ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วัยกลางคน-สูงวัยใช้ “โซเชียลมีเดีย” อาจป้องกัน-บรรเทาซึมเศร้าได้


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

13 พ.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

วัยกลางคน-สูงวัยใช้ “โซเชียลมีเดีย” อาจป้องกัน-บรรเทาซึมเศร้าได้

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/1884

วัยกลางคน-สูงวัยใช้ “โซเชียลมีเดีย” อาจป้องกัน-บรรเทาซึมเศร้าได้
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ผลการศึกษาวิจัยของจีนที่เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ ทรานสเลชันนัล ไซไคอะทรี (Translational Psychiatry) ระบุว่าการใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) อาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการซึมเศร้า (Depression) ในกลุ่มคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุได้

ทีมนักวิจัยที่นำโดยฉีเหยี่ยนหลิง ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยหนานไคในเทศบาลนครเทียนจินทางตอนเหนือของจีน วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาระยะยาวด้านสุขภาพและการเกษียณอายุของจีน (China Health and Retirement Longitudinal Study) ซึ่งเป็นการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่มุ่งเน้นผู้อยู่อาศัยชาวจีนอายุ 45 ปีขึ้นไป

ผู้สูงอายุร้องเพลงกับเพื่อน ๆ ผ่านแอปพลิเคชันวีแชทบนสมาร์ตโฟนในเมืองเถิงชง มณฑลอวิ๋นหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 17 ส.ค. 2020 ภาพจากซินหัว

ในการวิจัยที่จัดทำครั้งแรกเมื่อปี 2018 และอีกครั้งในปี 2020 นักวิจัยได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) กับอาการ “ซึมเศร้า” (Depression) โดยทดสอบความเชื่อมโยงของการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มสำรวจ 9,121 คนที่ไม่มีอาการซึมเศร้าในปี 2018 กับกิจกรรมโซเชียลมีเดียและอาการซึมเศร้าที่มีรายงานในช่วง 2 ปีถัดมา

ทีมนักวิจัยยังประเมินว่าการใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) ซึ่งรวมถึงการใช้แพลตฟอร์มแชตออนไลน์ เกม และช้อปปิง จะสามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า (Depression) ได้หรือไม่ในกลุ่มสำรวจ 5,302 คนที่มีอาการซึมเศร้าในปี 2018

สำหรับคนกลุ่มสำรวจที่ระบุในตอนแรกว่าไม่มีอาการ “ซึมเศร้า” (Depression) การใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) เชื่อมโยงกับแนวโน้มมีอาการซึมเศร้าลดลงร้อยละ 24

ส่วนในกลุ่มสำรวจที่ระบุว่ามีอาการซึมเศร้าในปี 2018 พบว่าคนที่เล่นกิจกรรมบนโลกออนไลน์ 3 จาก 7 กิจกรรมที่ตรวจวัดได้ ได้แก่ การแชต อ่านข่าว ดูวิดีโอ เล่นเกม จ่ายเงินผ่านมือถือ ใช้วีแชต และโพสต์โมเมนต์บนวีแชตในช่วง 2 ปีของการสำรวจ มีแนวโน้มกลับสู่ภาวะที่ไม่มีอาการ “ซึมเศร้า” (Depression) กว่า 1.24 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media)

นอกจากนี้ ผู้ที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) อย่างต่อเนื่องในปี 2018-2020 มีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกกว่า 1.36 เท่า

visit-house-two-senior-old-mature-female-friends-looking-through-old-photos-digital-album-together-with-tablet-device

ฉีเผยว่าปัญหาภาวะซึมเศร้า (Depression) ในหมู่ผู้สูงอายุจะเด่นชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉีจึงเสนอแนะว่าควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้หญิง รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยและผู้อยู่อาศัยในชนบท

ฉีสนับสนุนมาตรการป้องกันและควบคุมที่คุ้มค่า เช่น การอุดหนุนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้สูงอายุ และการเผยแพร่เนื้อหาความรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า (Depression) บนโซเชียลมีเดีย (Social Media)

อนึ่ง สถิติทางการเผยว่าจีนมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปรวม 297 ล้านคนในปี 2023 คิดเป็นร้อยละ 21.1 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ข้อมูลของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติระบุว่าอัตราความชุกของภาวะซึมเศร้า (Depression) ในจีนอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2019 และภาวะวิตกกังวลที่ผิดปกติอยู่ที่ร้อยละ 4.98


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : english.news, Xinhua

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โซเชียลมีเดียSocial Mediaโรคซึมเศร้าซึมเศร้าDepressionผู้สูงอายุผู้สูงวัยวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

(เซบา บาสตี้ : 0854129703) : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด