"ออฟฟิศซินโดรม" เรื่องใกล้ตัวคนวัยทำงาน ที่สร้างความรำคาญให้ร่างกาย ตึงไปทั่วร่างไม่ว่าจะเป็น อาการปวดหลัง ปวดศีรษะเรื้อรัง นิ้วล๊อก สาเหตุสส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์การทำงานของแต่ละคน ฉะนั้นหากไม่อยากเจออาการออฟฟิศซินโดรมควรต้องปรับพฤติกรรมกันก่อน
มีการเปิดเผยจาก นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ว่า ในปี 2567 มีประชาชนเข้ารับบริการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ และหลัง ในสถานบริการการแพทย์แผนไทยของรัฐทั่วประเทศ จำนวน 483,850 คน (ณ วันที่ 23 ม.ค.2568)
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงพฤติกรรมการทำงานที่อาจเป็นสาเหตุของ "ออฟฟิศซินโดรม" หรือกลุ่มอาการปวดเมื่อยเรื้อรังที่พบในคนวัยทำงาน มีสาเหตุมาจากการทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
สำหรับวิธีสังเกต 3 สัญญาณเตือนโรคออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย มีดังนี้
- ปวดหลังเรื้อรัง จากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม
- ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากความเครียดและการใช้สายตาอย่างหนัก
- มือชา เอ็นอักเสบ และนิ้วล็อก ซึ่งจากการพิมพ์คีย์บอร์ดหรือใช้เมาส์ในท่าเดิมซ้ำ ๆ
การรักษาในสถานบริการการแพทย์แผนไทย
ในการการรักษาแบบด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย และ แผนจีน สามารถดูแลอาการได้
- นวดแผนไทย : ลดอาการปวดและคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
- การประคบสมุนไพร : ช่วยคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนเลือด ซึ่งในลูกประคบสมุนไพรมีสมุนไพร เช่น ไพล ขมิ้นชัน การบูร
- การใช้ยาสมุนไพร : เช่น ยาเถาวัลย์เปรียงและยาไพล ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ
รักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
วิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรม ทำได้เริ่มต้นจาก การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ถูกวิธี จัดท่านั่งให้ถูก ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ไม่นั่งในท่าเดิมนานๆ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ด้วย ท่าฤๅษี ดัดตน : ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ ส่วนศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การฝังเข็ม : ลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ เช่น คอ บ่า ไหล่ และหลัง
ครอบแก้ว : เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดอักเสบได้
การป้องกันและดูแลตัวเองในที่ทำงาน
โรคของคนทำงาน หรือที่มักเรียกว่า "โรคจากการทำงาน" เป็นกลุ่มอาการหรือโรคที่เกิดจากลักษณะงาน การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนทำงาน โดยเฉพาะคนที่ทำงานในสำนักงาน โรงงาน หรืออาชีพที่มีความเครียดสูง
1. จัดท่าทางการทำงานที่เหมาะสม - ปรับระดับโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับสายตา
2. พักเบรกระหว่างวัน - ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุก 30-60 นาที เดินเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลาย
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ - การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคเรื้อรังอื่น ๆ
4. จัดการความเครียด ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การหายใจลึก ๆ แบ่งเวลาทำงานและพักผ่อนให้สมดุล
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ
6. ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเช็กความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพื่อการป้องกันและรักษาได้ทันเวลา
อ่านข่าว : เมื่อโลกของเกม มาบรรจบกับโลกจริง บนแอปฯ "Jagat - Pokemon Go"
"ทรัมป์" ถอนตัวข้อตกลงปารีส เป้าหมายกู้อุณหภูมิโลก 1.5 องศาฯ สะดุด?