ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิทย์อธิบาย ทำไม ? “แผ่นดินไหวเมียนมา” จึงมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

1 เม.ย. 68

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

นักวิทย์อธิบาย ทำไม ? “แผ่นดินไหวเมียนมา” จึงมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2538

นักวิทย์อธิบาย ทำไม ? “แผ่นดินไหวเมียนมา” จึงมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทำการอธิบาย “แผ่นดินไหวครั้งใหญ่” ที่ประเทศเมียนมา เมื่อ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา จึงเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดซึ่งเกิดขึ้นในประเทศในรอบหลายทศวรรษ โดยจากการสร้าง “แบบจำลองภัยพิบัติ” บ่งชี้ว่าอาจมีผู้เสียชีวิตมากกว่าหนึ่งหมื่นคนเลยทีเดียว

ความเสียหายหลังจากเกิด“แผ่นดินไหวครั้งใหญ่” ที่ประเทศเมียนมา เมื่อ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ภาพจาก AFP

โดยการประเมินจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดจากรอยเลื่อนสะกาย ในเมืองมัณฑะเลย์ ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือของเมืองสะกาย ของเมียนมาเพียง 16 กิโลเมตร (ห่างจากกรุงเทพมหานคร 1,100 กิโลเมตร) ซึ่งเมืองมัณฑะเลย์ มีประชากรอาศัยอยู่นับหนึ่งล้านคน จึงมีความเป็นไปได้มากว่าจะมีผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตจำนวนมาก และยังสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่ง ณ วันที่ 1 เม.ย. 68 มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คนแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ของ USGS ระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตอาจมีโอกาสอยู่ที่ 35% หรือประมาณ 10,000-100,000 คนเลยทีเดียว นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังสร้างความเสียหายทางการเงิน ซึ่งอาจมีมูลค่ารวมหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว (เกินกว่า GDP ของเมียนมา)

USGS ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เปราะบางจะทำให้ความพยายามในการบรรเทาทุกข์ มีความซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย

ความเสียหายหลังจากเกิด“แผ่นดินไหวครั้งใหญ่” ที่ประเทศเมียนมา เมื่อ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ภาพจาก AFP

Bill McGuire ศาสตราจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์และสภาพภูมิอากาศ University College London (UCL) เผยว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้อาจเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในแผ่นดินใหญ่ของเมียนมาในรอบ 3-4 ศตวรรษ ขณะที่ แผ่นดินไหวขนาด 6.7 เกิดขึ้นไม่กี่นาทีหลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก McGuire จึงมีการเตือนว่า “อาจเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงมากกว่านี้” ได้ในอนาคต

ขณะที่ Rebecca Bell ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาจาก Imperial College London (ICL) กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้น่าจะเป็น “การเคลื่อนตัวแบบไถลออกด้านข้าง” ของรอยเลื่อนสะกาย และด้วยความที่รอยเลื่อนสะกายมีความยาวกว่า 1,200 กิโลเมตร (745 ไมล์) มีลักษณะตรงมาก ซึ่งรอยเลื่อนลักษณะตรงแบบนี้ หากยิ่งมีการเคลื่อนตัวมากขึ้น จะยิ่งทำให้แผ่นดินไหวมีขนาดใหญ่ – รุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย จนสร้างความเสียหายมหาศาล

ความเสียหายหลังจากเกิด“แผ่นดินไหวครั้งใหญ่” ที่ประเทศเมียนมา เมื่อ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ภาพจาก AFP

ด้าน Ian Watkinson จากภาควิชาธรณีวิทยา Royal Holloway University of London กล่าวว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาคือ “การเติบโตของอาคารสูงที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก” นอกจากนี้ ด้วยความที่เมียนมาซึ่งต้องเผชิญกับความขัดแย้งมายาวนาน และมีการบังคับใช้การออกแบบอาคารในระดับต่ำ

แผ่นดินไหวครั้งนี้จึงเป็นการทดสอบโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ของเมียนมาครั้งแรก ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีจุดศูนย์กลางใกล้กับเมืองใหญ่ของประเทศด้วย

จากคำกล่าวที่มีคนพูดบ่อย ๆ “แผ่นดินไหวไม่ได้ฆ่าคน มีแต่โครงสร้างที่พังทลายเท่านั้นที่ฆ่าคน” เพื่อรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถึงเวลาแล้วที่ทั้งเมียนมารวมถึงไทยต้องจริงจังให้ความสำคัญที่จับได้อย่างเป็นรูปธรรม ในการออกกฎเกณฑ์สร้างตึกสร้างอาคารสูงป้องกันการถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

📌 ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับ Thai PBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/Earthquake และทุกช่องทางออนไลน์ไทยพีบีเอส


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : phys

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แผ่นดินไหวเมียนมาเมียนมาแผ่นดินไหวแผ่นดินไหว กทม.แผ่นดินไหวกรุงเทพฯแผ่นดินไหวกรุงเทพแผ่นเปลือกโลกรอยเลื่อนสะกายนักวิทยาศาสตร์วิทย์น่ารู้วิทยาศาสตร์น่ารู้วิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด