สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." แต่อาจจะยังคงต้องติดตามผลว่า การเลือกตั้งในบางจังหวัด นั้นเป็นไปอย่าง "โปร่งใส-ยุติธรรม" หรือไม่ สืบเนื่องจากคำร้องที่ถึงมือ กกต.มากกว่า 150 เรื่อง และยังคงต้องเกาะติดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "เทศบาล" นี้ด้วย
สนามเลือกตั้ง อบจ.ในหลายจังหวัดภาคใต้ มีการแข่งขันที่เข้มข้น ผู้สมัครเร่งลงพื้นที่นำเสนอนโยบาย เพื่อขอคะแนนเสียงจากประชาชน ที่น่าสนใจอย่าง อบจ.สงขลา ที่ถูกจับตามอง ว่าอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยชี้วัดผลการเลือกตั้งระดับชาติ แม้ผู้สมัครจะไม่ได้ลงสมัครในนามพรรคการเมือง แต่ก็เชื่อว่า ทุกคนมีพรรคการเมืองหนุนหลัง นักวิชาการประเมินว่า ประชาชนส่วนหนึ่งตัดสินใจเลือก และมีคนในใจอยู่แล้ว แม้บางส่วนจะรอดูนโยบายของผู้สมัคร แต่ละคนว่าจะตรงใจแค่ไหน ทั้งนี้ผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง มองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นบททดสอบสำคัญว่า ประชาชนชาวสตูลต้องการความต่อเนื่องในการบริหารงาน หรือ พร้อมที่จะเปิดโอกาสให้กับแนวคิดใหม่ในการพัฒนาจังหวัด
มุมมองการเมืองใหม่ ที่พร้อมสู้ กับกลุ่มการเมืองบ้านใหญ่ อย่างพรรคประชาชนและกลุ่มอิสระ ที่หวังชิงเก้าอี้ นายก อบจ. 47 จังหวัดและ สมาชิกสภา อบจ.76 จังหวัด จะมีโอกาสความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงการตั้งฉายา รัฐบาลปี 2567 มีความคิดเห็นอย่างไร ว่ารัฐบาล "พ่อ"เลี้ยง และฉายา นายกรัฐมนตรี ว่า แพทองโพย พูดคุยกับ รศ.ยุทธพร อิสรชัย
ผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี หลัง "กานต์ กัลป์ตินันท์" คว้าชัยชนะ นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล สะท้อนให้เห็นถึงฐานเสียงและพันธมิตรที่เหนียวแน่น ในการประชันกันระหว่างบ้านใหญ่การเมืองที่เกาะเกี่ยวกลายเป็นสมรภูมิสามเส้า ทำให้ต้องจับตาดูหลังจากนี้ที่ นายทักษิณ ชินวัตร จะประเดิมเวทีเป็นผู้ช่วยหาเสียงใน อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ และสนามการเมืองท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งในขณะที่การเมืองระดับชาติยังต้องจับมือเกาะเกี่ยวกันอยู่ ถือว่าไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรจริงๆ
แม้จะเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ศึกเลือกนายก-สมาชิก อบจ.ครั้งนี้ กลับคึกคัก หนึ่งสนามเลือกตั้งที่ถูกจับตา "เชียงใหม่" ที่ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน ต่างก็ไม่ยอมแพ้ "อดีตนายกฯทักษิณ" และ "อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง เตรียมลงพื้นที่ในเวลาไล่เรี่ยกัน ด้วยยุทธศาสตร์การชิงพื้นที่ของพรรคที่มีความหวัง โดยเฉพาะ 3 พรรค เพื่อไทย-ประชาชน หรือ แม้แต่ค่ายสีน้ำเงิน ภูมิใจไทย ที่ประกาศไม่ส่งลงในนามพรรค มีข้อสังเกตว่า การเลือกสมาชิก และนายก อบจ.ครั้งนี้ คึกคักมากกว่าครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ และโครงสร้างบริหารขณะเดียวกัน อบจ.ยังถือเป็นฐานสำคัญของการเมืองภาพใหญ่ และพรรคการเมืองใหญ่ เพื่อจะสะท้อนไปถึงการเลือกตั้งใหญ่ในครั้งหน้า
มุมมองศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ. ของบ้านใหญ่ค่ายสีแดง กับ ค่ายสีน้ำเงิน โดยเฉพาะการเปิดตัวล่าสุดของ สจ.จอย ที่จะลงสมัครชิง นายก อบจ.ปราจีนบุรี ในนามพรรคเพื่อไทย รวมถึงสนามเลือกตั้ง อบจ.จังหวัดอื่น ถึงแนวโน้มการต่อสู้การเมืองท้องถิ่นของบ้านใหญ่ค่ายต่าง ๆ อย่างไรบ้าง เราจะไปสอบถามเพิ่มเติมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล