ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

SMS เตือนภัยช้า-คลื่นสาธารณะสะดุด ภาคประชาชนจี้รัฐเร่งแก้ไข

สังคม
6 เม.ย. 68
18:34
102
Logo Thai PBS
SMS เตือนภัยช้า-คลื่นสาธารณะสะดุด ภาคประชาชนจี้รัฐเร่งแก้ไข
เหตุแผ่นดินไหวที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามถึงระบบแจ้งเตือนฉุกเฉินของ รบ., กสทช. ที่ล่าช้า-ไม่ครอบคลุม วันนี้ เครือข่ายประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค นำข้อเสนอร่วมถกในเวที ทบทวนบทบาทหน้าที่ การจัดการคลื่นความถี่สาธารณะ ท่ามกลางภัยพิบัติ

วันนี้ (6 เม.ย.2568) การแจ้งเตือนเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ผ่านข้อความ SMS ที่ล่าช้า ประชาชนบางคนได้รับข้อความแจ้งเตือน หลังเกิดเหตุผ่านไปแล้วนานหลายชั่วโมง หรือบางคนข้ามวัน และบางคนไม่ได้ข้อความ

เป็นเสียงสะท้อนจากประชาชน ที่ถูกนำมาเปิดเผย และร่วมหารือในเวทีทบทวนบทบาทหน่วยงานอิสระของรัฐ กับความเป็นเจ้าของคลื่นความถี่สาธารณะ และการอภิปรายเรื่อง "แผ่นดินไหว-ภัยธรรมชาติ กับประสิทธิภาพการจัดการคลื่นความถี่ ของ รัฐบาล และ กสทช."

สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุว่า แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ทำให้เห็นโศกนาฏกรรมทางการสื่อสารของรัฐบาล และ กสทช. โดยปัญหามาจากการไม่มีฝ่ายบริหารที่ตัดสินใจได้ทันทีขณะเกิดเหตุ และการไม่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี หรือ เครื่องมือแจ้งเตือนฉุกเฉิน

สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค

สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค

สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค

พร้อมยังตั้งคำถามไปถึงระบบแจ้งเตือนฉุกเฉิน หรือ ระบบ Cell Broadcast ของ กสทช.ที่ยังใช้งานไม่ได้จนถึงตอนนี้ แม้จะมีการจัดทำระบบนี้ มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567

การที่ทุกคน เงอะงะ ไม่รู้จะยังไง ไม่มี 1 2 3 4 ในเรื่องเทคโนโลยี ก็แสดงว่า กสทช. ไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองเลย คือไม่ได้ตามกำกับดูแลว่าทุนที่ให้ไปทำ Cell Broadcast ไปถึงไหนแล้ว หรือถ้า Cell Broadcast ยังใช้ไม่ได้ ทีวีจะช่วยยังไง พึ่งจะมาพูดทีหลังว่าต้องมี รวมการเฉพาะกิจ ซึ่งที่จริง รวมการเฉพาะกิจทำได้ตั้งแต่ชาติไหนแล้ว อันนี้พูดแซวนะ 

ด้านประธานองค์กรส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาด น.ต.ศิธา ทิวารี มองว่า ระบบการแจ้งเตือนเหตุภัยพิบัติ โดยเฉพาะเหตุแผ่นดินไหวของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีความพร้อม เช่น ญี่ปุ่น มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด

น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานองค์กรส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาด

น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานองค์กรส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาด

น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานองค์กรส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาด

รัฐบาลและ กสทช. ควรนำบทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มาจัดทำระบบแจ้งเตือนให้มีประสิทธิภาพทันที ทั้งระบบแจ้งเตือนเหตุแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะมีผลต่อการเตรียมพร้อมรับมือของประชาชน รวมถึงต้องมีระบบเซนเซอร์จับสัญญาณ และการมีระบบควบคุมอัตโนมัติ

กรณีที่เกิดภัยพิบัติ สิ่งที่ประชาชนต้องรู้คือมีแนวโน้มหรือมีโอกาสจะเกิดอะไร แล้วต้องเป็นเรียลไทม์ เราต้องมาดูว่า ถึงเวลาหรือยังที่ ตึกรามบ้านช่องของเรา จะต้องมีระบบพวกนี้ และการกำกับดูแลของภาครัฐ ต้องเข้าไปบริหารจัดการระบบเหล่านี้ ให้ดีขึ้นด้วย

เวทีหารือวันนี้ ยังมีการตั้งคำถามถึงบทบาทในหน้าที่ของประธาน กสทช.ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา วินิจฉัยให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่ปี 2567 ซึ่งนายกรัฐมนตรี ต้องดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐาน ส่งสำนักงานองคมนตรี เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อม ให้ปลดออกจากตำแหน่ง แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการดำเนินการ จึงเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรี ปลดประธาน กสทช.

​รวมถึงตั้งคำถามถึงข้อครหา เกี่ยวกับคดีฟ้องร้อง ศาตราจารย์กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ที่อยู่ในชั้นรออุทธรณ์ และการเลื่อนการประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมดในคราวเดียวออกไปก่อน เนื่องจากมองว่า สุ่มเสี่ยงนำไปสู่การผูกขาดคลื่นความถี่ โดยกลุ่มทุนธุรกิจผูกขาดขนาดใหญ่

อ่านข่าวอื่น :

เปิดผนึก 6 เหตุผลนักเศรษฐศาสตร์ชี้ กาสิโนไม่คุ้มค่า-เสี่ยงฟอกเงิน

"สงครามข้อมูล" โจทย์ใหญ่สื่อ ในยุควิกฤตความเชื่อมั่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง