ติดตาม “แก้วตา ปริศวงศ์” ไปเรียนรู้แนวคิดของคำว่า “ออกกำลังกาย” ในประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจากการเปิดประเทศและเปิดรับแนวคิดของชาวตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศต้องการสร้างความเป็นอารยะ โดยการออกกำลังกายยุคแรกเกิดขึ้นในกลุ่มคนต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและชนชั้นสูง
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 การสร้างพลเมืองที่มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ จึงเป็นอุดมคติที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นต้องการ การเรียนการสอนพลศึกษาจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยปี พ.ศ. 2479 ได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ซึ่งปัจจุบันคือ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในยุคนั้นคำว่า “สุขภาพดี” นอกจากการมีร่างกายที่แข็งแรงแล้ว รูปร่างในอุดมคติของชายไทย คือการมีร่างกายที่บึกบึน กล้ามเนื้อชัดเจน ทำให้เกิดสถานออกกำลังกายที่เรียกว่า “ยิม” รวมไปถึงสถานออกกำลังกายในยุคต่อมาที่เรารู้จักในนาม “ฟิตเนส”
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ประวัติศาสตร์พลานามัย จากสถานกายบริหาร สู่ยิมและฟิตเนส วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ติดตาม “แก้วตา ปริศวงศ์” ไปเรียนรู้แนวคิดของคำว่า “ออกกำลังกาย” ในประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจากการเปิดประเทศและเปิดรับแนวคิดของชาวตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศต้องการสร้างความเป็นอารยะ โดยการออกกำลังกายยุคแรกเกิดขึ้นในกลุ่มคนต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและชนชั้นสูง
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 การสร้างพลเมืองที่มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ จึงเป็นอุดมคติที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นต้องการ การเรียนการสอนพลศึกษาจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยปี พ.ศ. 2479 ได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ซึ่งปัจจุบันคือ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในยุคนั้นคำว่า “สุขภาพดี” นอกจากการมีร่างกายที่แข็งแรงแล้ว รูปร่างในอุดมคติของชายไทย คือการมีร่างกายที่บึกบึน กล้ามเนื้อชัดเจน ทำให้เกิดสถานออกกำลังกายที่เรียกว่า “ยิม” รวมไปถึงสถานออกกำลังกายในยุคต่อมาที่เรารู้จักในนาม “ฟิตเนส”
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ประวัติศาสตร์พลานามัย จากสถานกายบริหาร สู่ยิมและฟิตเนส วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live