วันนี้ ( 20 ก.พ.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 3 มาตรการดึงราคาข้าวเปลือกนาปรังหลังจากราคาข้าวตกต่ำ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอินเดียกลับมาส่งออกข้าว ได้แก่ 1.สินเชื่อชะลอนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาทต่อตัน หากเกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉางของตัวเอง และได้ 1,000 บาทต่อตัน หากเก็บที่สหกรณ์ โดยสหกรณ์ได้ 500 บาทต่อตัน ต้องเก็บข้าวไว้ 1-5 เดือน เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์
2.ชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการโรงสี 6% ต้องเก็บสต๊อกไว้ 2-6 เดือน และต้องซื้อข้าวสูงกว่าราคาตลาด 200 บาทต่อตันขึ้นไป เป้าหมาย 2 ล้านตัน และ 3.เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาทต่อตัน และผู้ประกอบการต้องรับซื้อข้าวสูงกว่าตลาด 300 บาทต่อตัน เป้าหมาย 3 แสนตัน ใช้งบประมาณรวม 1,893.53 ล้านบาท
มาตรการดังกล่าวปกติจะใช้เฉพาะการดูแลข้าวเปลือกนาปี ซึ่งจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) พิจารณาอนุมัติในสัปดาห์หน้า

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาดร่วมกับสมาคมชาวนา และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาดร่วมกับสมาคมชาวนา และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
ด้านนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า เกษตรกรต้องการขายข้าวเปลือกเจ้าให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 8,000 บาทต่อตัน เป็นข้าวสด ซึ่งมาตรการที่ออกมา จะช่วยให้เกษตรกรขายข้าวได้ 8,000 บาท หากตอนนี้ ราคาข้าวเกี่ยวสดได้ 7,000 บาท หากได้เงินเพิ่มจากมาตการฝากเก็บ ก็จะได้ 1,000-1,500 บาทต่อตัน ก็จะได้เงิน 8,000-8,500 บาท ซึ่งเป็นไปตามที่ชาวนาต้องการ ส่วนการเปิดจุดรับซื้อ หากขายไม่ได้ 8,000 บาท เกษตรกรก็ไม่ต้องขาย
ข้อเสนอที่เกษตรกร ขอให้ชดเชยเรื่องต้นทุน เรื่องการไม่เผาฟางข้าว เป็นเรื่องคณะอนุกรรมการด้านการผลิต จะต้องพิจารณา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพเรื่องนี้

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ชาวนาพอใจระดับหนึ่งกับผลการหารือมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่ไม่ต่ำกว่า 8000 บาทต่อตัน โดยต้นทุนเฉลี่ยของชาวนาอยู่ที่ 5500-6000 บาทต่อไร่ซึ่งยังไม่รวมต้นทุนอื่นๆ เช่น การถอนตอซัง การไถกลบ
ขณะที่ราคาข้าวในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้าวขาว กข79 ความชื้น 25% พบว่าราคาค่อนข้างดี คือยังไม่หลุดกรอบ 8,000 บาทต่อตัน แต่ทั้งนี้การรับซื้อในแต่ละพื้นที่ อาจมีความแตกต่างกันและยอมรับว่าบางพื้นที่ก็มีราคาข้าวที่ 6,000 บาทต่อตัน

ทั้งนี้นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า สมาคมชาวนาได้มีการยื่นหนังสือไปยังรมว.เกษตรและสหกรณ์ และรมว.พาณิชย์ 3 ข้อเสนอ คือ 1.ราคาข้าวที่ตกต่ำในขณะนี้ รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรในการช่วยเหลือบ้าง / 2.ในเรื่องของฟางข้าว ซึ่งชาวนาได้มีการเสนอไปแล้ว แต่ยังไม่ทราบคำตอบว่าที่ประชุมจะมีการอนุมัติหรือไม่ 3.เรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว ต้นทุนการผลิตที่ราคายาฆ่าแมลงและปุ๋ยปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงน้ำมันแพง
ราคาข้าวในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้าวขาว กข79 ความชื้น 25% พบว่าราคาค่อนข้างดี คือยังไม่หลุดกรอบ 8000 บาทต่อตัน แต่ทั้งนี้การรับซื้อในแต่ละพื้นที่ อาจมีความแตกต่างกันและยอมรับว่าบางพื้นที่ก็มีราคาข้าวที่ 6000 บาทต่อตัน

อย่างไรก็ตามอยากให้รัฐบาลมีการกำหนดเรทราคา เช่น ข้าวขาวความชื้น 15% ราคา 10,000 บาทต่อตัน แทนการให้ความช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ส่วนข้อเรียกร้องในเรื่องประกันราคาข้าวอยู่ที่ 11,000 บาทต่อตัน ต้องพิจารณาที่ชนิดของข้าว โดยก่อนหน้านี้ได้เรียกร้องให้ราคาข้าวหอมมะลิอยู่ที่ 13,000 บาทต่อตัน ข้าวหอมปทุมธานีอยู่ที่ 12,000 บาทต่อตัน ข้าวเหนียวและข้าวพื้นนุ่ม 11,000 บาทต่อตัน ข้าวขาวหรือข้าวแข็งทั่วไปอยู่ที่ 10,000 บาทต่อตัน หากรัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องนี้ทุกอย่างก็จะจบ
รัฐบาลจะรับการตอบรับที่สมาคมชาวนาเสนอไป แต่หากไม่รับข้อเสนอ รัฐบาลลำบากแน่ เพราะต้นทุนการผลิตของชาวนาพุ่ง 5,500-6,000 บาทต่อไร่ ทำให้ชาวนาทำนาไม่คุ้มทุนและสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวนา ซึ่งไม่สามารถจะทราบได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ส่วนตัวมองว่ายอมรับได้ที่ชาวนาออกมาเรียกร้อง แต่ไม่อยากให้เกิดการปิดถนน ซึ่งตนเองก็เคยบอกกับรัฐบาลไปว่า ถ้าชาวนาอยู่ได้ รัฐบาลก็อยู่ได้ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ไม่ให้ความสนใจกับชาวนาเลยว่าจะมีความเป็นอยู่อย่างไร ทุกวันนี้ไม่มีหน่วยงานใดสนใจชาวนา และที่ผ่านมาชาวนาเองก็ไม่เคยออกมาเรียกร้องรวมเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ปีนี้ประสบภาวะวิกฤตหนักที่ราคาข้าวเหลือเพียง 6,000 บาทต่อตัน ชาวนาจึงได้ออกมาเรียกร้อง
ด้านตัวแทนชาวนาจาก จ. พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า รัฐบาล และกระทรวงพาณิชย์ไม่มีความจริงใจในการดูแลชาวนาเหมือนสับขาหลอก สิ่งที่ชาวนาต้องการ คือ ราคาที่ชาวนาเสนอไปตันละ 11,000 บาท เพะราะปัจจุบันต้นทุนของชาวนาอยู่ที่ 6,500-8,000 บาทแล้วไหนจะต้นทุนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ย ค่ายาที่ปรับตังสูง และการเปิดจุดรับซื้อ เพิ่มให้อีก 300 บาท คืออะไร ชาวนาไม่ได้ต้องการ
อ่านข่าว:
ข้าวไทยราคาตก ! เผือกร้อนลวกมือ "พิชัย" รัฐบาลยังตีมึนแก้ปัญหา
เปิด 7 มาตรการเร่งดันราคาข้าว ประชุมอนุ นบข.20 ก.พ.นี้
เปิดสาเหตุ "ข้าว" ชาวนาไทย ทำไมราคาตก