ผลการศึกษาย้ำเนปาลเสี่ยงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางค้นพบว่า มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8 ถึง 8.5 ริกเตอร์ ตอนกลางของหิมาลัย ซึ่งหมายถึงพื้นที่ด้านหน้าเขาหิมาลัย พอล แทพโพเนียร์ หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า การคงอยู่ของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวในอดีต แสดงให้เห็นว่าแผ่นดินไหวในขนาดเดียวกันอาจเกิดขึ้นได้อีกโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในปี 1255 ถึงปี 1934 ที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดรอยแยกในหิมาลัยเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คิดกันก่อนหน้านี้
แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ไม่เป็นที่รู้จักในแถบหิมาลัย จนกระทั่งในปี 1897 ปี 1905 ปี 1934 และปี 1950 แผ่นดินไหวขนาด 7.8 และ 8.9 สร้างความเสียหายอย่างหนัก แต่พวกเขาก็เชื่อว่า มันจะไม่ทำให้เกิดรอยแยกบนพื้นผิวโลก และเป็นรอยเลื่อนที่ตายไปแล้วแต่อย่างไรก็ตาม ในปี 1934 ก็พบรอยแยกยาวกว่า 150 กิโลเมตร ทางด้านใต้ของเอเวอเรสต์ตลอดแนวพรมแดนของเนปาล และกลายเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียและเอเชีย ที่รู้จักกันในชื่อรอยเลื่อน เมน ฟรอนทัล ทรัสต์
เมื่อตรวจสอบด้วยกัมมันตรังสีในตะกอนของแม่น้ำและหินที่สไลด์ลงมานักวิจัยได้จัดการแยกสิ่งที่ได้ทางธรณีวิทยาออกเป็นหลายกลุ่มเพื่อศึกษารอยเลื่อนหลัก และปักหมุดวันที่เกิด 2 แผ่นดินไหวใหญ่ในช่วง 700 ปี ย้อนหลัง ขณะเดียวกันยังได้เตือนถึงช่วงเวลาที่ทิ้งห่างระหว่างการแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ก่อนหน้าว่าอย่าได้ชะล่าใจไป
เช่นเดียวกับนักแผ่นดินไหววิทยา เจมส์ แจ็คสัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่บอกว่า เหมือนกับนาฬิกาแห่งภัยพิบัติกำลังหมุนทวนเข็มย้อนกลับ แจ็คสันเป็น 1 ใน 50 นักวิทยาศาสตร์ ที่เดินทางรอบโลก ที่บอกว่า สิ่งที่น่ากลัวในระยะยาว เมื่อเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหว คือ ความแออัดของประชากรและความเสื่อมของสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ในรอบวงของปรากฏการณ์นักวิจัยพบว่า ยังคงมีพลังงานสะสมเพียงพอที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 เพียงแต่บอกไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ หรืออาจจะกลายเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่กว่านั้น เมื่อยิ่งทิ้งช่วงการเกิดที่นานออกไปภาพความเสียหายที่ยังปรากฏจากแผ่นดินไหวครั้งก่อนยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จะกลับมา