ทีดีอาร์ไอ แนะเปิดเสรีนิคมแก้ปัญหาครอบการงำโทรคมนาคม
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยในงานสัมมนา“แนวทางการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมที่เหมาะสม” ณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่า การแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมโทรคมนาคมปัจจุบันนี้ ได้มีการมีการผูกขาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้ง3 ราย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน)หรือ ดีแทค และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)เนื่องจากแนวโน้มการแบ่งคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ออกเป็น 9สลอต ของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
สำหรับรายละเอียด การให้ใบอนุญาตดังกล่าวยังคงอนุมัติให้ผู้ประกอบการทั้ง3 รายเฉลี่ยกันรายละ 3 สลอต หรือ 15 กิกะเฮิรตซ์ส่งผลให้ไม่มีช่องว่างเหลือให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา อีกทั้งยังไม่เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากเท่าที่ควรนอกจากนี้ ยังเห็นว่าการที่ กสทช.ไปแก้ไขร่างประกาศครอบงำในกิจการต่างด้าวฉบับใหม่ที่กสทช.มีการยกร่างขึ้นมาใหม่ที่กำหนดใหญ่ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ถือเป็นการทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่เกิดการแข่งขันและจะถดถอยลงแม้ว่าร่างฯฉบับใหม่จะตัดถ้อยคำที่ระบุว่าความมั่นคงของชาติออกไปแล้วก็ตามส่งผลให้ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยควรจะได้ตกไปอยู่กับประเทศอื่นๆในภูมิภาคที่เอื้อต่อการลงทุนแทน
“การเอาเรื่องความมั่นคงของชาติขึ้นมาเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ทั้งที่จริงทังหมดก็เพื่อป้องกันตลาดของตนเองทั้งที่ในเรื่องความมั่นคงนั้น หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาเอง ได้สรุปว่าการถือหุ้นของชาวต่างชาติไม่เกี่ยวกับความมั่นคงแต่วิธีสร้างความมั่นคงที่แท้จริงคือการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมเพราะจะทำให้ข้อมูลกระจายอยู่หลายแห่งจนยากต่อการโจรกรรม” นางเดือนเด่น กล่าว
นางเดือนเด่น กล่าวว่า ในการแก้ปัญหาผูกขาดดังกล่าว ทีดีอาร์ไอมีความเห็นให้เปิดเสรีโทรคมนาคมอย่างเต็มตัวเพราะปัจจุบันกฎ กติกาภายใต้การกำกับดูแลของกสทช.ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด ในทางกลับกันหากกสทช.เร่งรัดเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน(อินฟราสตรัคเจอร์ แชร์ริ่ง) ออกใบอนุญาตให้มีการจัดตั้งบริษัทให้เช่าโครงข่าย(เน็ตเวิร์ก คัมพะนี) ทาวเวอร์ คัมพะนี และไฟเบอร์ คัมพะนี จะช่วยดึงดูผู้ประกอบการต่างชาติมากขึ้นส่งผลให้ภาคธุรกิจเกิดการแข่งขันมากขึ้น และผลประโยชน์ก็จะกลับคืนไปสู่ประชาชนอย่างแท้จริง