ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้หรือไม่ !“มีดขูดขวดแก้ว” เสียงเลวร้ายที่สุดในโลก

20 ก.ย. 58
10:07
1,066
Logo Thai PBS
รู้หรือไม่ !“มีดขูดขวดแก้ว” เสียงเลวร้ายที่สุดในโลก

เว็บไซต์ยาฮู ออสเตรเลียเผย นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ในอังกฤษ จัดอันดับ 5 เสียงเลวร้ายที่สุดในโลก พบ “มีดขูดขวดแก้ว” คือเสียงที่คนยี้มากที่สุด

ในโลกนี้มี “เสียง” มากมายที่สร้างความไพเราะจับใจผู้ฟัง แต่ก็มีอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่ “เสียง” กลายเป็นสิ่งเลวร้ายและสร้างความน่าคาญเมื่อยามได้ยิน ล่าสุดเว็บไซต์ข่าวยาฮู ของออสเตรเลียรายงานว่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ จัดอันดับ “5 เสียงที่เลวร้ายที่สุดในโลก” ขึ้น ทำให้รู้ว่าเสียงเล็บมือที่ลากขูดไปตามกระดานดำ หรืออาจเป็นเสียงของผู้ปกครองเด็ก ที่หลายคนคิดว่าเป็นเสียงที่น่ารำคาญที่สุดในโลกนั้นไม่ใช่อีกต่อไป หากแต่เป็นเสียงที่เลวร้ายที่สุดในโลกลำดับที่ 5 ต่างหาก

เว็บไซต์ข่าวยาฮู ของออสเตรเลียรายงานว่า การจัดอันดับดังกล่าวเป็นการทดลองผ่านอาสาสมัคร 13 คน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางสมองผ่านเครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอ (MRI) ขณะที่ได้ฟังเสียงสร้างความทุกข์ทรมาน 74 เสียง ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผลการทดลองพบว่า เสียงช่วงความถี่ประมาณ 2,000-5,000 เฮิร์ตซ์ เป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์สำหรับมนุษย์

ผลงานวิจัยของ ดร.สูขบินเดอร์ คูมาร์ จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Journal of Neuroscience) ระบุว่า ช่วงความถี่ของเสียงในข้างต้นความมีความอ่อนไหวต่อการรับรู้ทางโสตประสาท และส่งผลให้ อะมิกดะลา นิวเคลียสรูปอัลมอนด์ในสมองส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่ควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ในแง่ลบมีการตอบสนองมากขึ้น

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ข่าวยาฮูของออสเตรเลีย ระบุว่า เป็นเรื่องน่าแปลกใจผลการวิจัยพบว่า “เสียงมีดขูดขวดแก้ว” คือเสียงที่เลวร้ายที่สุดในโลก ตามด้วย “เสียงช้อนส้อมลากไปตามกระจก” เป็นอันดับ 2 ส่วนเสียงที่เลวร้ายที่สุดในโลกอันดับ 3 คือ “เสียงชอล์กที่ขูดขีดบนกระดานดำ” อันดับที่ 4 คือ “เสียงไม้บรรทัดที่กระทบกับขวด” และเสียงเลวร้ายอันดับที่ 5 คือ เสียงเล็บมือที่ลากขูดไปตามกระดานดำ

ด้าน ศาสตราจารย์ทิม กริฟฟิธส์ จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล นำผลวิจัยดังกล่าวไปตรวจสอบและพบว่าการศึกษานี้ นำไปสู่ความเข้าใจการตอบสนองของสมองที่มีต่อเสียงต่าง ๆ และยังสามารถช่วยในเรื่องการศึกษาเพื่อรักษาความเจ็บป่วยจากอาการไวต่อเสียง

ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ไทยพีบีเอสออนไลน์
https://www.facebook.com/ThaiPBSNews?ref=hl


ข่าวที่เกี่ยวข้อง