ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อย่าเพิ่งเชื่อ ! โรยหินเกล็ดกันงู


Verify

19 ก.พ. 68

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

อย่าเพิ่งเชื่อ ! โรยหินเกล็ดกันงู

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2344

อย่าเพิ่งเชื่อ ! โรยหินเกล็ดกันงู
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานปฏิเสธคำกล่าวอ้างเท็จที่ถูกแชร์หลายพันครั้งในโพสต์เฟซบุ๊กที่อ้างว่าหินเกล็ดหรือกรวดสามารถป้องกันไม่ให้งูเข้าบ้านได้ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดรับรองคำกล่าวอ้างเท็จนี้ ที่จริงแล้วงูสามารถเคลื่อนตัวได้ดีมากบนพื้นผิวขรุขระ และวิดีโอทดลองได้พิสูจน์แสดงให้เห็นว่างูสามารถเลื้อยผ่านบนหินเกล็ดได้อย่างสบาย ๆ

"งูเกลียดหินเกล็ดนะรู้มั้ย… โรยไว้เยอะ ๆ ให้รอบบ้าน งูเงี้ยวไม่เข้าใกล้เลย" เพจเฟซบุ๊กที่มีผู้ติดตามมากกว่า 867,000 บัญชี โพสต์ข้อความนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568

"เพราะท้องงูแพ้หินเกล็ดมันจะบอบบางมากเวลาเลื้อยผ่านหินชนิดนี้ และเคลื่อนที่ช้าลงจนทำให้เกิดอันตรายต่อตัวมันได้ ใครกลัวงู หามาเทให้รอบบ้านเลย"

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จ บันทึกภาพเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568

โพสต์ดังกล่าวถูกแชร์มากกว่า 7,900 ครั้ง โดยมีผู้ใช้งานหลายคนเข้ามาขอบคุณเจ้าของโพสต์เกี่ยวกับคำแนะนำเรื่องวิธีป้องกันงู

"เยี่ยมมากค่ะขอบคุณข้อมูลดี ๆ ค่ะ" ความเห็นหนึ่งระบุ

"ที่บ้านเทรอบบ้านเลยค่ะ" อีกความเห็นกล่าว

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมาก และมักปรากฏคำแนะนำที่ไม่มีมูลเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้บนโลกออนไลน์เป็นระยะ ๆ

AFP ได้เผยแพร่รายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างเท็จที่ว่าต้นท้าวยายม่อมสามารถใช้รักษาแผลงูกัดได้ หรือแม้กระทั่งโพสต์ที่เตือนให้หลีกเลี่ยงการรับประทานมะเขือเทศที่มีรอยแผลเพราะอาจเป็นรอยกัดของงูซึ่งอาจทิ้งพิษตกค้างไว้

'เลื้อยบนพื้นผิวขรุขระได้ดีมาก'

ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานในไทยบอกว่าการใช้หินเกล็ดป้องกันงูเป็นคำกล่าวอ้างที่ขาดความน่าเชื่อถือ

ศรานนท์ เจริญสุข ผู้จัดการอาวุโสแห่งพิพิธภัณฑ์งูสยามเซอร์เพนทาเรี่ยม บอกกับ AFP ว่าคำกล่าวอ้างนี้ "ไม่มีงานวิจัย การทดลอง หรือเหตุผลรองรับ" (ลิงก์บันทึก)

"งูสามารถเลื้อยบนพื้นที่ขรุขระได้ดีกว่ามาก และอาจเลื้อยไม่ได้หากเป็นพื้นเรียบลื่น" ศรานนท์ระบุ

นิรุทธิ์ ชมงาม ที่ปรึกษาชมรมอสรพิษวิทยา บอกกับ AFP เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 ว่าหินเกล็ดใช้ป้องกันงูไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นงูชนิดใดก็ตาม

เขาอธิบายว่างูมีเกล็ดท้องที่แข็งแรงและเหนียวเพื่อปกป้องอวัยวะภายในและสร้างความทนทานต่ออุปสรรคนานาชนิดตามพื้น ซึ่งตรงกันข้ามกับคำกล่าวอ้างในโพสต์เท็จที่ระบุว่า "ท้องงูแพ้หินเกล็ด" และ "บอบบางมาก"

นิรุทธิ์บอกกับ AFP ว่าเขาได้ทำการทดลองพิสูจน์ความเชื่อเกี่ยวกับงูว่าพวกมันจะตอบสนองอย่างไรหากเจออุปสรรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหินเกล็ด กำมะถัน และน้ำมันเครื่อง เป็นต้น (ลิงก์บันทึก)

ในช่วงนาทีที่ 1:25 จะสังเกตเห็นได้ว่างูสามารถเลื้อยผ่านหินเกล็ดได้อย่างสบาย ๆ

ภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอพิสูจน์ความเชื่อเรื่องงู

"ถ้าเราใช้หินเกล็ดเพราะคิดว่ามันป้องกันงูได้ มันก็ไม่เกิดประโยชน์ เสียเงินเสียทองไปกับการใช้ของไม่ถูกวัตถุประสงค์" นิรุทธิ์กล่าวสรุป 

แม้ว่าจะไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันงูได้อย่างสิ้นเชิงในทุกกรณี แต่ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองเห็นตรงกันว่าการจัดสภาพแวดล้อมรอบบ้านให้สะอาด ไม่รก ไม่มีมุมอับ และการอุดรูหรือโพรงให้เรียบร้อยนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันงูอันตราย อย่างเช่นงูเห่า ไม่ให้เข้ามาในบ้าน

ข้อมูลจาก : AFP

พิสูจน์ความเชื่อโบราณกับของกันงูต่าง ๆ

เรายังพบว่า ที่ผ่านมา เพจ Nick Wildlife ได้มีการพิสูจน์ความเชื่อเรื่องของ "งูกลัวมะนาวหรือไม่" โดยมีการนำมะนาวผ่าซีกวางไว้บนพื้น และพิสูจน์ด้วยการนำงูมาเลื้อยผ่าน ซึ่งปรากฏว่า งูไม่กลัวมะนาวแต่อย่างใด โดยสามารถเลื้อยผ่านได้ตามปกติ

ภาพบันทึกหน้าจอจากเพจเฟซบุ๊ก Nick Wildlife พิสูจน์ว่างูไม่ได้กลัวมะนาวแต่อย่างใด

ชมคลิปวิธีรับมือกับงูพิษ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

งูสัตว์เลื้อยคลานสาระความรู้กันงูเข้าบ้านปวดฟันงูพิษ
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

ทีม Thai PBS Verify

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด