ผู้ที่มีภาวะเสพติดน้ำตาล หรือ (Sugar Blues) คือมีอาการอยากกินของหวานตลอดเวลา ซึ่งการเสพติดน้ำตาลส่งผลให้เกิดภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ทางเลือกในการลด ละ เลิก สามารถทำได้โดยการเลือกบริโภคอาหารที่มีความหวานทดแทนน้ำตาล ติดตามความรู้ได้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
เด็กวัย 1 ขวบปีแรก จะเริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามระดับ โดยเริ่มตั้งแต่การคืบ คลาน ยืน และเดิน ในเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการเร็วและช้าแตกต่างกันออกไป การฝึกให้เด็กเดินได้ในวัย 1 ขวบปีแรก สอดคล้องกับปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการด้านการเดิน ผู้ปกครองควรฝึกโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันปัญหาการเดินที่ไม่มั่นคงในเด็ก ติดตามคำแนะนำจาก กภ.สรญา สระทองเทียน คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล
การดูแลผู้ป่วย หรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดบาดแผลไฟไหม้ หากทำการรักษาแบบผิดวิธี เช่น ใช้ยาสีฟัน การใช้น้ำปลา หรือการใช้กะปิทาแผล สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการอักเสบต่อผิวหนังได้ เช็กสิ่งที่ควรรู้เมื่อเกิดบาดแผลไฟไหม้พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดย นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ผู้ที่มีภาวะเสพติดน้ำตาล หรือ (Sugar Blues) คือมีอาการอยากกินของหวานตลอดเวลา ซึ่งการเสพติดน้ำตาลส่งผลให้เกิดภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ทางเลือกในการลด ละ เลิก สามารถทำได้โดยการเลือกบริโภคอาหารที่มีความหวานทดแทนน้ำตาล ติดตามความรู้ได้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
เด็กวัย 1 ขวบปีแรก จะเริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวตามระดับ โดยเริ่มตั้งแต่การคืบ คลาน ยืน และเดิน ในเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการเร็วและช้าแตกต่างกันออกไป การฝึกให้เด็กเดินได้ในวัย 1 ขวบปีแรก สอดคล้องกับปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการด้านการเดิน ผู้ปกครองควรฝึกโดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันปัญหาการเดินที่ไม่มั่นคงในเด็ก ติดตามคำแนะนำจาก กภ.สรญา สระทองเทียน คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล
การดูแลผู้ป่วย หรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดบาดแผลไฟไหม้ หากทำการรักษาแบบผิดวิธี เช่น ใช้ยาสีฟัน การใช้น้ำปลา หรือการใช้กะปิทาแผล สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการอักเสบต่อผิวหนังได้ เช็กสิ่งที่ควรรู้เมื่อเกิดบาดแผลไฟไหม้พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดย นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live