วันนี้ (24 ก.พ.2568) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข (สธ.)กล่าวถึงกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมด้อยกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ทั้งๆ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ จนเกิดข้อเสนอว่าควรให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดูแลผู้ประกันตนแทน
จะไปบังคับคงไม่ได้ แต่หากพร้อมมาก็พร้อมรับ เรื่องงบบัตรทองรับเงินจากภาครัฐ แต่ประกันสังคมมีกองทุนประกันสังคม เงินก็จะมาจากผู้ประกันตนส่วนหนึ่งด้วย การจะมารวมกันหรือไม่ ถ้าทำได้ ก็ต้องมาตั้งต้นกันใหม่ ไม่กล้าพูดว่าต้องมา
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของประเทศไทย และมีกระแสข่าวว่าจะเป็นการรวม 3 กองทุนสุขภาพ จริง ๆ กฎหมายมีมากว่า 20 ปีแล้วที่ต้องการให้รวมกองทุน เพียงแต่ละหน่วยงาน แต่ละรัฐบาลไม่สามารถทำได้ แต่นายกรัฐมนตรี มีวิสัยทัศน์มองว่าจะทำเรื่องนี้อย่างไร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯขึ้นมา เพื่อพิจารณาร่วมกัน
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เห็นมีผู้เสนอรายงานเข้ามาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการรวมกองทุนว่า เพราะอะไรถึงไม่สามารถทำได้ นายกรัฐมนตรี จึงตั้งคณะกรรมการศึกษาเรื่องนี้ เพราะมองว่าน่าจะทำได้ เป็นการบ้านที่ต้องมาศึกษา
อ่านข่าว ปฏิรูปประกันสังคม! นักวิชาการ-ภาคแรงงานเสนอแยกพ้นราชการ

สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข
สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข
ตั้งกรรมการศึกษาค่ารักษาพยาบาล
สำหรับคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 33/2568 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่ารักษาพยาบาลของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของประเทศไทย ลงนามโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2568
หลังจากที่รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณให้ระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของประเทศไทย เป็นสวัสดิการที่สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สร้างหลักประกันสุขภาพในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นของประชากรทุกคนอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ตั้งแต่การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต โดยงบประมาณดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณานโยบาย และแนวทางการบริหารงบประมาณสำหรับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
อ่านข่าว สปส.ย้ำชัด! สิทธิไม่ด้อยกว่าใคร ดูแลผู้ประกันตน 24.73 ล้านชีวิต
รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิการรักษาพยาบาล จึงแต่งตั้งคณะกรรม การพิจารณาค่ารักษาพยา บาลของสวัสดิการรักษาพยาบาลของประเทศไทย 22 คน ประกอบด้วย
- รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานกรรมการ
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1
- รมว.กระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานคนที่ 2
- รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 3
- รมว.กลาโหม เป็นกรรมการ
- ปลัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ เป็นกรรมการ
- ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
- ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นกรรมการ
- เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นกรรมการ
- ผอ.สำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
- อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เป็นกรรมการ
- เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นกรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นกรรมการ
- ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นกรรมการ
- นายกสภาเภสัชกรรม เป็นกรรมการ
- นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เป็นกรรมการ
- เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) เป็นกรรมการ
- รองปลัดสธ.ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
- อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
- เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
อ่านข่าว
"พิพัฒน์" ลั่นไม่รู้ ทริปอิตาลีบอร์ดแพทย์ ปัดไม่รับผิดชอบเหตุไม่ได้แต่งตั้ง