง หลังยึดเงินสด-ทรัพย์สินรวม 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเฉลี่ยชดใช้คืนให้ผู้เสียหายหลังคําพิพากษาถึงที่สุด

วันนี้ (5 ก.ค.2567) นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มิจฉาชีพแก๊งคอลเซนเตอร์ หลอกลวงประชาชนโอนเงิน มูลค่าเสียหายนับแสนล้านบาทนั้น ล่าสุดจากข้อมูลพบว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ยึดทรัพย์เป็นของกลางแล้ว ดังนี้

เงินสดรวมประมาณ 6,000,000,000 บาท อสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 4,000,000,000 บาท รวมกันแล้ว 10,000,000,000 บาท สำหรับทรัพย์สินที่ยึดจากแก๊งคอลเซนเตอร์ ต้องเฉลี่ยทรัพย์คืนให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย หลังจาก ปปง.ยึดทรัพย์มาแล้ว โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ภายใน 90 วัน เพื่อให้ประชาชนมายื่นคําร้องขอรับการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งผู้เสียหายจะได้รับเงินชดใช้คืนเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดใช้คืนแทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

สำหรับผู้เสียหายสามารถยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิ ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ ยื่นด้วยตนเอง ณ สํานักงาน ปปง. ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนส่งถึงสำนักงานป้องกันและปราบการฟอกเงิน เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โดยวงเล็บ 2 มุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคําร้องขอ คุ้มครองสิทธิรายคดี....” และยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง https://khumkrongsit.amlo.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-219-3600 หรือโทร 1710

นายคารม เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1-30 มิ.ย.2567 ผลการแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://www.thaipoliceonline.com รวม 35,379 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวม 3,437,689,020 บาท เฉลี่ย 114,589,643 บาทต่อวัน ผลการอายัดบัญชี จำนวน 10,713 บัญชี ยอดขออายัด 1,404,539,300 บาท ยอดอายัดได้ 719,057,785 บาท

สำหรับประเภทคดีออนไลน์ที่มีการแจ้งความมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ) มูลค่าความเสียหาย 160,929,368 บาท, หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ มูลค่าความเสียหาย 583,012,851 บาท, หลอกให้กู้เงิน มูลค่าความเสียหาย 145,768,931 บาท, หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ มูลค่าความเสียหาย 1,427,157,157 บาท และหลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลหรือวัตถุประสงค์อื่น มูลค่าความเสียหาย 235,952,533 บาท

อ่านข่าว : ทบ.ช่วย 12 ชาวโมร็อกโก ถูกหลอกทำงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 

จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีนตั้งฐานในเชียงใหม่ หลอกคนจีนลงทุน 

ทบ.ช่วย 12 ชาวโมร็อกโก ถูกหลอกทำงานแก๊งคอลเซนเตอร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง