ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ธ.ก.ส. เตือนภัย มิจฉาชีพอ้างเป็นเจ้าหน้าลวงติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน

เศรษฐกิจ
22 ส.ค. 67
15:19
360
Logo Thai PBS
ธ.ก.ส. เตือนภัย มิจฉาชีพอ้างเป็นเจ้าหน้าลวงติดตั้งแอปฯ ดูดเงิน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ธ.ก.ส. เตือนภัยลูกค้าและประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าหลอกลวงติดตั้งโปรแกรมในเครื่องโทรศัพท์ หรือ แอป ดูดเงิน 3 เดือน (มิ.ย.-ส.ค.) กว่า 70 ครั้ง

วันนี้ (22 ส.ค.2567) นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการและโฆษกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันรูปแบบการหลอกลวงของมิจฉาชีพมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าของธนาคารจำนวนมาก

โดยช่วงเดือนมิ.ย. – 15 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักจัดการและป้องกันการกระทำทุจริต ได้มีการรายงานพบผู้เสียหายจากรูปแบบการหลอกลวงในลักษณะติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในโทรศัพท์ หรือ แอปพลิเคชันดูดเงินมีจำนวน 76 ครั้ง

ลักษณะการหลอกลวงของมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า แจ้งว่าได้รับเงินค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืน เมื่อลูกค้าหลงเชื่อ จะมีการส่งข้อความให้เพิ่มเพื่อนผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน Line

จากนั้น มิจฉาชีพให้ติดตั้งและตั้งรหัสผ่านในการเข้า โปรแกรม PEA Smart Plus ปลอม เหมือนรหัสในการเข้า BAAC Mobile เมื่อกรอกข้อมูลและกดยืนยันเรียบร้อยแล้ว หน้าจอโทรศัพท์จะขึ้นแสดงเปอร์เซ็นต์การดาวน์โหลดระหว่างนั้นโทรศัพท์จะไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ เมื่อดาวน์โหลดเสร็จสิ้นพบว่ามีเงินออกจากบัญชีไปแล้ว

โฆษก ธ.ก.ส. กล่าวอีกว่า สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ คือ จะให้ลูกค้าเพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชัน Line ชื่อ PEA ซึ่งไม่ใช่ Line Official ของการไฟฟ้ามีการติดตั้งแอปพลิเคชัน PEA Smart Plus ปลอม ผ่าน Google play store ธ.ก.ส. จึงเตือนภัยลูกค้า และประชาชนอย่างหลงเชื่อมิจฉาชีพในลักษณะแอบอ้างดังกล่าวเด็ดขาด

อ่านข่าว:

“ทองคำ” ไม่เปลี่ยนแปลง “ทองรูปพรรณ” ขายออก 39,870 บาท

เปรียบเทียบนโยบาย "แจกเงิน" ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

กนง.ประกาศคงดอกเบี้ย ค่าเงินบาทขยับ 34.30 บาท /ดอลลาร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง