น้ำท่วมซ้ำซาก ถนนพัง ปัญหารอแก้ “เมืองชาละวัน”

ภูมิภาค
8 ก.ย. 67
17:00
126
Logo Thai PBS
น้ำท่วมซ้ำซาก  ถนนพัง ปัญหารอแก้ “เมืองชาละวัน”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร “เมืองชาละวัน” ที่คาดว่าจะเริ่มต้นปี 2568 ชาวจังหวัดพิจิตร หลายคนบอกว่าพวกเขาความคาดหวัง ไว้กับตัวนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรคนใหม่ ไว้หลากหลาย

อย่างนายดำรง สุขประเสริฐ ชาวบ้านตำบลโรงช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ต้องการให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร ชุดใหม่ เข้ามาพัฒนาในเรื่องของถนนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลโรงช้าง ขณะนี้หลายเส้นทาง ที่ชาวบ้านใช้สำหรับขนพืชผลทางการเกษตร เสียหาย ไม่ได้รับการพัฒนาที่ดีพอ มีปัญหาเวลาขนพืชผลออกมาขาย เดินทางด้วยความยากลำบาก รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย เพราะทุกวันนี้ของแพง แต่รายได้คงเดิม

เช่นเดียวกับเยาวชนคนรุ่นใหม่เช่นเดียวกับนายปัญญาพร ปานทิม ชาวบ้านตำบลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร บอกว่าต้องการให้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร เข้าไปดูในเรื่องถนนหนทาง ที่เสียหายเเพราะถนนถูกน้ำเซาะพังในช่วงฤดูฝน ยังไม่ได้รับการแก้ไขซ่อมแซม เป็นปัญหาในการเดินทาง สิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียวมีน้อย รวมถึงการสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้นกว่านี้ น่าจะมีการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชน เพราะขณะนี้สินค้าข้าวของมีราคาแพง ทุกคนเดือดร้อนไม่มีที่พึ่ง

ขณะเดียวกันยังอยากให้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมซ้ำซาก ในจังหวัดพิจิตร เพราะส่งผลกระทบกับชาวบ้านทุกปี ควรมีโครงการ หรือระบบ ในการบริหารจัดการน้ำ ให้ดีกว่าในปัจจุบัน

สำหรับแผนในการพัฒนาจังหวัดพิจิตร ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร วางไว้ มีประเด็นปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ ในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดพิจิตร ปี 2566 - 2570 ซึ่งได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาและความต้องการ มีข้อมูลสําคัญที่จะใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาที่นําไปสู่ทิศทางในการพัฒนา ในรูปแบบของ ONE PLAN 7 ด้านคือ

1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-ปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ทางบก
-ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค
-ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
-ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่าง

2.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งซ้ำซาก
-ปริมาณขยะและน้ำเน่าเสีย
-ปัญหาการใช้ สารเคมีในการทําเกษตร
-ปัญหาไฟป่าและการเผาหญ้าในที่โล่ง

3.ด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
-ราคาสินค้าเกษตร
-ปัญหากลุ่มอาชีพแปรรูปผลผลิตและแหล่งจําหน่ายสินค้าทางการเกษตร

4.ด้านสังคม
-ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคม
-ปัญหายาเสพติด
-ปัญหาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

5.ปัญหาด้านการท่องเที่ยว
6.ปัญหาด้านการศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม
7.ปัญหาด้านสาธารณสุข

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง