ปัญหาขัดแย้ง
แต่เมื่อมติที่ประชุมผู้ท้องถิ่นตำบลลีเล็ด หาทางออกด้วยการยกพื้นที่หมู่ 4 , 5 และ หมู่ 8 ให้ชาวประมงจากพื้นที่อื่นเข้าไปคราดหอย เหลือเพียงพื้นที่หมู่ 2 หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่อ่าวทั้งหมด กว่า 17, 000 ไร่ ที่ยังกันไว้เป็นเขตอนุรักษ์ สร้างความพอใจให้กับชาวประมงพื้นบ้านของหมู่บ้านสันติสุขและยอมรับว่า อ่าวลีเล็ด ถือเป็นอ่าวที่เหลือเพียงแห่งเดียวของจังหวัด ซึ่งยังคงความสมบูรณ์ของหอยแครง อาชีพเดียวที่สร้างรายได้ให้กับชาวประมงที่นี่ ด้วยการนำเรือออกคราดหอยขนาดเล็กกลับไปเลี้ยงในฟาร์มหรือคอกเลี้ยงของตนเอง
นายซาลีม ศรีเจริญ ชาวประมงหมู่บ้านสันติสุข จ.สุราษฎร์ อดีตประธานชมรมผู้เลี้ยงหอยแครงจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 ในตัวแทนทางจังหวัดที่เข้าร่วมเจรจาและสามารถทำให้กลุ่มเรือประมงพื้นบ้านที่ร่วมชุมนุมยอมสลายตัว กล่าวว่า โดยส่วนตัวรู้สึกสงสารชาวประมงของตำบลลีเล็ดที่ไม่สามารถออกไปหากินยังพื้นที่อื่นได้ เพราะหลายอำเภอมีการอนุญาตจากกรมประมงให้มีการเพาะเลี้ยงหอยแครงอย่างถูกต้อง มีการปักกั้นแนวเขตห้ามเข้าอย่างชัดเจนต่างจาก อ.พุนพิน ที่ตั้งของอ่าวลีเล็ด ยังไม่มีการอนุญาตให้เลี้ยงแม้แต่รายเดียว บวกกับท้องถิ่นพร้อมใจกันอนุรักษ์จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ให้เจ้าของพื้นที่กำหนดแนวเขตอนุญาต ให้ชาวประมงต่างถิ่นหากินในพื้นที่จำเพาะ
ขณะที่บริเวณอ่าวลีเล็ด อ.พุนพินแห่งนี้ จะมีสัตว์น้ำโดยเฉพาะแหล่งกำเนิดหอยแครงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละปีสร้างรายได้ให้ชาวประมงและเจ้าของฟาร์มมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ปัจจุบันทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการอนุญาตจากกรมประมง ให้เพาะเลี้ยงหอยในทะเลทั้งสิ้น กว่า 4,000 ไร่ ลักลอบเลี้ยงโดยผิดกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 20,000 - 30,000 ไร่