ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พัฒนาทุกด้าน ไม่กระจุกในเมือง เสียงสะท้อนชาติพันธ์เมืองรถม้า

ภูมิภาค
13 ต.ค. 67
17:00
1,085
Logo Thai PBS
พัฒนาทุกด้าน ไม่กระจุกในเมือง  เสียงสะท้อนชาติพันธ์เมืองรถม้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ความคาดหวังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่อยากจะเห็น นายก อบจ.ลำปาง ที่จะมีการเลือกตั้งเร็วๆนี้

น.ส.พิมพิไล ดอกผู้ชาย ตัวแทนเยาวชนกะเหรี่ยง บ้านโป่งน้ำร้อน อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ซึ่งเป็นหมู่บ้านสุดท้ายทางชายขอบทางทิศตะวันตกฉียงใต้ของ จ.ลำปาง ที่มีพื้นที่ ติดกับ อ.แม่ทา และ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน

หมู่บ้านแห่งนี้ ยังคงใช้ชีวิตตามปกติวีถีถีทางธรรมชาติและชาติพันธุ์ มาอย่างต่อเนื่อง มีน้ำตก มีน้ำพุร้อน ที่สามารถลวกไข่ให้สุกได้ และมีแหล่งอาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อนจากธรรมชาติที่ทางชุมชน คนในหมู่บ้าน และทางส่วนราชการ องค์กรต่างๆร่วมใจกันพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่เป็นที่ดึงดูดมากที่ควร อีกทั้งมีโรงเรียนขนาดเล็ก ยังขาดแคลนบุคลากร ครู เข้ามาช่วยสอน

ดังนั้นการเลือกตั้ง นายก อบจ.ลำปาง ที่จะเกิดขึ้นเยาวชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ มองว่า นโยบายที่ชาวบ้านหมู่บ้านแห่งนี้ ต้องการคงหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องในทุกๆด้าน ที่สามารถมองเห็นจับต้องได้จริง ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ถนนหนทาง ที่สะดวกปลอดภัย การดูแลความเป็นอยู่และส่งเสริมทุกช่วยวัยอย่างเหมาะสม มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจภายในจังหวัด

นอกจากที่กล่าวมานี้แล้ว ในนามคนรุ่นใหม่ที่เป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในจังหวัดลำปาง อยากจะเห็นนโยบายที่กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดลำปางให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากลำปางเองยังมีกลุ่มพี่น้องชาติพันธ์จำนวนไม่น้อยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ท่ามกลางความหลากหลายนี้อยากให้การพัฒนาเข้าถึงทุกด้าน เข้าถึงทุกคน เข้าทุกพื้นที่ ไม่กระจุกอยู่เพียงแค่ในเขตตัวเมืองเท่านั้น

ดังนั้นการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสสำคัญอยู่ในมือพี่น้องชาวลำปางทุกคน ที่จะได้มีส่วนร่วมในการเลือกผู้นำที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาสังคมลำปางเราว่าจะไปในทิศทางใด ก็ขอเชิญชวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกท่าน ออกมาใช้สิทธิ์ตามหลักประชาธิปไตย ด้วยความหวังที่จะได้เห็นเมืองลำปางเราพัฒนาก้าวหน้าไปด้วยกัน

ในงบประมาณ ปี 2567 องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ได้รับการจัดสรรงบประมาณผ่านข้อบัญญัติงบประมาณฯ ทั้งหมด 770 ล้านบาท ตามยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

1.ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ให้มีหลักประกันความมั่นคงชีวิต หลักประกันทางสังคม การดูแลสุขภาพ และสร้างอาชีพและรายได้ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตหลังเกษียณ
2.ส่งเสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรม มีโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3.สนับสนุนการกระจายการลงทุนด้านสวัสดิการสังคมแก่ประชาชน ได้ทั่วถึง และเท่าเทียม
4.สนับสนุนการกระจายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนได้ทั่วถึงและเท่าเทียม
5.ส่งเสริมการสาธารณะสุขมูลฐาน ที่เน้นการดูแล ป้องกัน และ รักษา ให้กับประชาชน
6.พัฒนาและสนับสนุนการให้บริการการศึกษา กีฬา และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม
7. สนับสนุนการเสริมสร้างชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นด้วยการปลูกฝังศีลธรรมอันดีงาม
8 ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เน้นการตระหนักรู้ถึงหน้าที่ สิทธิ และจิตสำนึกของการเป็นพลเมืองที่ดี
9 ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ อย่างสมดุล

1 สร้างกลไก สภาพแวดล้อม และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนด้วยการผสมผสานของอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 การเพิ่มมูลค่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หัตถกรรมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมชุมชน และครัวเรือน บนพื้นฐานการออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design)
3 การเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตร เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ เน้นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เหมาะสม อาทิเช่น การเกษตรอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ และ เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารและยา
4 สร้างกลไกและส่งเสริมการพาณิชย์และการลงทุน เพื่อพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าสู่ ตลาดในเขตจังหวัด ตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่

1.พัฒนาการท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป้าหมายเฉพาะ (Niche Tourism) ในด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค การบริหารจัดการ และการให้บริการคุณภาพสูง
2.พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีใหม่ (Community based tourism) ที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่มีศักยภาพสูง ให้ได้มาตรฐานสากล
3.สร้างการตลาดที่เน้นการเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยว (Tourism Destination) และ แหล่งท่องเที่ยวแบบโลกเสมือนปลายทาง (Metaverse-Tourism)
4.พัฒนาคุณภาพระบบสนับสนุน และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ที่ผสมผสานความโดดเด่นของวัฒนธรรม ที่ดีของชาวลำปาง

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม

1.พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระดับพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงการสัญจร การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมือง ได้อย่างประสิทธิผล
2.อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการผลิตในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศ
3.ส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการด้านสาธารณูปโภค ของเมือง
4.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน (SDG: Sustainable Development Goals)
5. สร้างความตระหนักรู้ และ สนับสนุนการสร้าง ความพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนา อบจ.ลำปาง ให้เป็นองค์กรคุณภาพ

1. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรทุกระดับงานให้มีคุณภาพสูง
2. ปรับปรุงสถานที่ทํางานให้ปลอดภัย และ มีเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงานครบถ้วน
3. จัดระบบและวิธีการทํางานที่เหมาะสมและชัดเจน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน
4. พัฒนางานองค์กรสัมพันธ์ เพื่อกระชับความร่วมมือในการทำงานร่วมกันพัฒนา คุณภาพชีวิตและการให้บริการสาธารณประโยชน์แก่ประชาชน
5. การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง และ ภารกิจการถ่ายโอนงานสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ส่งเสริมการป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย และความสงบเรียบร้อย ให้กับประชาชนจังหวัดลำปางให้รวดเร็ว ทั่วถึง และ ทันเวลา

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

1.พัฒนาทักษะแก่ประชาชนทุกช่วงวัยและบุคลากรด้านการให้บริการการเข้าใช้งานแพลตฟอร์ม เทคโนยีดิจิทัล

2.ส่งเสริมระบบนิเวศ (Business Ecosystem) ด้านการออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industrial Design) ควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล
3.ส่งเสริมระบบนิเวศ และ แพลตฟอร์มการลงทุนแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Platform) สำหรับสินค้าชุมชน และ สินค้าของจังหวัดลำปาง สินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
4.ส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็คทรอนิกของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

รายงาน : ThaiPBS ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง