แม้สถานการณ์ COVID-19 จะดีขึ้น แต่คนไทยมีแนวโน้มตกงานมากขึ้น เฉพาะปีนี้อาจจะมีไม่ต่ำกว่า 3-4 ล้านคน โรคระบาดและปัจจัยทางเศรษฐกิจอาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่ง แต่การปรับแก้กฏหมายให้สถานประกอบการปิดชั่วคราวได้จากเหตุสุดวิสัยก็ยิ่งทำให้แรงงานหลายคนไม่ได้กลับไปทำงาน
การมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองคือความฝันของทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถทำได้ เพราะการมีบ้านไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ภาวะเศรษฐกิจ แต่ยังยึดโยงกับ “นโยบายรัฐ” กับยุทศาสตร์ชาติที่มีเป้าหมายว่าอีก 13 ปี (พ.ศ. 2579) คนไทยทุกคนต้องมีบ้าน อะไรคือปัจจัยที่จะนำเราไปสู่จุดหมายนั้นได้ ?
เงินดิจิทัลยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง ภาระทางการเงินที่เกิดขึ้นใครจะเป็นผู้แบกภาระ รวมไปถึงแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในโครงการนั้นจะนำมาจากแหล่งใด ภาษีเพียงพอหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ทีดีอาร์ไอ
“เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” หนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดไปจนถึง 6 ปี แต่ในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่ถกเถียงกันว่า เงินจำนวนนี้ควรให้กับเด็กทุกคน หรือควรจัดสรรให้กับผู้ที่ยากจนจริง ๆ กันแน่ ? แล้วโมเดลในต่างประเทศเขามีวิธีจัดการเรื่องนี้อย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ
ในที่สุด ครม.เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยที่เสนอถอนร่างกฎกระทรวงที่ให้ต่างชาติซื้อที่ดินได้ “เสาวรัจ รัตนคำฟู” ผอ. วิจัย ด้านนโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีดีอาร์ไอ มองว่า สิทธิประโยชน์ด้านที่ดินไม่น่าใช่ตัวดึงนักลงทุนต่างชาติมากนัก เมื่อเทียบกับกฎระเบียบที่ง่ายและมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญจะเป็นตัวดึงนักลงทุนมากกว่า