ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สะเทือนวงการ EV " 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น" ชนสู้ตลาดรถไฟฟ้า

เศรษฐกิจ
25 ธ.ค. 67
17:26
365
Logo Thai PBS
สะเทือนวงการ EV " 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น" ชนสู้ตลาดรถไฟฟ้า

สะเทือนวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ส่งท้ายปี 2567 หลัง 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น อย่าง ฮอนด้า มอเตอร์ (Honda) นิสสัน มอเตอร์ (Nissan) และมิตซูบิซิ ( Mitsubishi Motor) จับมือกันทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาควบรวมกิจการ ผ่านการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งร่วมกัน และอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยน สำคัญของประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่น ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากค่ายตะวันตกและจีน

ปัจจุบันบริษัทฮอนด้า ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น และนิสสัน เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 3 ส่งผลทำให้การควบรวมกิจการครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมรถยนต์โลก ขณะที่บริษัท Mitsubishi Motor แม้จะแสดงจุดประสงค์ในการควบรวมกิจการ แต่จะมีการตัดสินใจเพื่อเข้าร่วมอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายในเดือนม.ค.2568

นับเป็นข่าวดีสำหรับวงการยานยนต์ในประเทศไทย ในฐานะเป็นฐานการผลิตสำคัญของหลายบริษัททั่วโลก ดังนั้นสิ่งที่ไทยต้องเตรียมพร้อม คือ การพัฒนาศักยภาพของแรงงานไทยให้ฝีมือ เพราะการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตที่"ญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นนักลงทุนเบอร์หนึ่งของไทยและต้องมองไทยเป็นอันดับแรกในการเข้ามาขยายการลงทุนในอนาคต

อุตสาหกรรมยานยนต์ชี้ควบกิจการ หวังแข่งตลาดรถอีวีจีน

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์ ” ถึงกรณีที่บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ (Honda) และ บริษัท นิสสัน มอเตอร์(Nissan) ตกลงจะพิจารณาการควบรวมกิจการ 

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

และจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งร่วมกันในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้านั้นจะส่งผลดีต่อทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวของไทยเพราะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้น ขณะที่ตลาดโลกให้ความสนใจในเรื่องการลดปริมาณคาร์บอนเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมกันมากขึ้น

ทั้งนี้คาดว่าการตกลงควบกิจการของทั้ง 2 บริษัทจะทำให้ ทั้งสองบริษัทกลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกคาดว่าจะสรุปการเจรจาควบรวมกิจการกันให้ได้ประมาณเดือนมิ.ย. 2568 จากนั้นจึงจะจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งภายในเดือนส.ค. 2569

และนำหุ้นบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป้าหมายของการควบรวมกิจการ เพื่อมุ่งไปผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อแข่งกับจีนที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมรถยนต์โลก

จุดมุ่งหมายของทั้ง 2 บริษัท คือ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามาแข่งขันกับจีน เพราะนิสสันเองผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามา15 ปี ซึ่งรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตลาดนี้เป็นอย่างดี ในขณะที่ฮอนด้าเองจะผลิตรถอีวีเพื่อเจาะตลาดจีนและมีเทคโนโลยีเรื่องแบตเตอรี่ไฟฟ้าอยู่แล้ว การควบรวมของสองบริษัทเพื่อเจาะตลาดรถอีวีและแข่งกับจีนที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ขณะนี้ 

นายสรุพงษ์ กล่าวอีกว่า เชื่อว่า ตลาดรถยนต์อีวีในอนาคตจะคึกคักหลังจากที่มีการควบรวมกิจการ ผู้บริโภคอาจจะได้เห็นแบรนด์รถใหม่ๆเข้าสู่ตลาดมากขึ้นถึงราคาที่จับต้องได้มากขึ้น ในขณะที่ไทยเองจะได้อานิสงส์จากการตั้งโรงงานผลิตไทย

เนื่องจากบริษัทฮอนด้าและนิสสันต่างก็มีโรงงานผลิตของตัวเองในไทยอยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการควบรวมกิจการ เชื่อว่า จะมีการมาลงทุนตั้งฐานการผลิตชิ้นส่วนอีวีในไทยแน่นอน ซึ่งสิ่งที่แรงงานไทยต้องพัฒนาคือการเตรียมความพร้อมเรื่องทักษะฝีมือ

อย่างไรก็ตาม การควบรวมกิจการของยักษ์ค่ายรถยนต์ ถือว่าเป็นเรื่องปกติของตลาด เพราะเป็นการนำเทคโนโลยีของแต่ละฝ่ายมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและเกิดการแข่งขันในตลาด ส่วนจะมองว่าเป็นการมีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกันเพราะจุดประสงค์ของทั้งสองบริษัทเพื่อการค้า

หนี้เสียรถพุ่ง “ฉุด” ยอดขาย-ส่งออกในประเทศทรุด

นายสุรพงษ์ ยังกล่าวถึง ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพ.ย. 2567 ลงลงจากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 42,309 คัน สาเหตุหลักๆ มาจากการเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินเพราะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่ฟื้นและยังอ่อนแอ และเติบโตในอัตราต่ำที่ 3% ในไตรมาส 3/2567

ขณะที่หนี้เสียรถยนต์เพิ่มขึ้น 22.8% จากไตรมาสสามปีที่แล้ว หนี้ครัวเรือนสูงถึง 89.6% ของ GDP ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงลดลง ยอดขายบ้านลดลงจากปีที่แล้ว รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในอัตราต่ำ

เช่นเดียวกับการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนพ.ย. ที่ส่งออกได้ 89,646 คัน แม้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 6.30% แต่ลดลงจากเดือนพ.ย. 2566 ที่ 10% เนื่องจากฐานสูงของปีที่ผ่านมา ประกอบกับสงครามอิสราเอลกับฮามาสขยายไปหลายพื้นที่ทำให้จำนวนเที่ยวเรือมารับรถน้อยลง

รวมทั้งหลายประเทศในเอเชียได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ชะลอตัวลง จึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลางและยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้นตลาดอเมริกาเหนือแห่งเดียว

อย่างไรก็ตาม หากรวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 83,857.79 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ที่ 13.05%

โดยเดือนม.ค. – พ.ย. 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 942,717.96 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ที่ 1.37%

EV ตีตลาด 11 เดือนจดทะเบียน"ป้ายแดง"พุ่งทุกประเภท

ในส่วนของยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภทแบตเตอรี่( BEV) เดือนพ.ย. 2567 มีการจดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,354 คัน ลดลงจากเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว 34.86% ส่งผลให้ภาพรวม 11 เดือน (ม.ค. - พ.ย. ) มี BEV จดทะเบียนใหม่สะสม 89,658 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน0.94% ทำให้ยอดรวมจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 พ.ย. 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 220,439 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 82.61%

ในขณะที่ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภทไฮบริด ( HEV )เดือนพ.ย. จดทะเบียนใหม่ 8,409 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. 2566 ที่ 11.76% ส่งผลให้ภาพรวม 11 เดือน (ม.ค. - พ.ย.) มี HEV จดทะเบียนใหม่สะสม 121,228 คัน เพิ่มขึ้น 52.37% รวมจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 30 พ.ย 2567 จดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 463,663 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 37.11%

และ ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภทปลั๊กอินไฮบริด( PHEV) เดือนพ.ย. 2567 จดทะเบียนใหม่ 768 คัน ลดลงจากเดือนพ.ย. 2567 ที่ 2.17% ส่งผลให้ 11 เดือนจดทะเบียนใหม่สะสม 8,851 คัน ลดลง 20.75% จดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 30 พ.ย. 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 62,670 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 17.25%

ยอดผลิตรถยนต์ลดลง ส่งออก-ในประเทศวูบ

ด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ของประเทศ ในเดือนพ.ย. มี 117,251 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน28.23%

จากการผลิตส่งออกลดลง 20.67% และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง40.42% และลดลงจากเดือนต.ค. 1.34%. ส่งผล 11 เดือนของปีนี้จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,364,119 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกับของปีก่อน20.14%

ส่วนการผลิตเพื่อส่งออก พบว่า 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ผลิตเพื่อส่งออกได้ 941,938 คัน เท่ากับ69.05% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน12.25% ขณะที่เดือนพ.ย. ผลิตได้ 80,022 คัน

ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 11 เดือน ผลิตได้ 422,181 คัน หรือ เท่ากับ 30.95 % ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 33.48% ส่วนเดือนพ.ย. ผลิตได้ 37,229 คัน

ไทยเนื้อหอมไม่แผ่ว ต่างชาติขนเงินเข้าไทย 213,964 ล้าน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เปิดเผยว่า 11 เดือนของปี2567 โดยมีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 884 ราย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

โดยลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 202 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) จำนวน 682 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 213,964 ล้านบาท

โดยญี่ปุ่นยังคงมาเป็นอันดับหนึ่ง 239 ราย ลงทุน 119,057 ล้านบาท รองลงมาเป็น สิงคโปร์ 120 ราย ลงทุน 16,332 ล้านบาท และ จีน 117 ราย ลงทุน 16,674 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 115 ราย ลงทุน 23,555 ล้านบาท และฮ่องกง 62 ราย ลงทุน 14,508 ล้านบาท

สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของทุนต่างชาติ ช่วง 11 เดือน พบว่า มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุน 281 ราย คิดเป็น 32% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติที่ มีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC 50,396 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 30,865 ล้านบาท

โดยธุรกิจที่ลงทุน เช่น ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม ธุรกิจจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบส่วนประกอบและชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อค้าส่งในประเทศ ธุรกิจบริการระบบซอฟต์แวร์ฐาน (Software Platform) และ ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า เช่น ชิ้นส่วนยานพาหนะ ชิ้นส่วนโลหะ ชิ้นส่วนพลาสติก เป็นต้น

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวอีกว่า ประเภทธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ และสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New-Curve) เช่น บริการทางวิศวกรรมและเทคนิค เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์และการใช้พลังงานของยานยนต์ไฟฟ้า

,บริการขุดเจาะปิโตรเลียม ภายในบริเวณพื้นที่แปลงสำรวจซึ่งเป็นพื้นที่สัมปทานในอ่าวไทย, บริการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ Cloud Service. และ บริการรับจ้างผลิตสินค้า เช่น แม่พิมพ์และชิ้นส่วนแม่พิมพ์, ชิ้นส่วนยานพาหนะ, ชิ้นส่วนเครื่องจักร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

หลังกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นจับมือควบรวมกิจการแล้ว ต้องติดตามว่าจะมีการปล่อยทีเด็ดอะไร ออกมาสู้กับตลาดรถอีวีของจีน โดยสิ่งที่ไทยเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือการแข่งขันในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งแต่วันนี้ คือ การเพิ่มทักษะ “Upskill-Reskil และขีดความสามารถของแรงงานไทย ให้แข่งขันได้ในตลาดแรงงาน เพื่อรองรับการลงทุนที่จะเข้ามาในอนาคต

 อ่านข่าว:

ผ่านเผาหลอก-สู่เผาจริง ? ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจไทยปี 2568

อินเตอร์ สู่ รากหญ้า พิสูจน์ฝีมือ “อธิบดีป้ายแดง” กรมค้าภายใน

SME หนีตายแข่งขันค้าโลก ใช้ FTA ลดเสี่ยงภาษีสูง "ทรัมป์ 2.0 "

ข่าวที่เกี่ยวข้อง