- "บิว ภูริพล" คว้าเหรียญเงิน วิ่ง 100 ม.ศึกกรีฑาเยาวชนโลก
- "วิทยุทรานซิสเตอร์" เครื่องมือเตือนภัยในตำนาน ยามวิกฤต
วันนี้ (28 ส.ค.2567) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แถลงการคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.2566 จำนวน 12 คน
สาขาทัศนศิลป์
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณกัญญา เจริญศุภกุล (สื่อผสม)
- นางวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล (สถาปัตยกรรมภายใน)
- ร้อยตรี ทวี บูรณเขตต์ (ประณีตศิลป์-ช่างปั้น หล่อ)
- นายสุดสาคร ชายเสม (ประณีตศิลป์-เครื่องประกอบฉาก)
สาขาวรรณศิลป์
- นายประสาทพร ภูสุศิลป์ธร
- นายวศิน อินทสระ
สาขาศิลปะการแสดง
- นายสมบัติ แก้วสุจริต (นาฏศิลป์ไทย - โขน ละคร)
- นายไชยยะ ทางมีศรี (ดนตรีไทย)
- นายพิเชษฐ์ เอี่ยมชาวนา (การแสดงพื้นบ้าน - เพลงฉ่อย)
- จ่าโทหญิง ปรียนันท์ สุนทรจามร (นักร้องเพลงไทยสากล - ลูกทุ่ง)
- นายสุธีศักดิ์ ภักดีเทวา (นาฏศิลป์สากล)
- รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ (ภาพยนตร์)
น.ส.สุดาวรรณ กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับสวัสดิการประกอบด้วย ค่าตอบแทนรายเดือน ๆ ละ 25,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ ค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่น ให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน
หากเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปีงบประมาณ เงินช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง คนละไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง และในกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพคนละ 20,000 บาท เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นต้น
ทั้งนี้ มีศิลปินแห่งชาติได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ตั้งแต่ 2528-2565 แล้วจำนวน 355 คน และในปี พ.ศ.2566 จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 367 คน ซึ่งมีศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตไปแล้ว 183 คน และยังมีชีวิตอยู่รวม 184 คน