ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รถไฟทางคู่พร้อมขนส่งสินค้า

เศรษฐกิจ
1 ธ.ค. 54
08:26
22
Logo Thai PBS
รถไฟทางคู่พร้อมขนส่งสินค้า

การรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมให้บริการรถไฟทาง คู่เส้นทางฉะชิงเทราไปแหลมฉบัง โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าทางรางจาก 400,000 ทีอียูต่อปีเป็น800,000 ทีอียู

พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาค เปิดเผยว่า โครงการรถไฟทางคู่เริ่มต้นที่สถานีฉะเชิงเทราสิ้นสุดที่สถานีท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางรวม 78 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 5,850ล้านบาท จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างเส้นทางภาคตะวันออกมาสู่ท่าเรือแหลมฉบังจาก 400,000 ทีอียูต่อปีเป็น 800,000 ทีอียูต่อปี

ปัจจุบันเปิดให้บริการขนส่งสินค้าเต็มรูปแบบแล้ว มีจำนวนการขนถ่ายเฉลี่ย 48เ ที่ยวต่อวันจากเดิมที่ขนส่งได้แค่ 24 เที่ยวต่อวัน รองรับการขนส่งสินค้าประเภท น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน สินค้าผ่านแดนจากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด และรองรับการบรรทุกถ่านหินนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตทั้งนี้

แม้ปัจจุบันโครงการนี้จะสามารถขนส่งสินค้าเข้าไปสู่ภายในท่าเรือแหลมฉบังได้ แต่เพื่อให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การท่าเรือแหลมฉบัง จะลงทุนก่อสร้างรางรถไฟเพิ่มภายในท่าเรือ 6 รางภายในท่าเรือ มีระยะทาง 2 กิโลเมตร เพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการขนส่งได้สะดวกมากขึ้น โดยท่าเรือแหลมฉบังจะเป็นผู้ลงทุนในวงเงินก่อสร้างประมาณ 3,600 ล้านบาทและเอกชนในท่าเรือจะลงทุนเพิ่มเติมค่าอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการขนส่งอีกประมาณ 100 ล้านบาท โดยขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

จากนั้นจะต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ และขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนเพราะเป็นโครงการลงทุนที่มีมูลค่าเกิน 1พันล้านบาท ตามพระราชบัญญัติร่วมทุนรัฐวิสาหกิจปี 2535 การท่าเรือจึงจะเริ่มดำเนินการได้สำหรับโครงการรถไฟทาคู่ เส้นทางนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2550 และเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปีนี้ ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมถึง4ปี แต่ได้ต่อสัญญาให้บริษัทผู้รับเหมา4ครั้งโดยครั้งสุดท้ายที่ต่อสัญญาคือเดือนพฤษภาคม 2554  สาเหตุความล่าช้าเกิดจากอุปสรรคการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อกับพื้นที่เกี่ยวข้อง และได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อเดือนเมษายน2554ที่กำหนดหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือที่เป็นไปอย่างล่าช้า สำหรับโครงการนี้ถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยปี 2550-2554


ข่าวที่เกี่ยวข้อง