ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ขึ้นค่าแรง 400 (ไม่) ทั่วประเทศ สสรท.ชี้ไม่ตอบโจทย์ ไม่ตรงนโยบาย

เศรษฐกิจ
25 ธ.ค. 67
13:31
1,472
Logo Thai PBS
ขึ้นค่าแรง 400 (ไม่) ทั่วประเทศ สสรท.ชี้ไม่ตอบโจทย์ ไม่ตรงนโยบาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สสรท. ระบุขึ้นค่าแรง 400 บาท ไม่สอดคล้องภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่ได้ทำให้คุณภาพของคนใช้แรงงานดีขึ้น เรียกร้องเท่ากันทั่วประเทศ ขณะที่ "ธนิต" ชี้ขึ้นเท่ากันทั่วประเทศจะทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำ การลงทุนกระจุก

วันนี้ (25 ธ.ค.2567) จากกรณีเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่คณะรัฐมนตรีมีมติปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่ม วันละ 7-55 บาท เป็นอัตราวันละ 337 ถึง 400 บาท เดิมอัตราวันละ 330 ถึง 370 บาท โดยกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดนำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2568 เป็นต้นไป

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย สสรท.

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย สสรท.

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย สสรท.

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) กล่าวในรายการตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส ระบุว่าด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทนั้นช้าไป เนื่องจากค่าครองชีพที่ล้ำหน้าไปก่อนแล้ว ซึ่งเรื่องนี่รู้มานานแล้วจากนโยบายหาเสียงของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย โดยในปีแรก 400 บาท หลังจากเป็นรัฐบาล และจะขยับเป็น 600 บาทในปี 2570 ซึ่งขณะที่หาเสียงพรรคการเมืองรู้แล้วว่าสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างไร แต่จนถึงขณะนี้กว่าจะทำได้ใช้เวลาร่วมปี ในขณะที่ราคาสินค้ารับรู้ทั่วกันว่าได้ปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งการปรับค่าแรง 400 บาท ไม่ได้ตอบโจทย์อะไร และไม่ได้ทำให้คุณภาพของคนใช้แรงงานดีขึ้นกว่าเดิม

ก่อนหน้านี้ได้มีการเรียกร้องให้มีค่าจ้างเท่ากัน 400 บาททั่วประเทศ เนื่องจากราคาสินค้าเท่ากันทั้งในเขตเมืองและชนบท เมื่อค่าแรงต่างกันก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของรายได้ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลหาเสียงไว้จะปรับค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ แต่วันนี้ทำเพียงเฉพาะบางพื้นที่ เพื่อให้หลุดพ้นจากข้อครหา ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้
ซึ่งงานวิจัยทางวิชาการหลายชิ้นโดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานที่เกี่ยวพันกับบุคคลคนเดียวค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21,000 บาท และที่เลี้ยงครอบครัวได้ 2-3 คน อยู่ที่ 32,000 บาท ซึ่งค่าเฉลี่ยวันละ ประมาณ 700 บาท ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

นายสาวิทย์ ยังระบุว่าวิธีการแก้ปัญหาของรัฐบาล คือ มองในเรื่องของความสามารถในการจ่ายค่าแรงของนายจ้างเป็นหลัก แต่กลับไม่ได้มองการใช้ชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของสังคม มีประชาชน 67 ล้านคน โดย 41 ล้านคนเป็นคนที่อยู่ในวัยทำงาน และถ้าแก้ปัญหาคนกลุ่มใหญ่ไม่ได้ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ ซึ่งวันนี้เห็นภาพชัดเจนว่าปัญหาเชิงสังคม อาชญากรรม แล้วเป็นปัญหาจากโครงสร้าง ทั้งความยากจนเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง

ในกระบวนการจัดการวิธีการออมเป็นการสร้างนิสัยของประชาชนด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องให้มีเพียงพอต่อเลี้ยงคนในครอบครัวก่อน เศรษฐกิจถึงจะไปได้ ถ้าคนยากจน หนี้เศรษฐกิจครัวเรือนสูง และจะพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างไร

นอกจากนี้ นายสาวิทย์ ยังกล่าวว่าหลายประเทศที่มีการขึ้นค่าแรงทุกปี เนื่องจากต้องการสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งด้วยการลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ต้องสร้างการบริโภคภายในให้เกิดขึ้น เศรษฐกิจถึงยั่งยืน

ธนิต โสรัตน์ อดีตประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ

ธนิต โสรัตน์ อดีตประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ

ธนิต โสรัตน์ อดีตประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ

ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ อดีตประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปี 2567 มีการปรับค่าแรงวันที่ 1 ม.ค. เป็น 230-370 บาท และในวันที่ 12 เม.ย. เพิ่มเป็น 400 บาทเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว ในบางอำเภอ ใน 10 จังหวัด

ทั้งนี้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต้องไม่เท่ากันทั้งประเทศ ซึ่งถ้าเท่ากันจะเป็นการเหลื่อมล้ำ จะทำให้การลงทุนกระจุกอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางเหมือนในอดีต จะไม่กระจายไปยังพื้นที่ภูมิภาค

นอกจากนี้ยังใช้สูตรการคิดค่าจ้าง คิดจาก ผลิตภาพแรงงานแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ ตัวแปรเชิงคุณภาพ โดยได้มีการพูดคุยกันมาตลอด รวมถึงเชื่อมโยงกับประเด็นการเมือง

ซึ่งสูตรที่ใช้ปัจจุบันเปิดช่องตัวแปรตัวแปรเชิงคุณภาพ ซึ่งเปิดช่องไว้ว่าค่าแรงจะปรับขึ้นเท่าไหร่ แต่สามารถยืดหยุ่นได้
สำหรับ 23 ธ.ค.คุยกันหลายประเด็น ทั้งฝ่ายนายจ้างต้องการตัวเลขที่เป็นตามสูตร และลูกจ้างเองก็พยายามที่จะผลักดัน 400 บาท และที่สุดแล้วก็มีการหาข้อสรุปร่วมกัน ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันต้องมีตัวเลขที่ทุกฝ่ายยอมรับกัน ในส่วนของเงินเฟ้อ ตกลงได้ที่ 2% ซึ่งในความเป็นจริงเงินเฟ้อของประเทศไม่ถึง 0.8%

อ่านข่าว :

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด สูงสุด 400 ใน 4 จังหวัด 1 อำเภอ

กว่าจะถึงวัน ปรับขึ้น "ค่าแรง" วันละ 400 บ. รัฐบาลเพื่อไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง