วันนี้ (9 เม.ย.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (EU) รอบที่ 5 (วันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่ามีความคืบหน้าที่ดี เป็นไปในทิศทางบวกและเป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่าย)
โดยสามารถสรุปเพิ่มในหลักการได้อีก 2 บทคือ บทพิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Custom Trade Facilitation: CTF) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกัน ที่จะช่วยให้พิธีการด้านศุลกากรมีประสิทธิภาพและทันสมัย
และบทระบบอาหารที่ยั่งยืน (Sustainable Food System: SFS) ซึ่งเป็นเรื่องความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระบบอาหารให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงการเจรจากลุ่มอื่นๆ ก็มีความคืบหน้าไปมากเช่นกัน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์
นอกจากนี้ทั้งสองฝ่าย ได้เริ่มเจรจาการเปิดตลาดการค้าสินค้าระหว่างกันแล้วในรอบนี้ และได้กำหนด การแลกเปลี่ยนข้อเสนอการเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุนฉบับแรกในช่วงต้นเดือน มิ.ย.2568 จึงนับว่าเป็นก้าวสำคัญของการเจรจา พร้อมกับกำหนดงานที่แต่ละกลุ่มจะต้องมีการหารือในระหว่างรอบ ก่อนการเจรจารอบที่ 6 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 มิ.ย.2568 ที่ประเทศไทย เพื่อให้การเจรจารอบต่อไปมีความคืบหน้าให้มากที่สุด
หลังการเจรจารอบนี้เสร็จสิ้น นายมารอส เซฟโควิช กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ส่งข้อความมาแสดงความยินดีกับไทยที่การเจรจามีความคืบหน้ามาก สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจและความมุ่งมั่นร่วมกันของทั้งสองฝ่ายในการผลักดันความตกลง FTA ไทย-EU ให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

รมว.พาณิชย์ กล่าวอีกว่า กรรมาธิการยุโรปฯ ยังแสดงความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งสรุปผลการเจรจาให้ได้โดยเร็วที่สุด ภายในวันที่ 25 ธ.ค.2568 จะเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนของทั้งสองฝ่ายในอนาคต
ทั้งนี้จากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ของโลกในปัจจุบัน การประกาศขึ้นภาษีของสหรัฐฯต่อประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย ตลอดจนข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการค้าโลกในอนาคต ไทยกับ EU จึงเห็นพ้องกันว่า การเป็นพันธมิตรทางการค้าที่เชื่อถือได้และคาดการณ์ได้เป็นสิ่งจำเป็น และทำให้การเร่งเดินหน้าเจรจา FTA ไทย-EU ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และจะเป็นการขยายโอกาสทางการค้าของไทย และการหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ โดยให้เร่งรัดสรุปผลการเจรจา FTA ให้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อดึงดูดการลงทุนและขยายการค้าของไทยออกสู่ตลาดโลก

ปี 2567 EU เป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย รองจากจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยการค้าระหว่างกันมีมูลค่ารวม 43,532.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 4.26 โดยไทยส่งออกไปยัง EU มูลค่ารวม 24,205.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 10.23 และนำเข้าจาก EU รวมทั้งสิ้น 19,327.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 2.16 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 8.50 ทั้งนี้ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 4,877.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อ่านข่าว:
ไทยสะเทือน “ทรัมป์”ขึ้นภาษี ทุบเศรษฐกิจพัง 3.59 แสนล้าน GDP เหลือ 1.93%
"สงครามการค้า" ทรัมป์ ขยี้ตลาดเงิน-ทองคำ-หุ้น สะเทือนลงทุนโลก
เปิดขั้นตอน “ทรัมป์” เก็บภาษีไทย 9 เม.ย.ขึ้น 36% เว้นสินค้าที่ลงเรือแล้ว
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
- ภาษีนำเข้า
- ภาษีนำเข้าสินค้า
- สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า
- กำแพงภาษีนำเข้า
- ภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ
- ภาษีกำแพง
- ทรัมป์ขึ้นภาษี
- ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษี
- ขึ้นภาษี36%
- ทรัมป์เก็บภาษีไทย 36 %
- สินค้าส่งออก
- ขึ้นภาษีสินค้าไทย
- ผลกระทบทรัมป์2.0
- FTA ไทย-EU
- FTAไทยEU
- FTA ไทย-อียู
- FTA
- พาณิชย์
- ข่าวเศรษฐกิจวันนี้
- ข่าวเศรษฐกิจล่าสุด
- ข่าววันนี้
- ข่าวล่าสุด