ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ย้อนเหตุ 20 ปี "สึนามิ" ถล่ม 6 จังหวัดอันดามัน

ภัยพิบัติ
23 ธ.ค. 67
09:30
1
Logo Thai PBS
ย้อนเหตุ 20 ปี "สึนามิ" ถล่ม 6 จังหวัดอันดามัน

ย้อนหลังไป 20 ปี ก่อนหน้านี้ เกิดเหตุ "สึนามิ" พัดถล่ม 6 จังหวัด อันดามัน ประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลก เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังค่ำคืนวันที่ 25 ธ.ค.2567 ในช่วงฉลองวันเทศกาลคริสมาสต์

ข้อมูล ที่จัดทำโดย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ในช่วงเช้าของวันที่ 26 ธ.ค.2567 เวลา 07:58:53 น. เวลาท้องถิ่นตามรายงานของกรมธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) มีขนาด 9.0 ริกเตอร์ (Moment Magnitude) ระดับความลึกจากพื้นท้องทะเล 28.6 กม. ศูนย์กลางในทะเลนอกชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียห่างจาก จ.ภูเก็ต ราว 580 กม.

พลังงานของแผ่นดินไหวดังกล่าว เทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา จำนวน 23,000 ลูก ก่อให้เกิดการสั่นไหวที่รุนแรงของแผ่นดิน และเกิดสึนามิตามมาในมหาสมุทรอินเดีย โดยเข้าซัดถล่มชายฝั่งประเทศต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบ ได้แก่

ประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ไทย โซมาเลีย มัลดีฟส์ เมียนมา แทนซาเนีย บังกลาเทศ และเคนยา รวมมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 คน และสูญหายอีกหลายหมื่นคน จุดที่เสียหายหนักอย่างมาก คือ เมืองบันดาอาเจะห์ ของประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 150,000 คน 

ความสัมพันธ์ระหว่างความลึก ความเร็ว และความยาวคลื่นของสึนามิ ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี

ความสัมพันธ์ระหว่างความลึก ความเร็ว และความยาวคลื่นของสึนามิ ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี

ความสัมพันธ์ระหว่างความลึก ความเร็ว และความยาวคลื่นของสึนามิ ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี

สำหรับประเทศไทยมี 6 จังหวัดในฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับผลกระทบ คือ จ.ระนอง, จ.พังงา, จ.กระบี่, จ.ภูเก็ต, จ.ตรัง และ จ.สตูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งคนไทย และต่างชาติมากกว่า 5,395 คน และสูญหายมากกว่า 2,000 คน บาดเจ็บราว 8,000 คน รวมถึงยังส่งผลให้อาคารที่พักอาศัย  โรงแรม รีสอร์ต เสียหายอย่างรุนแรง พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบมากกว่า 475,000 ไร่

นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าว ยังทำให้เกิดความสูญเสีย "คุณพุ่ม เจนเซ่น" พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ณ บ้านเขาหลัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สิริอายุ 21 ปี 

ย้อนนาที เหตุ "สึนามิ" ถล่ม 6 จังหวัด

เวลา 09.35 น. น้ำทะเลแห้งจากบริเวณชายหาดโดยถดถอยลงเป็นระยะทาง 100 ม.เป็นเวลา 5 นาที

เวลา 09.38 น. คลื่นสูงประมาณ 2-3 ม. เข้ากระทบชายฝั่ง

เวลา 09.43 น. คลื่นสูง 6-7 ม.เข้ากระทบชายฝั่ง

เวลา 10.03 น. คลื่นสูงเกินกว่า 10 ม.เข้ากระทบฝั่งเป็นเวลา 20 นาที

เวลา 10.20 น. คลื่นสูง 5 ม.เข้ากระทบชายฝั่ง จนทำให้เกิดน้ำท่วม ราว 1 ชม.

เวลา 12.00 น. น้ำทะเลกลับสู่ระดับปกติ

ความสัมพันธ์ระหว่างความลึก ความเร็ว และความยาวคลื่นของสึนามิ ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี

ความสัมพันธ์ระหว่างความลึก ความเร็ว และความยาวคลื่นของสึนามิ ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี

ความสัมพันธ์ระหว่างความลึก ความเร็ว และความยาวคลื่นของสึนามิ ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี

แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลหินเป็นแนวยาวประมาณ 1,200 กม. ขนานกับแนวร่องลึกซุนดา อันเป็นแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกอินเดียเข้าใต้แผ่นเปลือกโลกย่อยเมียนมา (เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย) ด้วยมุมเอียงจากแนวราบ 10 องศาในอัตราปีละ 6 ซม.

จากรายงานของ USGS พบว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มวลหินที่เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 x 400 ตร.กม. มีการยกตัวในแนวดิ่งเฉลี่ย 10 ม. ส่งผลให้มวลน้ำทะเลถูกยกขึ้นเป็นบริเวณกว้าง และกระจายออกเป็นคลื่นสึนามิ

ตัวอย่างขั้นตอนปฏิบัติการแจ้งเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning) ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ตัวอย่างขั้นตอนปฏิบัติการแจ้งเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning) ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ตัวอย่างขั้นตอนปฏิบัติการแจ้งเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning) ภาพ : กรมทรัพยากรธรณี

ต่อมานักธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัย Northwestern สหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์ขนาดแผ่นดินไหวของเหตุการณ์ครั้งนี้ใหม่พบว่ามีขนาด 9.3 ริกเตอร์ (Moment Magnitude) เนื่องจากพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาทำลายพื้นที่มากมายขนาดนี้ เกิดมาจากการเคลื่อนที่ของมวลหินครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 400 x 1,200 ตร.กม.

 

 

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อ่านข่าว : 20 ปีสึนามิ จุดเปลี่ยนรับมือ "ภัยพิบัติ" 

ไทยควรรู้ ? ถอดบทเรียนมาตรการเยียวยาภัยพิบัติสึนามิ ญี่ปุ่น 2554  

ปภ.เริ่มแล้ว ส่ง SMS แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า 24 ชม. 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง