ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สื่อต่างชาติ ชี้ สื่อสาธารณะต้องให้ความสำคัญคนทุกกลุ่ม-ไม่ถูกครอบงำทางการเมือง

สังคม
30 พ.ค. 55
06:13
31
Logo Thai PBS
สื่อต่างชาติ ชี้ สื่อสาธารณะต้องให้ความสำคัญคนทุกกลุ่ม-ไม่ถูกครอบงำทางการเมือง

การประชุมสุดยอดสื่อเอเชีย หรือ AMS 2012 วันที่ 2 สื่อต่างชาติยังย้ำให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะตัวแทนจากวิทยุอินเดีย ที่ระบุว่า ต้องผลิตข่าว 23 ภาษาหลัก และ 127ภาษาย่อยในประเทศเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ขณะที่ ผอ.สำข่าวเซี่ยงไฮ้ เน้นการทำข่าวต้องคำนึงถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น ส่วนตัวแทนบีบีซี ยืนยัน การปรับตัวของสื่อสาธารณะต้องคำนึงถึงความแม่นยำ เป็นกลาง และ ถูกต้อง อยู่เสมอ

  

<"">
  
<"">

การประชุมสุดยอดด้านสื่อสารมวลชนแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 9 หรือ Asia Media Summit 2012 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และ สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนากิจการด้านสื่อสารมวลชนในภูมิภาคเอเชีย วันที่ 2 ในหัวข้อ " การกระจายเสียงสาธารณะ วิถีทางใหม่ และ การเริ่มต้นใหม่"

นายซัน เหว่ย ผู้อำนวยการสำนักข่าวเซี่ยงไฮ้ หรือ เอสเอ็มจี กล่าวว่า การให้บริการสื่อสาธารณะในประเทศจีนนั้น แต่เดิมเป็นการให้บริการกับกลุ่มผู้ชมเพียงเฉพาะในจีน หรือ เมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นหลัก ซึ่งการเข้ามาอาศัยของกลุ่มชาวต่างชาติในประเทศจีนทำให้เกิดเป็นชุมชนขึ้นมา ทำให้สื่อท้องถิ่นจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นระหว่างชาวจีนและชาวต่างชาติให้เกิดขึ้น

“สื่อสาธารณะถือว่าเป็นเวทีกลางที่จะช่วยเผยแพร่ ความรู้ และ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น เมื่อสังคมมีการเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ มีความหลากกลายทางวัฒนธรรมชาติ และ เชื้อชาติ จะทำให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น” ผอ.สำนักข่าวเซี่ยงไฮ้ กล่าว ยืนยัีน

ขณะที่นายแอล ดีมันด์ลอย ตัวแทนสื่อจากวิทยุออลอินเดีย กล่าวว่า การให้บริการวิทยุในเชิงสาธารณะต้องเน้นการให้บริการเพื่อสังคมอย่างตรงความต้องการมากกว่าการเน้นในเชิงพานิชย์ โดยเฉพาะประเทศอินเดียที่มีกลุ่มผู้ฟังหลากหลาย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนชรา แต่ยังมีกลุ่มผู้ฝั่งชายขอบอาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดารไปจนถึงชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งมีความต้องการเนื้อหาข่าวสารมี่แตกต่างกัน โดยผู้ฟังกลุ่มนี้มีความต้องการเนื้อหาเกี่ยวกับ ธรรมชาติ แม่น้ำลำธาร การอพยพย้ายถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่ง

“สถานีวิทยุออลอินเดีย ให้บริการที่หลากหลายต่อผู้ฟังทุกกลุ่ม ทุกชาติพันธุ์ทั่วประเทศด้วยการพัฒนาทีมข้อมูลในการผลิตเนื้อหาที่ตรงตามความต้องการของผู้ฟังแต่ละกลุ่มอย่างแท้จริง รวมถึงการผลิตเนื้อหาในหลากหลายภาษาเพื่อครอบคลุมกลุ่มผู้ฟังให้มากที่สุด ” ตัวแทนจากวิทยุอินเดีย กล่าว

ดังนั้นทางสถานีจึงมีทีมงานที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทำวิจัยเกี่ยวกับเนื้อหารายการที่ผู้ชมต้องการ โดยมีผู้สื่อข่าวประจำทุกมลรัฐกว่า 40,000 คน รวมไปถึงโปรแกรมเมอร์ นักภาษาศาสตร์ ที่สามารถผลิตเนื้อหาให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยขณะที่ทางสถานีได้ถ่ายทอดด้วยสถานีกว่า 200 แห่งทั่วประเทศผ่าน 23 ภาษาหลัก และ 127ภาษาย่อย

อย่างไรก็ดีตัวแทนสื่อวิทยุจากอินเดีย ได้ย้ำว่า  ข้อจำกัดของสื่อสาธารณะที่เน้นการทำงานเพื่อสังคม และ สาธารณะประโยชน์ นั้นจำเป็นต้องมีเงินทุนในการรองรับการทำงาน เนื่องจากมีรายได้ในการเผยแพร่น้อยกว่าการให้บริการในเชิงพาณิชย์

ด้านนายไมเคิล วิลเลียม คณะกรรมการกำกับดูแลระหว่างประเทศสำนักข่าว บีบีซี ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ความเป็นอิสระในกรทำงานของบีบีซี นั้นถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหลักประกันอันสำคัญว่า การทำข่าวของบีบีซีจะไม่ถูกครอบงำทางการเมือง แต่ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ถือ เป็นเรื่องท้าทายที่บีบีซี และ สื่อสาธารณะจะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดในวงการสื่อ และ ต้องคำนึงถึงความเป็นสื่อสาธารณะอยู่เสมอ ซึ่งคือการรายงานข่าว ด้วยความแม่นยำ เป็นกลาง และ ถูกต้อง     

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง