รู้จักกับสารสำคัญในอาหาร คุณค่าทางโภชนาการที่ปลอดภัยออกฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ทดแทนการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ซึ่งมีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ที่หากผู้บริโภคได้รับในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเภท และโรคหลอดเลือดหัวใจ ติดตามได้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
แก้ไขปัญหาความผิดปกติของสายตา ไม่ว่าจะเป็นภาวะสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด หรือแม้กระทั่งสายตาเอียง ด้วยการทำเลสิก (LASIK) โดยใช้เลเซอร์ในการปรับเปลี่ยนรูปร่างความโค้งของกระจกตา เพื่อปรับการหักเหแสงให้ตกกระทบลงบริเวณเรตินาพอดี ส่งผลให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง ตอบข้อสงสัยใครควรทำเลสิก เลสิกแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและการดูแลหลังการผ่าตัด รวมถึงข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำเลสิก กับ พญ.สุธนี สนธิรติ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา
ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึงร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดครบกำหนด เกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการตัวเหลืองที่ผิดปกติได้จากอาการร่วมอื่น ๆ ติดตามจาก พญ.ศรัยอร ธงอินเนตร หัวหน้างานกุมารเวชกรรม รพ.จุฬาภรณ์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
รู้จักกับสารสำคัญในอาหาร คุณค่าทางโภชนาการที่ปลอดภัยออกฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ทดแทนการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา ซึ่งมีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ที่หากผู้บริโภคได้รับในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเภท และโรคหลอดเลือดหัวใจ ติดตามได้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
แก้ไขปัญหาความผิดปกติของสายตา ไม่ว่าจะเป็นภาวะสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด หรือแม้กระทั่งสายตาเอียง ด้วยการทำเลสิก (LASIK) โดยใช้เลเซอร์ในการปรับเปลี่ยนรูปร่างความโค้งของกระจกตา เพื่อปรับการหักเหแสงให้ตกกระทบลงบริเวณเรตินาพอดี ส่งผลให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง ตอบข้อสงสัยใครควรทำเลสิก เลสิกแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและการดูแลหลังการผ่าตัด รวมถึงข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำเลสิก กับ พญ.สุธนี สนธิรติ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา
ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึงร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดครบกำหนด เกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการตัวเหลืองที่ผิดปกติได้จากอาการร่วมอื่น ๆ ติดตามจาก พญ.ศรัยอร ธงอินเนตร หัวหน้างานกุมารเวชกรรม รพ.จุฬาภรณ์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live