ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดีเอสไอ ชี้ยาแก้หวัดที่หายจากรพ. “อุดรฯ-กาฬสินธุ์” เชื่อมโยงยาเสพติด

อาชญากรรม
29 มี.ค. 55
12:46
25
Logo Thai PBS
ดีเอสไอ ชี้ยาแก้หวัดที่หายจากรพ. “อุดรฯ-กาฬสินธุ์” เชื่อมโยงยาเสพติด

กระทรวงสาธารณสุข ระบุพบโรงพยาบาลเบิกจ่ายยาซูโดอีเฟดรีนผิดปกติ เพิ่มอีก 3 แห่ง ขณะที่การรวมรวมสำนวนคดีจากโรงพยาบาลต่างๆ เจ้าหน้าที่สอบสวนคดีพิเศษพบว่า ยาแก้หวัดที่หายจากโรงพยาบาลจังหวัดอุดรธานี และโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความเชื่อมโยงกับกระบวนการผลิตยาเสพติด

ตำรวจภูธรกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่งสำนวนคดียาแก้หวัด ที่มีส่วนผสมของสารซูโดอีเฟรดรีน ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อตรวจสอบความเชื่อมโยงของยาที่หายไป ในหลายจังหวัด

นายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชำนาญการ เปิดเผยว่า การตรวจสอบสำนวนคดี พบว่า ยาที่หายจากโรงพยาบาลอุดรธานีและโรงพยาบาลกมลาไสย มีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้ายาเสพติด เนื่องจากตัวเลขบนซองยา เป็นชนิดเดียวกับที่พบในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนยาที่หายจากโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นลักษณะนำยาออกจากโรงพยาบาล ไม่มีหลักฐานการเบิกจ่าย จึงต้องสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ส่วนการพบแผงยาแก้หวัด 3,000,000 ใน 2 จุด ภายในที่ดินร้าง ตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวานนี้ ตำรวจภูธรภาค 5 ยืนยันว่า มีความเชื่อมโยงกับแผงยาแก้หวัดที่พบในบ้านเช่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธุ์ โดยเฉพาะจุดที่พบซองยาซึ่งอยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร ลักษณะการย่อยทำลายก็คล้ายกัน และมียี่ห้อยา ตรงกันถึง 18 ยี่ห้อ

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข พบโรงพยาบาล เบิกจ่ายยาซูโดอีเฟดรีนผิดปกติ เพิ่มอีก 3 แห่ง จากทั้งหมด 17 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปางและโรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ เบื้องต้นคาดว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลและเภสัชกรเกี่ยวข้อง และหากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก็จะย้ายมาช่วยราชการที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจสอบวินัยร้ายแรง เช่นเดียวกับผู้อำนวยการโรงพยาบาล และเภสัชกร 6คน ที่ถูกย้ายก่อนหน้านี้

ส่วนการตรวจสอบเส้นทางส่งยาแก้หวัด ตำรวจพบการลักลอบนำยาสูตรซูโดอีเฟดรีน ออกทางชายแดน ด้านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีมากผิดปกติ คาดว่าเชื่อมโยงเครือกับเครือข่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะนี้กำลังตรวจสอบว่ามีผู้มีอิทธิพล เกี่ยวข้องหรือไม่

ด้านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.รายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณายกระดับสารซูโดอีเฟรดีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทที่ 2 ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับฝิ่น และมอร์ฟีน เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบนำสารชนิดนี้ ออกไปจากระบบและนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง