พฤกษศาสตร์น่ารู้ ! Thai PBS Sci & Tech พาไปยลโฉมกล้วยไม้ป่าพันธุ์หายาก “ช้างดำ” หรือ 𝘗𝘰𝘮𝘢𝘵𝘰𝘤𝘢𝘭𝘱𝘢 𝘴𝘱𝘪𝘤𝘢𝘵𝘶𝘮 𝘉𝘳𝘦𝘥𝘢 ที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ระดับความสูง 700-1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
กล้วยไม้ชนิดนี้จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีลักษณะเด่นคือ ลำต้นสั้น ใบเรียงสลับซ้อนกันรูปขอบขนาน มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 23 เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะเว้าบุ๋มไม่เท่ากันและขอบใบหยักเป็นคลื่น ช่อดอกออกที่ข้อ อาจมีทั้งช่อเดี่ยวและแตกแขนง ห้อยลงยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร
ความพิเศษของดอกช้างดำอยู่ที่สีสันอันละเอียดอ่อน ดอกมีขนาดเล็กกว้างเพียง 0.6 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน บางครั้งมีจุดประสีแดงอมน้ำตาล ดอกบานทนหลายวัน โดยจะเห็นการบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม
ช้างดำเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้งป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น โดยชอบอาศัยในพื้นที่ร่มเงาหรือมีแสงแดดรำไร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้เพื่อให้กล้วยไม้ป่าอันล้ำค่าชนิดนี้ได้เติบโตตามธรรมชาติต่อไป
ทั้งนี้ อยากขอย้ำเตือนว่า ความงดงามของกล้วยไม้ป่าควรคงอยู่ในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของผืนป่าไทย
Thai PBS Sci & Tech พรรณไม้น่ารู้
📌อ่าน : สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ! “มันเทศ” วงศ์เดียวกับ “ผักบุ้ง”
📌อ่าน : นักวิจัยไทยค้นพบต่อเนื่อง ! “กระเจียวอาจารย์วันชัย” พืชวงศ์ขิงชนิดใหม่จากป่าเมืองกาญฯ
📌อ่าน : มหัศจรรย์แห่งป่าภูวัว ! “ก่อบังบาตร” ต้นไม้แหวกแนวญาติร่วมสกุล
📌อ่าน : บานสะพรั่ง ! “ดอกกระดุมเงิน” ความมหัศจรรย์บนภูกระดึง
📌อ่าน : สวยตราตรึง ! “รองเท้านารีอ่างทอง” กล้วยไม้ป่าเฉพาะถิ่น
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติจังหวัดสุราษฎร์ธานี
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech