เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2567 สำนักงานสอบสวนคดีทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงออกคำสั่งห้าม ยุน ซอก-ยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เดินทางออกนอกประเทศเพื่อรอการสอบสวน เช่นเดียวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึกคนอื่น ๆ รวมถึงเสนาธิการทหารบกและผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทหารด้วย แม้ว่ายุนจะรอดพ้นจากการถูกถอนถอนโดยรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่การดำเนินคดีทางกฎหมายยังไม่จบสิ้น
ส่วนอีกหนึ่งคนที่ออกมาเคลื่อนไหวคือ ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยที่พยายามขัดขวางไม่ให้สมาชิกรัฐสภาเดินทางเข้าไปในอาคาร เพื่อลงมติยกเลิกกฎอัยการศึก ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เขาและทหารในสังกัดล้วนเป็นเหยื่อของคำสั่งจาก คิม ยง-ฮยอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหม และในขณะลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจ ทางหน่วยไม่ทราบว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการประกาศกฎอัยการศึก
อ่านข่าว : อัยการเกาหลีใต้ กล่าวหา ยุน ซอก-ยอล ผู้ต้องสงสัยคดี “กบฏ”
ผู้ประท้วงชุมนุมหน้ารัฐสภาในกรุงโซล เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2024 เรียกร้องให้ปลดประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ออกจากตำแหน่ง
วิกฤตการเมืองเกาหลีใต้ในครั้งนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย โดยพรรคฝ่ายค้านยืนยันว่าจะยื่นถอดถอนยุนต่อไปและกล่าวหายุนว่าทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผลจากความไม่แน่นอนดังกล่าวทำให้เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ปิดตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือน
ขณะที่ชาวเกาหลีใต้ยังรวมตัวกัน พร้อมแท่งไฟและป้ายข้อความต่างๆ ตะโกนเรียกร้องให้ถอดถอนยุนออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เกิดขึ้นในหลายจุดของกรุงโซล ทั้งบริเวณหน้าอาคารรัฐสภา รวมถึงหน้าที่ทำการพรรค People Power หรือ PPP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล โดยถือเป็นแรงกดดันจากภาคประชาชนที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังการประกาศกฎอัยการศึกผ่านมาแล้วเกือบ 1 สัปดาห์ ซึ่งผู้ชุมนุมบางคนกล่าวว่า การที่ยุนออกมากล่าวขอโทษยังไม่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้กระทำไป
อ่านข่าว
"ยุน ซอก-ยอล" รอดโหวตพ้นผู้นำเกาหลีใต้ เสียงไม่ถึง 2 ใน 3
พรรครัฐบาลให้คำมั่น "ปธน.เกาหลีใต้" จะลาออก-ไม่แทรกแซง