วันนี้ (1 ก.ย.2567) "ซูเปอร์โพล" เผยแพร่ผลสำรวจเรื่อง "ความนิยมต่อประชาธิปัตย์" โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29-31 ส.ค.2567
วิเคราะห์ความนิยมของประชาชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ หลังเข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย พบว่า คะแนนนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ในขณะที่คะแนนนิยมส่วนใหญ่ต่อพรรคลดลงถึงร้อยละ 60.1 ในกลุ่มคนเคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์
และเมื่อวิเคราะห์ความนิยมของประชาชนที่เคยเลือกพรรคเพื่อไทย หลังมีข่าวพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล พบว่า คะแนนนิยมต่อพรรคเพื่อไทยกลับเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 80.4 ในขณะที่คะแนนนิยมต่อพรรคเพื่อไทยลดลงอยู่ร้อยละ 19.6 ในกลุ่มคนเคยเลือกพรรคเพื่อไทย
อ่านข่าว : ปชป.มติ 34:4 ร่วมรัฐบาลเพื่อไทย ส่ง "เฉลิมชัย-เดชอิศม์" นั่ง รมต.
หากจำแนกตามกลุ่มอาชีพของคนเคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนนิยมในกลุ่มพนักงานเอกชนที่เคยเลือกพรรคมากที่สุด คือร้อยละ 81.1 รองลงมาคือกลุ่มเกษียณอายุ ร้อยละ 66.7 กลุ่มค้าขายอาชีพอิสระ ร้อยละ 65.3 กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 62.3 และกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 54.7 ของกลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่พรรคเพื่อไทยพบว่ามีคะแนนนิยมของประชาชนคนเคยเลือกพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มเกษียณอายุร้อยละ 81.8 รองลงมาคือ กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 80.6 กลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 79.2 กลุ่มค้าขาย อาชีพอิสระ ร้อยละ 73.8 และกลุ่มพนักงานเอกชน ร้อยละ 66.9 ของกลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคเพื่อไทย
ส่วนความรู้สึกของประชาชน เมื่อพรรคก้าวไกลถูกยุบ พบว่า จำนวนมากสุดหรือร้อยละ 44.1 รู้สึกเฉย ๆ ในขณะที่ร้อยละ 29.7 เสียใจ แต่สัดส่วนใกล้เคียงกันคือร้อยละ 26.2 รู้สึกดีใจ
อ่านข่าว
นิด้าโพล ส่องความเห็น “ทักษิณคิด นายกฯ อุ๊งอิ๊งทำดีไหม"