“ใจแลกใจ รูปแบบใหม่ดูแลผู้สูงวัยโคราช”

13 ต.ค. 54
18:10
50
Logo Thai PBS
“ใจแลกใจ รูปแบบใหม่ดูแลผู้สูงวัยโคราช”

ในยุคแห่งกระแสทุนโหมกระหน่ำการพัฒนาของประเทศไทย ได้ส่งผลอย่างก้าวกระโดดให้สังคมไทยเกิดสภาวะผันแปรโดยเฉพาะความเปลี่บนแปลงที่เกิดขึ้นกับสัดส่วนของประชากรที่อยู่ในวัยชรา

ความคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ระบุว่าในอีก 15 ปีข้างหน้าต่อจากนี้จำนวนของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ข้อมูลนี้คงจะเป็นความจริงที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

              
“ดอนชมพู” ตำบลเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของระบบเศรษฐกิจของไทย พื้นที่แห่งนี้มีผู้สูงอายุจำนวนมากถูกทิ้งให้อยู่เพียงลำพังเพราะลูกหลานต้องผันตัวเองเข้าเป็นแรงงานของระบบทุนเพื่อหาค่าใช้จ่ายมาจุนเจือครอบครัว หลากหลายหน่วยงานที่นี่ ทั้งข้าราชการท้องถิ่นและชาวบ้านจึงร่วมกันระดมสมองเพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาของผู้สูงวัยที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นที่มาของการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบโดยการเน้นความ “กตัญญู”

               
สมฉวี แบ่งกุศลจิต หัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนชมพูบอกเล่าให้เราฟังถึงการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของเธอว่า “พวกเราเชื่อว่าการดูแลผู้สูงอายุที่ดีที่สุดคือการใช้ใจดูแล  โดยเฉพาะเรื่องค่านิยมเรื่องความกตัญญู เป็นค่านิยมที่มีประโยชน์พวกเราจึงได้นำมาปรับใช้กับรูปแบบหลายส่วนในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ของเรา การดูแลของเราได้ประสานความร่วมมือจากหลากหลายฝ่าย ทั้งอสม.อบต. กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเด็กเยาวชน ทุกคนมาระดมสมองช่วยกันหมดว่าจะดูและคนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่ได้อย่างไร เราคุยกันจนเกิดต้นแบบของหลากหลายโครงการทั้งการลงพื้นที่เยี่ยมคนแก่ที่เจ็บป่วยอย่างรุนแรง และการฟื้นฟูสภาพจิตใจของคนแก่ด้วยการลงไปพูดคุย ทำอาหารและทำความสะอาดบ้านให้ในทุกๆ อาทิตย์”หัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนชมพูบอกเล่าให้เราฟังถึงบางส่วนของโครงการที่เกิดขึ้นในพื้นที่

               
เธอเล่าเพิ่มว่าโครงการที่ได้รับการตอบรับอย่างดีและช่วยให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ของเธอมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจคือการนำผู้สูงอายุมาดูแลผู้สูงอายุในโครงการ “อาสาสมัครดูแลที่บ้าน”ซึ่งอาสาสมัครส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการนี้ส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีพละกำลังและใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตอาสา

              
 “การให้คนแก่ดูแลคนแก่เป็นเรื่องที่ดีที่สุดเพราะเขาจะเข้าใจกันมากที่สุดเหมือนเพื่อนที่ดูแลกัน เล่าเรื่องราวปรับทุกข์ปรับสุขให้กันฟัง คนที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครก็ได้ความสุขทางด้านจิตใจ คนที่ได้รับการดูแลก็ได้ความสุขและรอยยิ้ม โครงการนี้ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จมากในพื้นที่ของเรา” สมฉวีบอกเล่าด้วยรอยยิ้ม พร้อมกับให้ข้อมูลว่าการทำงานในพื้นที่ของเธอนั้นสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเป็นระบบก็เนื่องจากการทำงานที่ถูกฝึกอบรมในเรืองของการคัดแยกข้อมูลของจำนวนประชากรและความต้องการของผู้สูงอายุในท้องที่ โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) มาฝึกอบรมองค์ความรู้ในการทำแบบประเมินเพื่อคัดกรองรูปแบบของผู้สูงอายุในพื้นที่จนทำให้เกิดการบริการได้อย่างตรงจุดให้กับผู้สูงอายุ

              
 “มส.ผส.เขาเข้ามาให้องค์ความรู้กับพวกเราในหลายๆเรื่องทั้งเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับผู้สูงอายุ เรื่องการคัดแยกผู้สูงอายุด้วยแบบประเมินผลทำให้การดูแลผู้สูงอายุในท้องที่ของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในองค์ความรู้เรื่องการประเมินรูปแบบของผู้สูงอายุนั้นทำให้ผู้สูงอายุ 19 คนในพื้นที่ที่ตกหล่นการสำรวจได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง”หัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง