ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดชื่อ "สมุนไพร" ในบัญชียาหลักฯ รักษา 10 กลุ่มโรค

สังคม
30 เม.ย. 68
13:32
0
Logo Thai PBS
เปิดชื่อ "สมุนไพร" ในบัญชียาหลักฯ รักษา 10 กลุ่มโรค

จากกระแสในสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรไทยทดแทนยาแผนตะวันตก กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงอย่างชัดเจนว่า “ไม่ใช่นโยบายบังคับ” แต่เป็นแนวทางเปิดกว้างให้โรงพยาบาลแต่ละแห่ง สามารถเลือกดำเนินการตามความเหมาะสมและความสมัครใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายของระบบสาธารณสุข และส่งเสริมภูมิปัญญาไทยที่มีงานวิจัยรองรับแล้ว

นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสมุนไพรไทยจำนวนมากที่ได้รับการวิจัยและรับรองว่ามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เช่น ยาแก้ไอประสะมะแว้ง สำหรับอาการไอและขับเสมหะ, ยาไพล ใช้บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ และลดการอักเสบ, รวมถึงยามะขามแขก ที่ช่วยระบายในผู้ที่มีอาการท้องผูก ซึ่งยาสมุนไพรเหล่านี้ล้วนถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและมีการใช้อย่างแพร่หลายในสถานพยาบาลทั่วประเทศ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย

ปัจจุบันมีการใช้ยาในระบบสาธารณสุขของรัฐ ประมาณ 70,543 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นยาสมุนไพร 1,560 ล้านบาท โดยเป็นการใช้ยาสมุนไพรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพียง 408 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข จึงตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มการสั่งใช้ยาสมุนไพรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท ภายในปี 2568 และไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ในปี 2569

ทั้งนี้ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ร่วมมือกับ สปสช. ในการประกาศรายการยาสมุนไพร 32 รายการ ภายในวันที่ 1 มี.ค.2568 เป็นรูปแบบ Fee schedule ซึ่งจะปรับระบบการเบิกจ่ายเป็นต่อคอร์สการรักษา เพิ่มราคายาจากสมุนไพร เพื่อส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น

เปิดรายชื่อ 32 สมุนไพร 

  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ได้แก่ ยาไพล, ยาเถาวัลย์เปรียง, ยาสหัศธารา, ยาพริก, ยาประคบ
  • กลุ่มอาการไข้หวัด/โควิด 19 ได้แก่ ยาปราบชมพูทวีป, ยาฟ้าทะลายโจร (สารสกัด/ผงจากส่วนเหนือดินที่ควบคุม Andrograholide), ยาเขียวหอม, ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม, สูตรตำรับที่ 1 และสูตรตำรับที่ 2, ยาประสะมะแว้ง
  • กลุ่มอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ ยาธาตุอบเชย, ยาขมิ้นชัน
  • กลุ่มอาการท้องผูก/ริดสีดวงทวารหนัก ได้แก่ ยามะขามแขก, ยาผสมเพชรสังฆาต สูตรที่ 1 และสูตรที่ 2
  • กลุ่มอาการวิงเวียน ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ, ยาขิง
  • กลุ่มอาการชาจากอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้แก่ ยาแก้ลมแก้เส้น, ยาทำลายพระสุเมรุ
  • กลุ่มอาการทางผิวหนัง/แผล ได้แก่ ยาว่านหางจระเข้, ยาเปลือกมังคุด, ยาพญายอ, ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง
  • กลุ่มอาการท้องเสีย (ไม่ติดเชื้อ) ได้แก่ ยาเหลืองปิดสมุทรา, ยากล้วย
  • กลุ่มอาการเบื่ออาหาร ได้แก่ ยามะระขี้นก, ยาน้ำมันกัญชาที่ผลิตจากช่อดอก ที่มี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) 2.0 mg/ml, ยาน้ำมันสารสกัดกัญชา ที่มี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) บัญชีรายการยาเฉพาะ จำนวน 2 ความแรง ได้แก่ ไม่เกิน 0.5 มก./หยด และไม่เกิน 3 มก./หยด, ยาน้ำมันสารสกัดกัญชา ที่มี ที่มี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ในอัตราส่วน 1:1
  • กลุ่มอาการนอนไม่หลับ ได้แก่ ยาศุขไสยาศน์, ยาหอมเทพจิตร, ยาน้ำมันกัญชาทั้งห้า, ยาน้ำมันสารสกัดกัญชา ที่มี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) บัญชีรายการยาเฉพาะ จำนวน 2 ความแรง ได้แก่ ไม่เกิน 0.5 มก./หยด และไม่เกิน 3 มก./หยด, ยาน้ำมันกัญชาที่ผลิตจากช่อดอก ที่มี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) 2.0 mg/ml และยาน้ำมันสารสกัดกัญชา ที่มี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ในอัตราส่วน 1:1

อ่านข่าว : อย่าซีเรียส! สมศักดิ์ยันไม่บังคับ รพ. ใช้สมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน 

โซเชียลตั้งคำถาม นโยบาย สธ.จ่าย "ยาสมุนไพรไทย" ทดแทนบางรายการ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง