วันนี้ (14 เม.ย.2568) ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2568 แถลงข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568
- เช็กด่วน ประแป้งเกินเลย-เข้าข่ายอนาจาร ฉีดน้ำถูกทรัพย์สินผิด กม.
- เติมสุข "วันครอบครัว" 14 เมษายน 2568
พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธานการประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ.2568 ภาพรวมวันที่ 3 (13 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุสะสม 296 ครั้ง เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 299 คน
ขณะที่ภาพรวม 3 วัน (ระหว่าง 11-13 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุสะสม 756 ครั้ง เสียชีวิตสะสม 100 คน บาดเจ็บ 752 คน โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือภูเก็ต 15 ครั้ง รองลงมาชุมพร 14 ครั้ง และพัทลุง ลำปาง 13 ครั้ง
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 44.26 ดื่มแล้วขับ 29.05 และตัดหน้ากระชั้นชิด 17.91 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.85 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 81.42 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.84 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 32.09 ถนนในเมือง (เทศบาล) ร้อยละ 14.19 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 18.01–21.00 น. ร้อยละ 20.61 เวลา 15.01-18.00 น. ร้อยละ 16.89 และเวลา 12.01–15.00 น. ร้อยละ 16.55
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 21.89 จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,754 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 51,017 คน
โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ภูเก็ต 15 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ ลำปาง 19 คน จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี สระแก้ว และเชียงรายจังหวัดละ 3 คน
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 3 วันของการรณรงค์ เกิดอุบัติเหตุรวม 756 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 752 คน ผู้เสียชีวิตรวม 100 คน
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 30 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พัทลุง 28 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ ลำปาง 31 คน จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (10 ราย)
อ่านข่าว จับตา! โควิดหลังสงกรานต์เสี่ยงพุ่งเทียบชัดปี 67 เตือนกลุ่มเสี่ยง

"เมาแล้วขับ" จับ 11,801 คน
พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการศึกษา ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายเสริมสร้างภาพลักษณ์ตำรวจจราจร ศูนย์บริหารงานจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 สะสม 3 วัน ยอดจับกุมเมาแล้วขับสูงถึง 11,801 คน ในจำนวนนี้มีผู้ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำ ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งที่ผ่านมา มากถึง 63 คน
ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “มาตรา 160 ตรี/1 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 160 ตรี (เมาแล้วขับ) และได้กระทำความผิดซ้ำอีกภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000–100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่“
ผู้ที่กระทำผิดซ้ำนี้ จะถูกส่งตัวเพื่อไปฟ้องยังศาลจังหวัด และต้องถูกฝากขังตามอัตราโทษของศาลจังหวัด นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้ศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกและปรับโดยเสมอ โดยความผิดเมาแล้วขับในครั้งแรก อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่านข่าว สนุกสุดเหวี่ยงไม่เสี่ยงคุก! เซฟตัวเองเล่นน้ำสงกรานต์ 2568

เมินสวมหมอกกันน็อก-กินยาทำให้ง่วงซึม
นายขจร ศรีชวโนทัย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง กล่าวว่า จากสถิติข้อมูลอุบัติเหตุในช่วง 3 วันที่ผ่านมา พบว่ายานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือรถจักรยานยนต์ และพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงที่สุด คือการไม่สวมหมวกนิรภัย รองลงมาคือการดื่มแล้วขับ
ศปถ.ขอให้ทุกภาคส่วนเพิ่มความเข้มข้นในการกวดขัดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ โดยใช้กลไกของพื้นที่ในการดำเนินการอย่างการตั้งด่านชุมชน และด่านครอบ ครัวในการเฝ้าระวัง ตรวจตรา ป้องปราม และตักเตือนบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง สวมใส่อุปกรณ์นิรภัยก่อนขับขี่ยานพาหนะออกนอกชุมชน
หากพบผู้กระทำผิดและไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ให้ประสานมายังสถานีตำรวจภูธรใกล้เคียง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมถึงการจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ออกตรวจพื้นที่ที่จัดให้มีการเล่นน้ำสงกรานต์และพื้นที่ที่มีการจัดงานประเพณี ไม่ให้มีการจำหน่ายหรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในงาน

พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องจากการสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น พบว่านอกเหนือไปจากดื่มแล้วขับแล้ว ส่วนหนึ่งอุบัติเหตุทางถนนยังเกิดจากการง่วงหลับในที่มาจากการกินยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ง่วงซึม
จึงขอให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ข้อมูลการใช้ยาว่ามียาชนิดใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีผลต่อการขับขี่ เช่น กลุ่มยาแก้แพ้ แก้คัน ลดน้ำมูก กลุ่มยาแก้ปวดอย่างแรง ยาคลายกล้ามเนื้อ ยกแก้ไอ ยากันชัก ยารักษาอาการปวดเส้นประสาท ยาต้านอาการท้องเสียหากประชาชนทานยาเหล่านี้ ไม่ควรขับรถโดยเด็ดขาด
โดยขอให้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลนี้ผ่านทุกช่องทางของจังหวัด ทั้งเสียงตามสาย ป้ายรณรงค์ และสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ จุดตรวจและจุดบริการประชาชน ตรวจเช็กการรับประทานยาของผู้ขับขี่ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
อ่านข่าวอื่นๆ
"ชัชชาติ" ตั้งเป้าปลายเดือนนี้ รื้อซากตึก สตง.ถล่มได้หมด
"ศ.ดร.อมร" ชี้ "ปล่องลิฟต์" จุดตั้งต้นปมตึก สตง.ถล่ม