เด็ก ๆ หลายคนคงต้องเคยเรียน “กวดวิชา” เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ แต่หลังโควิด-19 ทำให้การศึกษาเปลี่ยนรูปแบบไปมาก “กวดวิชา” ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ? ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ กับ คุณพัฐดลย์ โสภาจิตต์วัฒนะ นักพัฒนาหลักสูตรกวดวิชา
ธุรกิจ Startup ในประเทศไทยอาจถูกมองว่าไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเหมือนอย่างกับประเทศอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วการเติบโตของธุรกิจ Startup ในนั้นเป็นอย่างไร ? แล้วต้องทำอย่างไร Startup ถึงจะไปถึงระดับโลก ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ไทยกลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับซาอุดีอาระเบียในรอบ 35 ปี พร้อมกันกับนายกรัฐมนตรีของซาอุดีอาระเบียประกาศนโยบาย Vision 2023 นโยบายนี้คืออะไร ส่งผลอย่างไรกับประเทศไทย ? พูดคุยกับ คุณโอฬาร วีระนนท์ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ทัวร์คอนเสิร์ตของศิลปินระดับโลกในทวีปเอเชียเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แฟนเพลงต่างตั้งตารอ หลากประเทศก็อยากให้ศิลปินเหล่านั้นเข้ามาจัดคอนเสิร์ต แล้วในด้านเศรษฐกิจ การทัวร์คอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดังช่วยสร้างมูลค่าอะไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยกับดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และริชาร์ต วัชราทิตย์ เกษศรี
เงินเก็บ “ล้านแรก” คือเป้าหมายของ “มนุษย์เงินเดือน” หลายคน ถึงตอนนี้มีเทคนิคใดบ้างที่จะช่วย “ลดค่าใช้จ่าย ลดความต้องการในการใช้เงิน และช่วยออมเงิน” เพื่อให้เป้าหมายสำเร็จเร็วขึ้น ร่วมพูดคุยกับ คุณอธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนหุ้นคุณค่า เจ้าของเพจ นิ้วโป้ง Fundamental VI และ คุณจิตรกร แสงวิสุทธิ์ เจ้าของเพจ ปั้นเงิน - Artisan Money
เงินเก็บ “ล้านแรก” คือเป้าหมายของ “มนุษย์เงินเดือน” หลายคน ถึงตอนนี้มีเทคนิคใดบ้างที่จะช่วย “ต่อยอด” เงินที่มีอยู่เพื่อให้เป้าหมายสำเร็จเร็วขึ้น ร่วมพูดคุยกับ คุณอธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนหุ้นคุณค่า เจ้าของเพจ นิ้วโป้ง Fundamental VI และ คุณจิตรกร แสงวิสุทธิ์ เจ้าของเพจ ปั้นเงิน - Artisan Money
ประเทศไทยมีการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ “เมืองใหญ่และเมืองรอง” ไม่เท่ากัน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ? การเก็บภาษี Hometown Tax หรือภาษีบ้านเกิด จะช่วยลดช่องว่างเหล่านี้ได้จริงหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.นรพัชร์ อัศววัลลภ ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมข้อมูลเศรษฐกิจและงานวิจัย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และบรรณาธิการวารสารการเงินการคลัง
ในช่วงที่ผ่านมามีธุรกิจ Startup เกิดขึ้นมากมาย แต่อัตราการประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อย อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ Startup นั้น ๆ ประสบความสำเร็จ แล้วงานวิจัยจะช่วยให้ Startup พัฒนาและเติบโตได้อย่างไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ข่าวการฉ้อโกงจากบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ตกแต่งบัญชีการเงินจนสร้างความเสียหายรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ปัญหาดังกล่าวอยู่ที่ตรงไหน นักลงทุนเองต้องระวังอะไรบ้าง หน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลจะสามารถอุดรอยรั่วนี้ได้อย่างไร ร่วมพูดคุยกับ คุณบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นักการเงิน อดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก
การเพิ่มผลผลิตและมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ต้องมีการนำงานวิจัยและนวัตกรรมมาปรับใช้ แล้วงานวิจัยที่สามารถนำมาต่อยอดให้กับเกษตรกรไทยเป็นอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทำให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ส่วนหนึ่งต้องทำงานหนักจนตัดสินใจลาออก ซ้ำเติมปัญหาความขาดแคลน ยิ่งประเทศไทยใกล้เข้าสู่สังคมสูงวัย ความต้องการแพทย์ยิ่งสูงขึ้น แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์สื่อสารมวลชน และ คุณบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นักการเงิน อดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก
การลาออกของแพทย์เพิ่มมากขึ้นยิ่งทำให้สัดส่วนแพทย์ต่อคนไข้น้อยลง เกิดปัญหาอะไรขึ้น ? สิทธิ์รักษาฟรีทำให้มีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ? เพิ่มค่าตอบแทน เพิ่มจำนวนนักศึกษาแพทย์แก้ไขปัญหานี้ได้หรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์สื่อสารมวลชน และ คุณบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นักการเงิน อดีตประธานสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก
รัฐสวัสดิการที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องการ แต่แม้ประเทศที่เจริญแล้ว รัฐสวัสดิการก็มีระดับที่ไม่เท่ากัน หากประเทศไทยอยากจัดสรรรัฐสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ? การจัดเก็บภาษีให้มากขึ้นจะเป็นวิธีแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยประเด็นนี้กับ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ TDRI
เทรนด์การท่องเที่ยวแบบ “เสี่ยงภัย” ไม่ว่าจะเป็นเที่ยวใต้ทะเลลึกหรือสำรวจอวกาศ กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มเศรษฐีทั่วโลก ในปี 2023 เพียง 6 เดือนที่ผ่านมา มูลค่าการท่องเที่ยวแบบ Extreme Tourism มีถึงประมาณ 35 ล้านล้านบาท เหตุใดแม้เสี่ยงตายแต่กลับเป็นที่นิยม ไทยจะต่อยอดเทรนด์นี้ได้อย่างไร ? มาพูดคุยประเด็นกับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และริชาร์ต วัชราทิตย์ เกษศรี
อุตสาหกรรมการบินในไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการมีท่าอากาศยานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ แล้วในอนาคตจะเป็นอย่างไร ? การเข้ามาของ AAM (Advanced Air Mobility) หรือเครื่องบินที่สามารถบินขึ้นหรือลงจอดได้ในแนวดิ่ง จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.นวทัศน์ ก้องสมุทร หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านการขนส่งทางอากาศ ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม” คือการเรียนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ทั้งจากผู้เรียนและครูผู้สอน แนวคิดการเรียนนี้สามารถนำมาปรับใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง ? ร่วมประเด็นนี้กับ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์สื่อสารมวลชน
“ภาษี” ถือเป็นมาตรการการคลังอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกว่า “อัตราภาษีก้าวหน้า” แล้วภาษีที่ว่ามานี้มีคุณสมบัติอย่างไร ? เทียบกับต่างประเทศแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยในประเด็นนี้กับ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส ด้านนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ TDRI