ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ประมงพื้นบ้าน หวั่นไฟเขียว "ประมงพาณิชย์" ใช้อวนตาถี่ ทำลายสัตว์น้ำ

ภัยพิบัติ
25 ธ.ค. 67
13:45
153
Logo Thai PBS
ประมงพื้นบ้าน หวั่นไฟเขียว "ประมงพาณิชย์" ใช้อวนตาถี่ ทำลายสัตว์น้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ จ.พังงา ไม่เห็นด้วย หาก สภาฯ ไฟเขียว ประมงพาณิชย์ใช้อวนตาถี่จับปลาและทำประมงใลก้ชายฝั่ง หวั่นกระทบสัตว์น้ำขนาดเล็ก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ชายฝั่ง

จากกรณีที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ.…(ฉบับใหม่) ซึ่งได้บรรจุร่าง พ.ร.บ.เข้าระเบียบวาระการประชุมสภาวันนี้ โดยมีการตั้งข้อสังเกตจากภาคประชาสังคม ว่า สภาฯกำลังออกกฎหมายที่จะอนุญาตให้ใช้อวนตาเล็กจับปลาได้ในทะเลไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำขนาดเล็กและชายฝั่ง 

ล่าสุด วันนี้ (25 ธ.ค.2567) ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ถึงกรณี นายวิชาญ สมุทวารี วัยอายุ 35 ปี ชาวประมงพื้นบ้าน บริเวณบ้านบางสัก ต.บางม่วง ม.บ้านทับตะวัน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยระบุว่า หากมีการอนุญาตให้ใช้อวนประมขนาดเล็กในเชิงพาณิชย์ คิดว่าไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นการทำร้ายมากกว่า แต่ถ้าอนุญาตให้ประมงพื้นบ้านสามารทำได้ตนเองก็เห็นด้วย เพราะประมงพื้นบ้านจะทำประมงเฉพาะหน้าแล้งไม่ใช่หน้าฝน 

นายวิชาญ สมุทวารี วัยอายุ 35 ปี ชาวประมงพื้นบ้าน บริเวณบ้านบางสัก ต.บางม่วง ม.บ้านทับตะวัน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

นายวิชาญ สมุทวารี วัยอายุ 35 ปี ชาวประมงพื้นบ้าน บริเวณบ้านบางสัก ต.บางม่วง ม.บ้านทับตะวัน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

นายวิชาญ สมุทวารี วัยอายุ 35 ปี ชาวประมงพื้นบ้าน บริเวณบ้านบางสัก ต.บางม่วง ม.บ้านทับตะวัน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

ดังนั้น หากมีการทำประมงโดยใช้อวนตาถี่เท่ามุ้งและทำประมงบริเวณชายฝั่ง หากเป็นเรือพาณิชย์ ซึ่งมักจะเป็นเรือลำใหญ่ ถ้าเข้ามาก็ทำลายเยอะ เพราะในฝั่งมีทั้งปะการัง ทั้งหิน ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำ แต่หากทำด้านนอกก็จะมีผลกระทบน้อยกว่าแต่ก็ไม่เหมาะสมเพราะทำลายสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่กำลังเติบโต และทำให้ทรัพยาการทางทะเลในพื้นที่ลดลง และทำลายที่อยู่ของสัตว์น้ำ ซึ่งไม่สมควร ไม่ดีต่อชาวประมงและสิ่งแวดล้อม 

นายวิชาญ ยังกล่าวว่า อวนตาถี่มาก ๆ เหมือนจะเท่ากับมุ้ง ส่วนใหญ่จะใช้จับปลาขนาดเล็ก เช่น ลูกกุ้งเคย ส่วนใหญ่จะลากเอากุ้ง โดยใช้รุนซึ่งอยู่กับพื้นเดิน จะทำลายหน้าดิน เพราะรุนไปกับดิน ติดทุกอย่าง ถ้าได้ลงไปในน้ำ น่าจะไม่เหลือ อาหารปลา ตะกอน หน้าดินก็จะหายหมด หอยปลิง ก็จะหาที่อยู่ใหม่ ที่อุดมสมบูรณ์กว่า

ขณะที่อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช่ตาถี่มีไม่กี่ตัว คือ อวนรุนเคย ระวะ ไซบางตัว แต่จะไปทำประมงตาถี่ แต่หากไปทำประมงใหญ่ด้านนอกไม่รู้ว่าจะจับปลาอะไร แต่ส่วนใหญ่ใช้อวนตาห่าง แต่ถ้า 2 ซม.ถี่เกิน ปลาตัวเล็กไปหมด เพราะอวนตาถี่เรือประมงพาณิชย์จะไม่ใช้ แต่ถ้าประกาศก็อาจจะไม่แน่ อาจจับปลาชิงชังก็ได้ ถ้าเรือลำใหญ่ไปทำ แต่ถ้ายกเลิกแล้วให้เรือขนาดเล็ก ประมงพื้นบ้านทำประมง ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ก็น่าจะทำได้ 

ถ้าเรือพาณิชย์ใช้อวนตาถี่ อาจจะทำให้สัตว์บางชนิดก็จะหายไป ไม่มีปลาเหลือให้กิน ปลาราคาแพงขึ้น ก็มีความกังวล ต่อไปเด็ก ๆ อาจจะลำบาก เราต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เราทำลายเยอะแล้ว ต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติไว้ด้วย เหมือนที่กรมประมงปิดอ่าว 4 -6 เดือน ก็เป็นผลดี ในการรักษาระบบนิเวศ ให้ปลามีหลากหลายมากขึ้น ตัวไหนใกล้สูญพันธ์ก็มาเพาะเลี้ยงก็ช่วยได้เยอะ

นายวิชาญ กล่าวเพิ่มเติมว่า  หากจะทำจริงควรจำกัดเรือที่ทำ เช่น จำกัด 100 ลำทั้งประเทศ และกฎหมายควรรัดกุมมากวกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย จะช่วยให้เรือประมงพาณิชย์กับประมงพื้นบ้านจะได้ไม่ทะเลาะกัน ถ้อยทีถ้อยกัน เช่น พื้นที่ 300 ไมล์ทะเลเรือประมงพาณิชย์จะต้องไม่เข้ามา แต่ก็ยังพบว่า มีการลักลอบเข้ามา ก็อยากให้มีคนมาจัดการเรื่องนี้ให้เห็นชัด 

แต่ก่อนมีปลาโรนิน ปลาโรนัน ปลากระเบน ปลาฉลามเบน แต่ตอนนี้ไม่ค่อยเห็นแล้ว  

อ่านข่าว :  จับตา! ชาวประมงร้องหยุด ม.69 สภาจ่อเคาะกม.อวนตาเล็ก 

 เฮลั่น ประมงพื้นบ้าน 1.2 หมื่นลำ "กรมประมง" ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมาย  

สภาฯ ถกแก้ 24 ประเด็น พ.ร.บ.ประมงใหม่ "ปลอดประสพ" ยันยึดหลักสากล 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง